0101
14/4/45 .. ว่าด้วยเรื่องเล่นน้ำ
แสดงทั้งหมด

15/4/45 .. ว่าด้วยเรื่องคิดคำทำเพลงตอบ: 0, อ่าน: 3421

เมื่อวันก่อนได้นั่งอ่านหนังสือเล่มหนึ่งจนจบ
หนังสือที่ชื่อ คิดคำทำเพลง : ศิลปะการแต่งเนื้อเพลงไทย
เขียนโดย เขตต์อรัญ เลิศพิพัฒน์
และพิมพ์โดย ชมรมคีตกวี... ครับ

พี่เขตต์ เป็นเจ้าของเนื้อเพลงของแกรมมี่ หลายเพลงที่คุ้นหู
ตั้งแต่ บูมเมอแรง/เบิร์ด ก็มันเป็นอย่างนั้น/บิลลี่ ตะเกียง/สุรสีห์
มันไม่จริง/ใหม่ เก็บไว้ให้เธอ/นูโว เติมน้ำมัน/ไมโคร
เพราะเราเข้าใจ/รวิวรรณ จนมาถึง เส้นตรง/มอส
และรวมถึงเพลงมากมายของอัสนี-วสันต์
ทั้งบ้าหอบฟาง กระดี่ได้น้ำ ผักชีโรยหน้า ฟักทอง สับปะรด รุ้งกินน้ำ
(เป็นเพลงนำอัลบั้มทั้งนั้น)
เพลงส่วนมากของเขาจะเป็นแนวแฝงปรัชญา เล็กๆ ครับ..

พูดถึงหนังสือเล่มนี้ ... อ่านจบรู้สึกทันทีเลยว่า
ไม่คุ้มเงินเป็นอย่างยิ่ง !!
ราคาหนังสือ 195 บาท แพงเกินไปครับ
เทียบกับเนื้อหา ความหนา และรูปเล่ม
(หนา 176 หน้า.. ซึ่งเป็นเนื้อเรื่องกับตัวอย่างเพียง 100 หน้า)
ไม่คุ้มจริงๆ..

ความรู้ใหม่ ที่ได้จากหนังสือเล่มนี้
ก็คงจะมีเพียงสิ่งที่ย้ำอยู่เสมอ... ว่า
ไม่ควรใช้ภาษาพูด ปนกับภาษาร้อยกรอง
ให้เลือกใช้เพียงอย่างเดียวใน 1 เพลง
... เท่านี้เอง
นอกนั้น เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง ส่วนมากเป็นการแบ่งประเภท
ว่าเนื้อเพลงไทยจำแนกได้แบบใดบ้าง
เช่น ... การเรียงท่อน มักเป็นแบบ A-A-B-A หรือ A-B-A-B
และอาจมีท่อน C

... โครงเรื่องในเพลง มีแบบ
- ผู้ร้องพูดกับตัวเอง
- ผู้ร้องพูดให้อีกคนฟัง
- ผู้ร้องเล่าเหตุการณ์ที่ตัวเองไม่อยู่ในนั้น (Ballad)

... ลักษณะของเนื้อที่ดี จะต้อง
- โครงเรื่องดี
(ต้องเรียงลำดับแบบใด ได้ยิน เห็น สัมผัส รู้รส และรู้สึก)
- ขึ้นต้นดี
(การขึ้นต้นมีกี่แบบ เช่น ขึ้นด้วยคำถาม คำขอร้อง คำทักทาย
ขึ้นด้วยเวลา ด้วยการสร้างฉาก สร้างอารมณ์ ด้วยเหตุการณ์ ฯลฯ)
- ชื่อเพลงดี
(ชื่อเพลงมีกี่แบบ เช่น ตั้งชื่อจากเวลา สีสัน ฤดูกาล คำที่ขัดแย้ง
คำพังเพยเปรียบเทียบ ฯลฯ)

... และก็ว่าต่ออีกยาว...

... ตัวอย่างที่สมมติขึ้นใหม่ สำหรับศึกษาเปรียบเทียบ แทบจะไม่มี
มีเพียงเพลงเก่าๆ ของแกรมมี่ ที่ยกขึ้นมาเพื่อบอกว่าเพลงนี้อยู่ในกลุ่มใด
ไม่มีการสอนวิธีคิดหาไอเดีย หรือวิธีใช้คำให้ลงตัว
... ผมว่าหนังสือ -- เพลงเขียนคน ดนตรีเขียนโลก --
ซึ่งเป็นบทสัมภาษณ์ และรวมเพลงของพี่จิก ประภาส ชลศรานนท์
เล่มนั้นให้ข้อคิดมากกว่าเยอะครับ..

... ที่จริงถ้าลดราคาลงมาให้สมเหตุสมผลหน่อย
หนังสือเล่มนี้ก็จัดว่าน่าอ่านทีเดียว
เพียงแต่ต้องเอาคำว่า ศิลปะการแต่งเนื้อเพลงไทย ออกไป
เพราะจะทำให้คนซื้อเข้าใจผิด
... ผมว่าการจำแนกประเภทเนื้อเพลง ของเล่มนี้
ทำออกมาละเอียดใช้ได้เลยครับ...

ท้ายเล่มของหนังสือ
มีลายมือต้นฉบับเนื้อเพลงที่เขาแต่ง เป็นปริมาณหนามาก
ไม่รู้ใส่มาทำไมเยอะขนาดนั้น
แต่เห็นลายมือของเขาแล้ว ทำให้ผมนึกอะไรได้อย่างนึง
... ลายมือไม่ค่อยเป็นระเบียบ
ใช่เลย.. นี่คนอื่นก็เป็นด้วยหรือนี่
นึกว่าเราประหลาดคนเดียว...



อุตส่าห์เอาเวลาเป็นชั่วโมงไปนั่งขุดค้น
หาลายมือตัวเอง ที่เป็นต้นฉบับเหมือนกัน
... ปรากฏว่าเท่าที่ค้นมาได้ มีไม่กี่แผ่นครับ ...
อ่านๆ ดู ..บางเพลงก็ใช้ได้
บางเพลงก็ไม่ไหว.. แต่งเสร็จก็ทิ้งไป
... หาได้แล้วก็ไม่รอช้า .. รีบเอามาสแกนเก็บไว้
ก่อนที่กระดาษเหล่านี้จะหล่นหายไปหมด..
... มีมาให้ดูพอสังเขป 4 แผ่นครับ
สาบานได้ว่า นี่เป็นลายมือมนุษย์จริงๆ.. อ่านไม่ออกใช่ม้า..

เพลงนี้แต่งไว้ปีนึงแล้ว ยังไม่มีเนื้อร้องครับ : ]
Care


อีก 3 เพลงที่เหลือเป็น 3 เพลงล่าสุดที่แต่ง
ถึงกัน


ปล่อยใจ


หลับเถิดนะ




... และเพลงประจำวันนี้
เป็นอีกเพลงที่ผมว่า เนื้อเพลงแต่งได้สุดยอดเลย
เป็นเพลงประจำใจอีกเพลงหนึ่งครับ
นักเดินทาง / กัมปะนี


นวย 16/04/2002 11:22 
สามารถใส่ html tag โดยใช้เครื่องหมาย { } แทน < >      
ความเห็น : 
จาก : : รหัส
(อีเมล/เว็บไซต์) : อัพโหลดรูป/ไฟล์
ถ้าไม่มีรหัสประจำตัว กรุณาใส่ "เลขหนึ่งสี่ตัว" ด้วยครับ