tp:=24/10/50 .. สิงห์ชาตรี (1) tg:= op:={b}กลางเดือนตุลาคม{/b} เห็นพี่โอม (ชาตรี คงสุวรรณ) มายืนโซโล่กีตาร์ในทีวี หลังจากไม่ได้เห็นมาเกือบ 20 ปี! รีบนั่งฟังทันทีว่ามันโฆษณาอะไรกันหนอ ถึงดึงพี่โอมมาเป็นพรีเซนเตอร์ได้แบบนี้.. อ๋อ เบียร์สิงห์เขาจัดประกวดเนื้อร้องนั่นเอง.. ให้แต่งใส่ทำนองเพลง "Friends" ของพี่โอม ชื่อโครงการ "สิงห์กีตาร์ ตามหาสิงห์เนื้อร้อง" ..เอ้อ น่าสนใจนะ อยากลองแต่งดูเหมือนกันว่าเราจะทำได้แค่ไหน (เผื่อฟลุ้คได้ตังค์) แล้วหน้าตาเชิญชวนของพี่โอมในทีวี มันสะกิดต่อมอยากเขียนเพลง แบบได้ผลจริงๆ แฮะ {b}คืนวันเสาร์ ยี่สิบตุลาคม{/b} ไปเจอกระทู้นึงที่เว็บเฉลียง ถามเกี่ยวกับโครงการนี้ พร้อมทั้งมีชื่อเว็บมาให้ ({a href=http://www.singhachatree.com}http://www.singhachatree.com{/a}) เอ้าไหนลองเข้าไปฟังเพลงๆ นี้ + อ่านกติกาดูหน่อยปะไร ไหนๆ ก็ถูกสะกิดต่อมเอาไว้แล้วนี่.. อืม.. เพลงก็เร้าใจกำลังดีนะ ฟังแล้วไม่น่าจะใส่เนื้อยากจนเกินไป กติกานี่ก็เย้ายวน เพราะเปิดรับเนื้อร้องจากใครก็ได้ ไม่จำกัดอายุ หรืออาชีพ ใดๆ ทั้งสิ้น (คงไม่มีนักแต่งเพลงมืออาชีพมาร่วมประกวดนะ ..เออแต่ก็ไม่แน่ว่ะ เงินรางวัลมันสูงอ่ะ) โอ้โห คณะกรรมการก็ยิ่งเจ๋ง.. พี่บอย ตรัย, พี่แว่น+เป๋า แกรมมี่, พี่หนึ่ง สลีปเลสฯ ว่าแล้วก็เลยโหลดตัวเพลงเต็มๆ มาฟังคร่าวๆ และคิดว่าเดี๋ยวเอาไปให้ยุพีช่วยคิดดีฝ่า.. ({a href=http://www.singhachatree.com/30_download/downloaditem/Friends.zip}http://www.singhachatree.com/30_download/downloaditem/Friends.zip{/a}) สำหรับคนที่ส่งงานทางเว็บ จะถูกแสดงทันที (ซึ่งไม่น่าเป็นการดีสำหรับคนส่งไวหรอกนะ) ถึงขณะนี้มีคนส่งแล้วสามร้อยกว่าคน ลองเปิดๆ อ่านเนื้อดูสองสามคน อื้อหือ.. ไม่ไหวว่ะ.. ไม่ต้องถึงกรรมการหรอก เราอ่านดูแล้วก็รู้ว่ามัน "ยัง" อ่ะ.. นี่ก็เป็นกำลังใจอีกส่วนที่ทำให้คิดอยากส่งงานเข้าร่วมซะจริงๆ :] {b}วันรุ่งขึ้น{/b} ไปงานหนังสือกับยุพี ก็เลยเล่าโครงการนี้ให้ฟังและเปิดดนตรีให้ฟังอยู่สองเที่ยว (อันนี้ท่อน A1, A2 นะ.. อันนี้ท่อน Hook แล้วก็ตามด้วย A3 อีกที.. แล้ว Solo+Hook+A3) ยุพีเห็นดีเห็นงามกับการเข้าร่วมประกวดอันนี้มากๆ (ถือเป็นการวัดความสามารถของเราด้วย) พร้อมกันนั้นก็รับปากว่าจะช่วยคิดอย่างเต็มที่ โชว์ใจว่าไม่หวังส่วนแบ่งรางวัลอีกตะหาก! บอกยุพีไป (และเป็นการทบทวนให้ตัวเองฟังด้วย) ว่า การแต่งเนื้อร้องให้เป็นต่อ เราน่าจะ.. (1) คล้องจองในที่ที่ควรคล้อง และไม่ต้องคล้องภายในวรรคก็ได้ (ตามสมัยนิยมอ่ะนะ) (2) ใช้คำให้วรรณยุกต์ถูกต้องในที่ที่ควรถูก เพื่อให้ร้องเน้นคำได้อย่างมันส์ปาก (3) ไม่ใช้คำที่ไม่ได้พูดกันในชีวิตประจำวัน และที่สำคัญสำหรับงานนี้คือ (4) อย่าแต่งน้ำเน่า แล้วงานเราจะโดดเด่นกว่างานคนอื่นทันที เพราะเนื้อที่เปิดเจอเมื่อวาน แล้วบอกว่ามัน "ยัง" เนี่ย เราว่าวกวนไปมาและน้ำเน่าไปหน่อย (เช่น ลำบากเพียงใดใจอย่าท้อ จงกอดคอกันก้าวไปสู่ฝันของพวกเรา เคียงข้างกันตลอดไป ฯลฯ) {b}สองวันต่อมา{/b} มีเวลาอู้งานพอดี จึงนัดเจอกันกับยุพีแล้วเริ่มลงมือคิดงาน (แค่ "คิด" นี่เรียกว่า "ลงมือ" ยังไงฟะ) แต่ด้วยสถานที่+หัวสมอง+การบิ๊วท์อารมณ์ ไม่ค่อยอำนวย ก็เลยทำไปได้แค่นิดหน่อย {b}1.{/b} ยุพีบอกว่าเพลงเกี่ยวกับเพื่อนเนี่ย เอาสิงห์นี่แหละเป็นเพื่อนไปเลย ออกแนวเอาใจผู้จัดกันไป.. เพราะส่วนตัวยุพีก็ชอบฟังเพลงเร็วๆ คึกคักๆ เนื้อหาสดใสซาบซ่า และตัวเพลงที่เป็นโจทย์นี้ จะว่าเป็นเพลงช้าก็ไม่ใช่ (สปีดปานกลาง) สามารถใส่เนื้อหารื่นรมย์ได้ เราฟังแล้ว บ๊ะ! เกิดปัญญาขึ้นมาทันที! ความคิดยุพีเป็นจุดเริ่มต้นที่ดีและแนวมากๆ เลยคร้าบ.. เพราะนอกจากจะทำให้เนื้อร้องไม่ออกน้ำเน่าแล้ว ยังได้โชว์ความเท่ด้วย ว่าแปลได้สองแง่มุม และตัว "เบียร์สิงห์" เอง ก็ตีความเลียบๆ เคียงๆ ให้เป็น "เพื่อน" ของเราได้ไม่ยากเลย (อ้อ!.. แต่สิงห์เขาไม่ได้บอกว่าเพลงนี้จะเป็นเพลงประกอบโฆษณาซักหน่อยเลยนะ เพียงเดาเองว่า ก็ควรจะเอาไปใช้เปิดคลอๆ ประกอบการโปรโมตผลิตภัณฑ์ได้บ้าง น่ะแหละ) {b}2.{/b} ลองร้องเพลงโฆษณาบางเพลงให้ยุพีคิดตาม ว่านี่คือคนแต่งเขามีชั้นเชิง ..ถ้าอยู่ในโฆษณา มันก็จะพูดถึงบุคลิกของสินค้านั้นน่ะแหละ แต่ถ้าเอาออกมาร้อง มาฟัง กันในอัลบั้มเพลงทั่วไป ก็จะเป็นเพลงที่ใช้จีบกันได้ตามปกติด้วยนะ อาทิ หวาน/ปาร์ตี้ (โมทย์), เพื่อนที่รู้ใจ และถามหน่อย/เซเว่นอีเลฟเว่น (เบิร์ดกะฮาร์ท, วรรธนา) รวมถึงเพลงโฆษณาของพี่บอยด์ (ที่ได้ยินในซีรี่ส์ ซองส์ฟรอมดิฟเฟอเรนท์ซีน) อีกเยอะแยะ.. เพลงโฆษณาจากสมอลล์รูม (ที่นำทีมโดยพี่เจ เพนกวินฯ) ก็เข้าข่ายเพลงเดียว 2 หน้าที่ เช่นกัน {b}3.{/b} แล้วจากนั้นได้เอาเมโลดี้เพลงนี้ ออกมาเขียนเป็นแผนผัง (โครงสร้างพยางค์อ่ะ) และสรุปกันว่าจะให้พยางค์ไหนไปคล้องกับพยางค์ไหนบ้าง ให้มันฟังเข้าหู รื่นหู และดูดี รวมทั้งคิดไว้ว่า พยางค์ไหนเสียงโหนๆ สูงๆ อยากให้ใช้วรรณยุกต์โท แทนที่จะเป็นตรี/จัตวา เพื่อให้เวลาร้องแล้วออกมาสนุกๆ คล้ายๆ เพลงแร็พหน่อยๆ ..อันนี้เป็นความมันส์ปากส่วนตัว! (แต่นั่งนึกดูทีหลังแล้ว คงเล่นเสียงโทแบบนี้ได้ไม่ครบทุกจุด ไม่งั้นสำเนียงจะฟังดูตลกไปเลย) {u}การเรียงท่อนในเพลง{/u} intro (เปียโน), A1, A2, H, A3, Solo (กีตาร์ไฟฟ้า), H, A3, outro (เปียโน) {u}ท่อนปกติ{/u} (A1, A2, A3) O O O O O O O [O] O O O [O] O O O (O) O O O O O O [[^]] O O O O O O [[^]] O O O [[O]] O O O (O) {u}ท่อนแยก{/u} (H) O O O O ((^)) O O O O ((^)) O O O O ... (ยังแจงท่อนนี้ไม่เสร็จ) {u}หมายเหตุ{/u} : วงเล็บแบบเดียวกันคือพยางค์ที่ตั้งใจจะให้สระคล้องจองกัน.. แต่อาจไม่ต้องสัมผัสเยอะขนาดนี้ก็ได้ ถ้าหากใช้สัมผัสความหมาย หรือคำคล้ายๆ แทน และอาจขยับสัมผัสกลางประโยคไปหน้าหรือหลังนิดหน่อยได้ ถ้าคำที่ใช้ยังฟังโอเคอยู่ ส่วนสัญลักษณ์ ^ แทนพยางค์ที่อาจเล่นเสียงวรรณยุกต์โทได้ {b}4.{/b} พยายามแบ่งเนื้อหาที่คิดไว้ว่า "เบียร์สิงห์คือเพื่อนเรา" เนี่ย ให้มีอะไรเล่าได้ถึง 4 ท่อน ซึ่งวันนี้ยังแบ่งไม่ลงตัวเท่าไร ยืดยังไงก็ยืดไม่ถึงเพราะมีแต่ใจความหลัก ไม่รู้จะพูดอะไรมั่งดี ..ไปได้ไกลสุดของงานวันนี้ก็คือ ขยายประเด็นหลักออกมาเป็นคำพูด "ไม่ว่าในยามที่เรามีความสุขที่สุด เวลาแห่งความดีใจ ฉลองความสำเร็จ หรือไม่ว่าในยามที่เราเสียใจ เศร้าใจ ในเวลาที่เหงาที่สุด มืดที่สุด ไม่มีใครเลยที่อยู่ข้างเรา ก็ยังจะมีเพื่อนเพียงคนเดียวที่ไม่เคยทิ้งเรา (หรือคุณผู้ฟัง) ไปไหน จะอยู่กับเรา (หรือคุณ) เสมอทุกครั้งที่ต้องการ.." และเมื่อเพลงนี้ถูกใช้ในโฆษณา คนฟังก็จะคิดได้เองว่าหมายถึง.. ถูกต้องคร้าบ! เบียร์สิงห์! us:=นวย.:am:. - 24/10/2007 11:30 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-