tp:=9/7/50 .. บล๊อกแท็ก (1) : เรื่องของชื่อ tg:= op:=ขอประเดิมเรื่องแรกด้วยเรื่องเบาๆ อย่างเรื่อง "ชื่อ" ก่อนก็แล้วกันครับ ใครๆ ก็เรียกผมว่านวย ..ไม่ว่าจะเป็นนวย (เฉยๆ) (25%), พี่นวย (35%), น้องนวย (10%), ไอ้นวย (25%), หรือไอ้เชรี่ยนวย (2%) ก็ตามที.. (บางคนเรียก นวยแมน, บางคนก็มิสเตอร์นวย, บางคนก็นวยจัง.. โห เอาซะน่ารักเลย) ที่จริงตอนเด็กๆ ก็ไม่ได้เรียกแบบนี้หรอกครับ ตอนประถมเพื่อนๆ ที่โรงเรียนมักเรียกเพื่อนๆ ด้วยชื่อจริง ซึ่งชื่อจริงผมคือ คณิต เนี่ย มันก็สั้นอยู่แล้ว จึงยิ่งไม่น่ามีปัญหาอะไรเลยในการเรียก (และไม่จำเป็นต้องย่อให้งงด้วย.. แต่ก็รู้สึกจะมีอยู่คน ที่อุตส่าห์จะเรียกเป็น ไอ้นิดๆ ให้ได้) {b}ความจริงตอนเกิด ชื่อจริงของผมไม่ใช่ ด.ช.คณิต ..แต่เป็น ด.ช.ชาย{/b} แม่บอกว่าคิดชื่อไม่ทัน คลอดซะก่อน.. หมอเลยตั้งชื่อให้ขำๆ เพื่อให้ รพ. ออกสูติบัตรให้ก่อน แล้วตาหมอคนนี้ก็ดันมีชื่อที่ใช้แจกเป็นอยู่ 2 ชื่อ.. คือ ด.ช.ชาย กับ ด.ญ.หญิง - - " หงะ! หากินง่ายจริงๆ เลยคุณหมอ.. จากนั้นตอนอายุ 6 เดือน ถึงได้ใบเปลี่ยนชื่อมาอยู่ในมือ และชื่อคณิตตั้งแต่นั้นมา (ซึ่งฟังดูดีกว่าชื่อชายตั้งเยอะ) เคยมีคนถามว่า รู้สึกแปลกไหมที่จู่ๆ ชื่อก็เปลี่ยน.. เอ่อ คุณครับ.. ตอนนั้นอายุ 6 เดือนนะครับ.. (ยังแก้ระบบสมการสองตัวแปรไม่เป็นเลย) {b}ส่วนชื่อเล่นที่บ้าน ชื่อบอมบ์ ครับ!{/b} ..นี่เป็นอีกเรื่องที่ไม่ค่อยมีใครรู้ ..ก็แน่นอนล่ะ ก็เรียกกันว่านวยๆๆ ไปแล้วนี่ ใครจะคิดอีกว่า นวย ไม่ใช่ชื่อเล่นจริงๆ (และเกือบทุกคนที่รู้ว่าที่บ้านเรียกบอมบ์ ก็มักจะถามว่าชื่อจริงสั้นขนาดนี้ จะมีชื่อเล่นทำไม..) ที่มาของคำว่า "นวย" นั้น มาจากเพื่อนตอน ม.ต้น ที่ชื่อ ด้วง (วสุรัตน์) ครับ (ซึ่ง "ด้วง" เนี่ย ก็ไม่ใช่ชื่อเล่นมันหรอก แต่เป็นคำแรกของนามสกุล.. บ้านนี้เลยชื่อด้วงกันหมดทั้งบ้าน โทรไปเบอร์บ้านต้องระวังกันเป็นพิเศษนิดนึง) และคนที่ทะลึ่งหน่อยคงจะเดากันได้ว่ามันผวนมาจากชื่อจริง คณิต นั่นเอง จะเป็น "คนวยหัวคิด" หรือคณิตหัว.. เอ้ย! ไม่ใช่!.. หรือ "คิดคนวย" ก็แล้วแต่ความพึงพอใจ เรียกกันไปกันมาก็เลยได้รับชื่อสั้นๆ เป็นไอ้นวย ตั้งแต่ ม.1 เป็นต้นมา (พร้อมๆ กับที่ไวโรจน์ เป็น(โคตรของ)ไวรวย ..อะไรทำนองนี้กันแทบทุกคน) ถามว่ารู้สึกยังไงกับชื่อ "นวย" ซึ่งไม่ใช่ชื่อเล่นจริงๆ ที่พ่อแม่ตั้งให้ซักกะนิด ตอนนี้ก็คงต้องบอกว่า รับมาเป็นชื่อเล่นจริงๆ ไปแล้วตั้งแต่ตอนนั้น เหมือนกับว่า ใครเรียกคณิต คนนั้นไม่สนิท.. ถ้าเรียกนวย นั่นคือสนิทกัน.. (ฮา) ยิ่งตอนเข้ามหา'ลัย แล้วล่ะก็ ทีแรกก็ตั้งใจว่า เอาล่ะ เราจะเป็นคณิตละนะ แต่ปรากฏว่ารู้สึกไม่สนิทยังไงไม่รู้ เลยบังคับให้เพื่อนๆ+พี่ๆ เรียกว่านวย ซะเองเลย.. เริ่มแก่ขึ้นๆ มีรุ่นน้องในคณะ และมีเด็กๆ มาให้สอนพิเศษ ก็บอกนี่ "พี่นวย" ครับ ..ถึงขนาดใช้ชื่อนวย ในงานเขียน (เลข) และใบปลิวสอนพิเศษไปเลยอ่ะ คิดดู ในโลกไซเบอร์ก็ใช้แต่ kanuay มาตลอด ทั้งอีเมล์และชื่อผู้ใช้บอร์ดใดๆ ก็ตาม (ซึ่งมันก็เป็นเหมือนชื่อจริงของผมไปแล้วล่ะ ไม่เคยคิดใช้นามแฝงใดๆ เลย) จะมีก็บอร์ดไทยมุงและเฉลียงดอตคอม ซึ่งอยากสะกดแบบไทยๆ จึงใช้ "นายนวย" ซึ่งมันก็แปลว่านายนวยนั่นแหละครับ เป็นตัวจริงที่ไม่ใช่นามแฝงอีกเช่นกัน {b}พี่จิก ประภาส เคยถามกึ่งแซวทางตัวหนังสือเมื่อ 7 ปีที่แล้ว ว่าชื่อนวยเป็นภาษาเขมรรึเปล่า และรู้ไหมว่าแปลว่าอะไร..{/b} นี่เป็นเรื่องที่น่าปลื้มเหมือนกัน ที่ไอดอลประจำใจของผมตลอดกาลจะมาทักเรื่องชื่อ (ซึ่งผมก็ไม่รู้อยู่ดี ว่าความหมายของคำนี้ในภาษาเขมรมันจะหยาบคายหรือเปล่านะ..) มีโอกาสเจอพี่จิกหน้าหอประชุมธรรมศาสตร์ ตอนคอนเสิร์ตเฉลียงรอบซ้อมใหญ่ อารามดีใจ ผมรีบเดินเข้าไปยกมือไหว้สวัสดี ..และบอกว่าผมชื่อนวยครับ พี่จิกทำหน้างงราวกับว่า.. เอ๊ะไอ้นี่ใครฟะ! นึกไม่ออกว่าเคยรู้จัก! แต่ก็อุตส่าห์ถามเป็นพิธีว่า.. เอ้า มาดูคอนเสิร์ตหรือครับวันนี้ ยังไงขอตัวก่อนนะครับ.. นั่นก็นับเป็นเกียรติกับชีวิตผมอีกครั้งนึงเลยทีเดียว (ฮา..) เอ้า! กลับมาเรื่องคนใกล้ตัวเหมือนเดิมดีกว่า ก่อนจะเล่าไถลไปไกลกว่านี้.. ..จวบจนปัจจุบันไม่มีใครเคยได้เรียกผมว่า บอมบ์ เลย! (นอกจากครอบครัวและเครือญาติ) คือถ้าใครเกิดมาเรียกว่าบอมบ์ นอกบ้านล่ะก็ แทบจะไม่หันเลย เพราะไม่ทันนึกว่าเรียกเรา.. ส่วนชื่อ คณิต มีเพื่อนผู้หญิงเรียกบ้าง (บางคนที่รู้ที่มาของคำว่านวย แล้วเกิดจั๊กกะจี้ใจขึ้นมา) แต่เพื่อนโดยมากทั้งหญิงชาย ล้วนเรียกอย่างเต็มปากว่า นวย ได้อย่างไม่รู้สึกเขินอะไรเลย ..น้องๆ ทั้งหลายที่ไม่รู้ที่มา ก็เรียกได้เต็มปากเช่นเดียวกัน (บางคนคิดไปว่าผมชื่อ อำนวย ด้วยซ้ำ.. หรือบางทีก็ออกแนว นวยนาด ไปนู่น.. โอ้โห.. ชื่ออำนวยไม่เอาได้มั้ยอ่ะ มันดูเชยจริงๆ.. ขอชื่อ นวยศักดิ์ ดีก่า.. 5555) ถึงวัยทำงาน หลายคนเรียก คุณนวยๆๆ.. ผมว่า เอ่อ ไม่ต้องเรียกคุณดีกว่ามั้ยครับ คือมันจะเผลอไปผวนในใจอยู่เรื่อยเลยอ่ะครับ.. อุ๊ย อะไรนูนๆ.. :] (อ่าวแล้วนี่คนชื่อ "คุณหมวย" จะไม่จั๊กกะจี้ยิ่งกว่าเราเหรอเนี่ย) นอกจากเรื่องชื่อแล้ว ยังมีเรื่องหมายเลขอีกนะที่มันแปลก คือผม{b}มักจะได้หมายเลขเครื่องมือสื่อสารที่มันสวยๆ โดยบังเอิญ{/b}อยู่เรื่อยเลย คนอาจจะนึกว่าโห นี่ลูกคนรวยแน่ๆ.. แต่ที่จริงน่ะมันบังเอิญทั้งเพ.. ..ตอนเด็กๆ เบอร์เพจผมคือ 199991 ได้มาฟรีได้ไงไม่รู้ (เลิกใช้ไปนานแล้วนะ) เพื่อนไม่ยอมจดกันเลย เพราะเห็นว่าจำง่าย แต่ดั๊น..ขยันโทรไปเบอร์ 152 กันจัง แล้วบอกทำไมไม่โทรกลับ ... ของตู 1500 เฟร่ย! เบอร์โทร.มือถือ 9003366 นี่ก็ได้มาโดยบังเอิญจากศูนย์โนเกีย ซื้อซิมพร้อมเครื่องเลย ..ก็แอบดีใจอยู่นาน เพราะได้เบอร์ที่จำง่ายมาโดยไม่เสีย "ค่าความสวย" (ทั้งที่บางเบอร์ที่มันขายกันแพงๆ เนี่ย ดูแล้วยังไม่เห็นว่าเลขจะสวยหรือจำง่ายตรงไหน) ยิ่งเขียนในรูป 0-1900-3366 ด้วย ยิ่งฮาไปใหญ่ เพราะดูเหมือนพวกแชทไลน์ นาทีละ 9 บาท แต่ภายหลังก็พบว่า ไม่มีใครชอบท่องเบอร์กันแล้ว.. เซฟแหลก เบอร์ไหนก็เหมือนกัน.. หงิ่ว! เพราะได้เบอร์สวยจำง่ายมา ก็เลยไม่เคยคิดจะเปลี่ยนไปใช้เจ้าอื่น เสียดายตัวเลข ..แต่มาตอนนี้ถูกบังคับเติม 8 เลขเลยชักไม่ค่อยสวยแล้ว ก็เริ่มจะเสียดายน้อยลงหน่อย (เอ้อ.. อยากรู้จริงๆ ว่าใครเป็นคนคิดว่าต้องเติม "8" ..ทำไมไม่เป็นเลขอื่น?) พูดถึงเรื่องชื่อ {b}ใครจะคิดว่า p' nuay (พี่นวย) จะเอามาสลับได้เป็น n' yupa (น้องยุพา) ได้พอดี{/b} ซึ่งนี่คือชื่อเล่นจริงๆ ของคุณยุ แฟนคนปัจจุบัน (และเอ้อ.. ที่จริงก็เพิ่งคนแรกด้วย นั่นแหละ..) เวลาค้นพบอะไรแบบนี้ขึ้นมาได้แล้วมันก็น่าตื่นเต้นดีเนอะ! (นอกเรื่อง: ไม่กี่วันมานี้ก็ตื่นเต้นที่พบว่า คำว่า นรก ใช้ฟอนต์ดีๆ จะอ่านเป็น USA ได้ด้วย เหมือนจะสะท้อนให้เห็นว่า.. USA ในมุมมองคนไทย มันก็คือนรกชัดๆ นี่เอง.. เหอๆๆๆ..) เคยพยายามดิ้นรนจะสลับให้คำมันยาวกว่านี้ (จะได้เท่ๆ ..อิอิๆ..) โดยจะใช้คำว่า kanuay เต็มๆ คำ ..เลยได้ออกมาเป็นประโยคประหลาดแบบนี้ครับ kanuay's : aka n'yu's (ครึ่งหน้ากับครึ่งหลังใช้ตัวอักษรชุดเดียวกัน) และทู่ซี้อธิบายได้ว่า ย่อมาจาก kanuay is also known as n' yu 's คือ ไอ้คนวยเนี่ย มันออลโซโนนแอส (รู้จักกันในอีกนามหนึ่งว่า) ของน้องยุ มันฟังดูทะแม่งๆ ฝืนๆ ดีนะ.. ก็เลยไม่เอา ประโยคนี้ทิ้งไปอย่าให้ใครรู้จะดีกว่า.. ..เอ้า นึกไม่ออกแล้วครับ ..ขอจบตอนกันดื้อๆ ตรงนี้เลยละกันครับ us:=นวย.:am:. - 08/07/2007 22:34 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-