tp:=เพลงวันหยุด (กุมภา53) tg:= op:={b}03/02/53{/b} .. วันทหารผ่านศึก เคยสังเกตไหมครับว่าวันนี้เป็นวัน "ทหารผ่านศึก" ..ไม่ใช่แค่วัน "ทหาร" เฉยๆ เป็นวันที่เราจะระลึกถึง และให้ความช่วยเหลือทหารที่ผ่านศึกสงครามมาแล้ว ทำไมกลายเป็นว่า ทหารที่ยังไม่บาดเจ็บ-พิการ-ล้มตาย ก็ไม่ต่างจากคนปกติทั่วไปซะงั้น เมื่อมานึกดู สงครามไม่ได้มีสาระอะไรมากไปกว่าการทะเลาะกันของเด็กๆ สักเท่าไร สงครามในยุคนี้เกิดจากเรื่องผิดใจกันของคนไม่กี่คน แต่ไอ้พวกนี้ดันมีอำนาจและมีตังค์ เลยไม่จำเป็นต้องนัดคู่อริมาต่อย (หรือตบ) กันด้วยตัวเอง แต่ส่งเหล่าทหารชั้นผู้น้อยไปเจ็บแทน ดังนั้นจึงยิ่งน่าเห็นใจทหารผ่านศึกมากขึ้นไปอีก เพราะต้องเอาชีวิตไปเสี่ยงโดยมิอาจขัดคำสั่งได้ ถ้าถึงวันที่โลกของเราไม่ต้องมีคำว่า "ผ่านศึก" ต่อท้ายชื่อวัน จะเป็นเรื่องที่น่ายินดีมากๆ ครับ แต่คงเป็นไปได้ยาก ถ้าโลกหรือแม้แต่ประเทศไทยก็ยังคงมีศึกสงคราม ความไม่สงบ อยู่ตลอด อันที่จริง วิธีหลีกเลี่ยงความขัดแย้ง การทะเลาะเบาะแว้ง ที่อาจนำไปสู่สงคราม มันก็มีอยู่แค่สั้นๆ ง่ายๆ เองล่ะครับ เพียงแต่ผู้คนมักละเลยที่จะทำมันต่างหาก และสิ่งนั้นก็คือ.. "เปิดใจยอมรับความแตกต่าง" {b}อ๊ะ อ๊ะ.. อย่าบอกนะว่าแค่คิดก็ยากส์แล้ว!{/b} ============================================== {b}14/02/53{/b} .. วันวาเลนไทน์ แม้จะไม่เคยเกิดเหตุการณ์ตรง แต่ทุกครั้งที่ผมฟังเพลงประกอบภาพยนตร์ของพิง ลำพระเพลิง เมื่อถึงประโยคที่ว่า "ชีวิตต้องเดินก็รู้ แต่ไม่รู้จะเดินเพื่อใคร ดาวบนฟ้าคว้ามาได้ ใครจะร่วมชื่นชม" ผมจะรู้สึกสะอื้นในใจทุกครั้ง.. วาเลนไทน์ปีนี้ ผมนึกถึงเพื่อนหลายคนที่อะไรๆ ก็ไปได้สวย ยกเว้นอย่างเดียวคือเรื่องคู่ ส่วนใหญ่เขาและเธอจะขยันทำงานมากๆ และใช้เวลาว่างทั้งหมดไปกับงานอดิเรก ผมคิดว่า พวกเขาน่าจะมีช่วงเวลาแอบเหงาอยู่บ้าง โดยเฉพาะเวลาที่อยู่นิ่งๆ กับตัวเอง ..และประโยคในเพลงดังกล่าว ก็น่าจะทำให้เกิดอาการสะอื้นในใจได้ไม่ต่างกันเลย ผมยังเชื่ออยู่เสมอว่าเรื่องคู่เป็นแรงกระตุ้นที่ทำให้คนขยันได้ ไม่ว่าจะมีหรือยังไม่มีก็ตาม คนโสดก็ขยันทำงาน หาเงิน ฝึกทักษะนู่นนี่ แอบหวังให้เขาหรือเธอคนนั้นหันมาแลสักนิดก็ยังดี พอถึงวันที่มีคู่รักเป็นตัวเป็นตน ก็ยังคงต้องขยัน เพื่อจะได้เขยิบไปถึงการมีชีวิตคู่ที่ดีในอนาคต แต่สำหรับบางคน ทางเดินสายการงานกับสายคู่ครองกลับดูจะเบนห่างออกจากกันยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ไม่รู้ว่าการขยันทำงานทำให้ไม่มีเวลาหาคู่ หรือเพราะไม่มีคู่จึงทำให้ขยันทำงานเป็นพิเศษกันแน่ รู้แค่ว่าทั้งสองสิ่งเกิดขึ้นแล้ว และจะวนเวียนส่งผลสืบเนื่องต่อกันไปอีกไกล ผมไม่ได้มีปัญหาอะไรกับพวกเขาเลย และไม่มีวิธีปรับเปลี่ยนเส้นทางเดินมาเสนอแนะด้วย เพราะความสุข รายละเอียด และจุดหมายของการเดินทางของแต่ละคน ย่อมเป็นไปในแบบเฉพาะตัว เพียงแต่ขัดใจกับประโยคยอดฮิต "แบบนี้ก็โอเคแล้ว มีความสุขดีอยู่ จะดิ้นรนมีแฟนไปทำไม.." {b}ถ้าคิดแบบนั้นจริง ขออย่ามาอินกับเนื้อเพลง ดาวบนฟ้าคว้ามาได้ ใครจะร่วมชื่นชม ก็แล้วกัน!{/b} ============================================== {b}14/02/53{/b} .. วันตรุษจีน ในฐานะคนไทยเชื้อสายจีนเข้มข้น (เฉพาะในทางทฤษฎี) แถมยังเกิดปีวอก อย่างผม เมื่อถึงวันตรุษจีนวันนี้ ซึ่งเป็นการเปลี่ยนผลัดจากปีฉลูสู่ปีขาลอย่างเต็มตัว ก็เลยต้องแอบมีหวั่นๆ ในใจอยู่บ้าง เพราะเขาว่ากันว่าปีนี้น่ะ "ปีชง" (เออ ตาชงเพื่อนเรานี่ก็ดีวุ้ย มีปีเป็นของตัวเองตลอด ..เย้ย! ไม่จ้าย!) ไทยอาจเป็นชาติเดียวในโลกที่มีการฉลองปีใหม่กันหลายซ้อนเหลือเกิน ตั้งแต่ช่วงรอยต่อธันวา-มกรา เราก็ฉลองปีใหม่แบบสากล (ฝรั่ง) กันไปแล้ว พอเลยมาเข้าเดือนกุมภา ก็จัดฉลองเทศกาลตรุษจีน หรือปีใหม่จีน กันต่อ แล้วเดี๋ยวกลางเดือนเมษา ถึงวันสงกรานต์ ก็มาอวยพรวันตรุษไทยให้กันอีกที ก็ไม่รู้ว่าคนไทยเป็นพวก "ชอบเฮกับเทศกาล" อย่างที่เขาว่ากันมาจริงๆ หรือยังไง ..แต่ถ้าคิดในแง่ดี นี่ถือเป็นโอกาสก๊อกสอง-ก๊อกสาม ของคนที่อยากปรับปรุงตัวให้ดีในปีใหม่ ถ้าเผลอไผลแผ่วใจไปแล้วก็มีโอกาสเริ่มตั้งสติกันใหม่ได้เร็วดี ไม่ต้องรอเป็นปีเหมือนฝรั่งเขา หรือถ้าใครฟิตๆ หน่อย จะปรับปรุงตัวให้ดีขึ้นสามสเต็ปภายในปีเดียวก็ตามแต่จิตศรัทธาได้อีก! {b}ฉะนั้น เรามาเริ่มปรับปรุงชีวิตให้ดีรับปีใหม่นี้ (และนี้ และนี้) ด้วยกันเถอะครับ{/b} ============================================== {b}25/02/53{/b} .. วันวิทยุกระจายเสียงไทย 80 ปี เมื่อต้นเดือน ผมบังเอิญไปเจอบทความแนะนำวิทยุยี่ห้อ Degen ของจีนเข้า ..มันเป็นแค่เครื่องรับวิทยุอย่างแท้จริง ไม่มีกลไกสำหรับเล่นเทป ซีดี หรืออื่นๆ ทั้งสิ้น รับคลื่นในช่วง FM, AM, Short Wave (SW) ได้ครอบจักรวาล แล้วก็จบเลย แต่ความเจ๋งของยี่ห้อนี้คือ ถึงยุคนี้แล้วก็ยังยืนยันไม่ผลิตอย่างอื่นนอกจากเครื่องรับวิทยุ และว่ากันว่า มันรับสัญญาณได้แม้ในสถานที่ (หรือการเคลื่อนที่) ที่เครื่องอื่นๆ สู้ไม่ไหว ผมไม่ได้ฟังวิทยุมาเกือบสิบปีแล้ว เพราะเครื่องเล่นซีดีที่ใช้อยู่แทบจะรับสัญญาณไม่ได้เลย แต่บทความที่ได้อ่าน ทำให้ผมอยากได้เจ้า Degen รุ่นนั้นมาครอบครองเหลือเกิน (ติดที่ราคาเท่านั้นแหละครับ ผลิตจากจีนแดงแท้ๆ แต่ราคากดไป 2 พันกว่าบาท!) อยากฟังวิทยุ.. คิดถึงวันคืนสมัยเป็นเด็กๆ ที่ต้องเปิดวิทยุฟังแทบทุกคืนอย่างเพลิดเพลิน หมุนคลื่นไปเจอรายการใหม่ๆ หรือเพลงใหม่ๆ ที่น่าสนใจ ก็ทำให้ตื่นเต้นได้ทุกครั้ง วันไหนเบื่อๆ ไม่รู้จะเปิดเทปม้วนไหนฟัง ก็เปิดวิทยุฟังดีเจเล่าเรื่องและเลือกเพลงให้ ฝนตกตอนค่ำๆ ก็เปิดวิทยุคลอเบาๆ ให้เสียงเพลงเหงาๆ และไอเย็นฟุ้งอยู่ในห้อง ทุกสัปดาห์ต้องคอยฟังรายการพูดคุยตลกโปกฮา ไม่มีสาระ ไม่เปิดเพลง แต่บันเทิงมาก พอถึงช่วงรายงานอันดับเพลง ก็เงี่ยหูฟังว่าคลื่นของค่ายนั้น เพลงไหน ศิลปินไหนกำลังฮิต แม้แต่ช่วงรายงานข่าวต้นชั่วโมงก็ยังต้องฟัง เพราะหมุนหนียังไงก็ไม่พ้น.. {b}ทุกวันนี้ที่ mp3 ใกล้จะกลืนวงการเพลงแล้ว พวกเราลืมเสน่ห์ของวิทยุกันไปหรือยังครับ{/b} ============================================== {b}28/02/53{/b} .. วันมาฆบูชา เรียนมาตั้งแต่เด็กๆ ว่าวันนี้เคยมีพระสงฆ์ 1,250 รูป มาชุมนุมกันโดยมิได้นัดหมาย แต่คำว่าชุมนุมใน พ.ศ. นี้ กลับกลายเป็นคนนับพันมาชุมนุมโดยนัดหมายอย่างดีซะงั้น ..อาจดูคล้าย ที่มีคนจำนวนมากมารวมตัวกัน แต่จุดมุ่งหมายและจิตกุศลตรงกันข้ามอย่างสิ้นเชิง ทั้งที่รู้อยู่ว่าการอยู่ร่วมกันเป็นสังคมนั้นมีประโยชน์อย่างไร แต่ก็อดคิดไม่ได้ว่า ถ้าคนเราอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่มีสังคม ซะบ้าง เหตุการณ์ในประเทศก็คงไม่เลยเถิดมาถึงขั้นนี้ ปัญหามันเกิดเพราะภายใต้สังคมใหญ่ๆ ที่เรียกว่า "ประเทศ" ที่ถูกขีดแบ่งไว้ให้เราอยู่ร่วมกัน ยังคงมีสังคมย่อยๆ แบบพวกใครพวกมัน เดินไปด้วยความเชื่อที่ขัดแย้งกัน และไม่มีวันสลายลงได้ ไม่วันใดก็วันหนึ่ง ความเชื่อเหล่านี้ก็จะเดินมาเหยียบเท้ากัน ณ จุดหนึ่ง แล้วการปะทะก็เกิดขึ้น {b}..จึงน่าสงสัยว่า นาทีนี้ ประโยชน์ของการอยู่ร่วมกันเป็นระบบสังคม มันยังคุ้มค่าอยู่ไหม{/b} ============================================== วันทหารผ่านศึก: เพลง {a href=data/file/tkj.mp3}ต่าง..เข้าใจ{/a} ต้นฉบับโดย เคลิ้มสมาคม (เคลิ้มสมาคม/2550) คำร้อง-ทำนอง เคลิ้มสมาคม วันวาเลนไทน์: เพลง {a href=data/file/heroes.mp3}Heroes{/a} ต้นฉบับโดย ญารินดา บุนนาค (Schools/2552) คำร้อง-ทำนอง เจตมนต์ มละโยธา วันตรุษจีน: เพลง {a href=data/file/restart.mp3}Restart{/a} ต้นฉบับโดย เภา รัฐพล (Present Perfect/2548) คำร้อง โป โปษยนุกูล, ทำนอง บุญฤทธิ์ เลาหะวณิช - รัฐพล พรรณเชษฐ์ วันวิทยุกระจายเสียงไทย: เพลง {a href=data/file/stereo.mp3}สเตอริโอ{/a} ต้นฉบับโดย สี่เต่าเธอ (เรือสำราญ/2543) คำร้อง-ทำนอง สี่เต่าเธอ วันมาฆบูชา: เพลง {a href=data/file/hptk.mp3}เหตุผลที่คนควรอยู่ด้วยกัน{/a} ต้นฉบับโดย บอย โกสิยพงษ์ (เพลงประกอบโฆษณา True/2547) คำร้อง-ทำนอง บอย โกสิยพงษ์ {player data/file/534-wanyood.m3u} {small}Note: ลิงก์เหล่านี้เป็นลิงก์เก่าตั้งแต่ปี 2010 ปัจจุบันไม่มีไฟล์แล้วครับ{/small} us:=นวย.:am:. - 15/02/2010 15:13 ๏+๏-๏-๏-๏- op:=เพลง Heroes เนื้อเพลงโดนมากครับ us:={a href=mailto:kanin_nit@yahoo.com}ตู้{/a} - 15/02/2010 17:32 ๏+๏-๏- op:=ขนาดพี่นวยมีแฟนมานานแล้ว ฟังครั้งแรกยังอึ้งเลยอ่ะ พี่เจแต่งได้ร้ายมากๆ ครับ เวิร์คกิ้งวูแมนฟังแล้วอาจตายไปเลย :P us:=นวย.:am:. - 15/02/2010 21:34 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏- op:=((เพลงใหม่มาแล้ว 2 เพลงเด้อ.. โพสต์ดันซะหน่อย)) us:=นวย.:am:. - 27/02/2010 14:54 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-