tp:=13/6/50 .. นวย ซีเลคชั่น : ป้าง tg:= op:=เนื่องในโอกาสที่พี่ป้างออกอัลบั้มชุดใหม่ ก็เลยขอลองคัดเพลงพี่ป้างดูหน่อย.. ป้าง - นครินทร์ กิ่งศักดิ์ * เข้าสู่วงการด้วยการออกอัลบั้มร่วมกับปอนด์ ธนา ลวสุต ในชื่อวง "ไฮดร้า" (พี่ป้างแต่งเนื้อร้องและร้องนำ, พี่ปอนด์แต่งทำนองและทำดนตรี) ชื่ออัลบั้ม "อัศเจรีย์" สังกัดนิธิทัศน์ เมื่อปี 2535 ..มี 10 เพลง ภายหลังนิธิทัศน์นำมาขายใหม่จนทุกวันนี้ โดยมีเพลงลึกลับเพิ่มเข้ามา 2 เพลง * หลังจากนั้นในปี 2538 ก็ออกอัลบั้มเดี่ยวเป็นครั้งแรก ในชื่อชุด "ไข้ป้าง" และก็มีอัลบั้มตามมาเรื่อยๆ (ทุกๆ 2-3 ปี) ได้แก่.. "ฉลองครบรอบ 30 ปี", "ขายหน้า", "หัวโบราณ", "เลี่ยมทอง" และล่าสุด "ดอกเดียว" โดยระหว่างแต่ละชุดจะมีเพลงพิเศษอย่างน้อย 1 เพลง ออกมาให้ฟังกันเสมอๆ เช่น เหตุผล, เพราะอะไร, ไม่ขอบคุณ, สูง, ปล่อย, อย่ายอมแพ้ (cover อ้อม สุนิสา) * เอกลักษณ์ของอัลบั้มพี่ป้างคือ ตั้งชื่อด้วยภาษาไทย หน้าปกมักจะไม่มีหน้าตัวเอง ชุดแรกสุดก็ไปนั่งมึนๆ อยู่หลังท้วม ทรนง ซะงั้น จะมีก็เพียงอัลบั้ม "ขายหน้า" เท่านั้น ที่เอาหน้าตัวเองมาลงปกให้รับกับชื่ออัลบั้ม (แต่ทุกชุดก็จะมีรูปตัวเอง 1 รูป ไปอยู่ด้านในปกแทน..) อัลบั้มที่ออกกับแแกรมมี่ทุกชุดจะทำปกได้สวยงามจับใจ (โดยเฉพาะ "หัวโบราณ") * ถ้าจะถามผมว่าชอบชุดไหนมากที่สุด คงตอบไม่ได้.. ชุดที่ 1 ก็ดี สดใหม่ น่าฟัง, ชุดที่ 2 ก็มีเพลงที่ชอบอยู่เยอะ, ชุดที่ 4 รึก็นวลเนียน สุขุม และคุณภาพเสียงดีแบบเพลงฟัง, ชุดที่ 5 รึก็จ๊าบ สนุก ซึ้ง หลากหลายอารมณ์ และคุณภาพเสียงดีแบบเพลงร็อก นี่ขนาดคัดเลือกมาชุดละ 6 เพลงแล้ว ยังต้องตัดหลายเพลงที่ชอบทิ้งไปเลย.. ------------------------------------------------------- {b}คัดแบบ 2 แผ่นจบ{/b} {b}Disc 1 -- Sony Music{/b} (2538 ถึง 2543) 01 สบายดี (ไข้ป้าง) / 4:01 02 ปีหน้า (ไข้ป้าง) / 3:41 03 เอื้อมไม่ถึง (ไข้ป้าง) / 3:52 04 คุยกับตัวเอง (ไข้ป้าง) / 3:32 05 ประตู (ไข้ป้าง) / 3:19 06 อยากเด็ก (ไข้ป้าง) / 2:57 ** สบายดี : เพลงเปิดตัวในฐานะศิลปินเดี่ยว หลังจากเลิกวง "ไฮดร้า" กันไป ถือว่าเป็นเพลงประจำใจขาโดดเพลงนึง ในยุค "อัลเตอร์" เฟื่องฟู.. (และยุคที่ "อินดี้, เด็กแนว" ยังเป็นผงวุ้น.. <-- โอ้โห! ยังไม่เป็นวุ้นเลยอ่ะคิดดู) ** ปีหน้า : เพลงให้กำลังใจ ที่ได้พี่บอยด์ แห่งเบเกอรี่ มาแต่งเนื้อร้องให้ ** เอื้อมไม่ถึง : เพลงตัดพ้อ กับการตีกีตาร์โปร่งแรงๆ มีกลิ่นไอริชลอยมากับเสียงปี่ ฟังแล้วคิดถึงบรรยากาศเหงาๆ ริมทะเล ยามดึก ในคืนพระจันทร์เสี้ยว ** คุยกับตัวเอง : เพลงแรกและเพลงเดียวที่พี่ป้างใช้เสียงหลบ ในยุคนั้น (ก่อนจะมาหลบแหลกแทบทุกเพลงในยุคนี้ แทนเสียงครางใหญ่ๆ อันเป็นเอกลักษณ์) ** ประตู : อีกหนึ่งเพลงดังฟังคึกครื้น ที่มีเนื้อหาเป็นสัญลักษณ์ชวนคิด ..จะมัวนั่งซึมรอดอกไม้ดอกใหม่อยู่ทำไม ในเมื่อเพียงแง้มประตูออกไป เธอก็จะเจอสวนดอกไม้ให้เธอไปเด็ดดมได้ด้วยตัวเอง ** อยากเด็ก : พังก์ดุเดือดในสไตล์เดียวกับเพลง Burnout ของวงกรีนเดย์ (ไม่รู้เรียกว่าสไตล์เดียวกัน หรือเป็นเพลงเดียวกันเลย กันแน่.. ต้องลองฟังกันดู!) ชื่อเพลงอยากเด็ก หมายความว่าอยากกลับไปเป็นเด็ก.. ไม่ใช่อยาก(กิน)เด็ก 07 แพ้ (ฉลองครบรอบ 30 ปี) / 4:15 08 หัวล้านใจน้อย (ฉลองครบรอบ 30 ปี) / 4:45 09 เรารักกัน (ฉลองครบรอบ 30 ปี) / 4:15 10 ไม่ใช่นางฟ้า (ฉลองครบรอบ 30 ปี) / 4:45 11 กม.30 (ฉลองครบรอบ 30 ปี) / 4:44 12 หลังบ้าน (ฉลองครบรอบ 30 ปี) / 3:36 ** แพ้ : เปิดอัลบั้มด้วยเพลงร็อกมันเขี้ยวสไตล์ยุค 80s ที่พี่ป้างในยุคนั้นหลงใหล ** หัวล้านใจน้อย : อีกหนึ่งเพลงโดดที่เดินตามรอยเพลง "สบายดี" ออกมา ไม่รู้เป็นการแซวทรงผมตัวเองด้วยหรือเปล่า เพราะชุดที่แล้วยังมีผมดีๆ อยู่เลย ** เรารักกัน : ก้าวใหม่ของพี่ป้างกับเพลงสบายๆ ชิลๆ ลมโกรกๆ ที่ 60 km/h ** ไม่ใช่นางฟ้า : เพลงนี้ถือว่ามันส์ที่สุดในยุคนั้นของพี่ป้างแล้ว มีคนบอกไว้อย่างนั้น ** กม.30 : เพลงที่แต่งให้กับวาระครบรอบ (อายุ) 30 ปี ของตัวเอง มองย้อนไปว่ามีใครเคยผ่านมาในชีวิตบ้าง มีทั้งเคยทำและเคยถูกทำให้ร้องไห้ เนื้อหาฟังแล้วก็ แอบชวนให้เหงาเล็กๆ และก็ใจหายกับวัน (วัย) ที่ผ่านมาได้เหมือนกัน ** หลังบ้าน : เพลงช้าอะคูสติกเพราะจับจิต โดยเฉพาะคนที่ชอบมีมุมส่วนตัวไว้พักใจ ไม่ว่าจะเหนื่อยใจหรือสุขใจ ก็จะมานั่งนิ่งๆ ลำพังที่หลังบ้านอันคุ้นเคยแห่งนี้ 13 เพราะอะไร (ขุนช้างขอบคุณ) / 2:51 อัลบั้มแรกพี่ป้างมีคอนเสิร์ตชื่อ ไอซียู และออกอัลบั้ม "ไฮไลท์ไอซียู" มีเพลงใหม่ 1 เพลงคือ "เหตุผล" แต่ผมไม่ได้เลือกมา ส่วนอัลบั้มที่สองนี้มีคอนเสิร์ตชื่อ "ขุนช้าง (ให้) ตกมัน" และออกอัลบั้ม "ขุนช้างขอบคุณ" ซึ่งก็เพลงใหม่ 1 เพลงเช่นกัน คือเพลงนี้ "เพราะอะไร" เป็นเพลงที่เขียนเนื้อโดยพี่จิก ประภาส แห่งวงเฉลียง นั่นเองครับ (ทีแรกเพลงนี้จะให้พี่จุ้ย ศุ บุญเลี้ยง.. แต่เกิดอะไรบางอย่าง กลายเป็นเพลงพี่ป้างไป) 14 นับหนึ่งถึงสิบ (ขายหน้า) / 4:38 15 ผู้ชายร้องไห้ (ขายหน้า) / 4:40 16 สร้างมาเพื่อเธอ (ขายหน้า) / 4:15 17 ช้าเหลือเกิน (ขายหน้า) / 4:19 18 ความสุขโดยตรง (ขายหน้า) / 4:59 ** นับหนึ่งถึงสิบ : นี่ก็ถือเป็นก้าวใหม่เช่นกัน กับเพลงที่มีท่อนต่างกันสุดขั้ว ท่อนธรรมดาร้องแบบกระซิบกระซาบ คล้ายๆ บ่น แต่ท่อนฮุคนี่ตะโกนสุดๆ ** ผู้ชายร้องไห้ : เพลงช้า ขายๆ ประจำอัลบั้มนี้ สับกีตาร์โปร่งได้เนียนมากๆ ** สร้างมาเพื่อเธอ : เพลงนี้เนิบๆ ชิลล์ๆ ในแบบเดียวกับ "เรารักกัน" ** ช้าเหลือเกิน : แต่งโดย ฆ้อง มงคล เจ้าของเพลง "คืนนี้ขอหอม" ของโยคีเพลย์บอย เนื้อหาก็แปลกดีนะ คือเจอคนรักแล้วแต่ยังมาตัดพ้ออีกว่า ทำไมเธอเข้ามาในชีวิตช้าจัง ** ความสุขโดยตรง : เพลงนี้ทำให้ได้คิดว่า ที่คนเราไขว่คว้าอยากได้นู่นนี่มาครอบครอง พอได้มาแล้วก็เท่านั้น จะอยากมากมายทำไม ..ถ้าหยุดอยากปั๊บก็จะมีความสุขเลยทันที 19 ไม่ขอบคุณ (รวบรวม) / 3:57 {b}ความยาวรวม{/b} 77:26 นาที จบจากอัลบั้มขายหน้าแล้ว พี่ป้างก็หมดสัญญากับโซนี่พอดี อัลบั้มนี้ไม่มีคอนเสิร์ต คงเพราะไม่โด่งดังเท่าที่ควร แต่ก็มีอัลบั้มรวมฮิตออกมาแทน ชื่ออัลบั้ม "รวบรวม" ซึ่งก็ค่อนข้างรวบรวมเพลงได้แน่นปึ้กสมชื่อจริงๆ ทั้งจากอัลบั้มเต็ม 3 ชุด อัลบั้มคอนเสิร์ต 2 ชุด รวมถึงเพลงจากอัลบั้มของไฮดร้าด้วย นอกจากนั้นยังมีเพลงใหม่หลายเพลง.. เพลงนำอัลบั้มก็คือเพลง "ไม่ขอบคุณ" บอกว่า ซึ้งใจที่เธออยู่เคียงข้างกันมา แต่ไม่ขอบคุณนะ จะขอทำดีให้มากขึ้นก็พอ ------------------------------------------------------- {b}Disc 2 -- GMM Grammy{/b} (2545 ถึง 2550) 01 เธอมีจริง (หัวโบราณ) / 4:44 02 อากาศ (หัวโบราณ) / 3:46 03 คู่ชีวิต (หัวโบราณ) / 3:34 04 จุดต่ำสุด (หัวโบราณ) / 4:00 05 ความเป็นแม่ (หัวโบราณ) / 3:57 06 ขบวนสุดท้าย (หัวโบราณ) / 3:55 ** เธอมีจริง : เพลงเปิดอัลบั้มชุดที่ 4 ของพี่ป้าง ซึ่งเป็นแนวเพลงฟังมากขึ้น (ไม่มีเพลงไว้โดดๆ แล้ว และเลิกร้องเสียงครางๆ ใหญ่ๆ แล้ว ใช้เสียงหลบแทน) และชุดนี้จนถึงชุดล่าสุดก็พิถีพิถันกับการบันทึกเสียงมากๆ เลย.. ฟังแล้วดี.. ** อากาศ : อันนี้เพลงช้า เพลงขาย เพลงนี้แหละที่เริ่มร้องเสียงหลบ มีคนบอกว่า เพราะพี่ป้างทำเสียงเล็กเสียงน้อย ออดอ้อนๆ ในเพลงนี่แหละ เลยโดนใจวัยรุ่นโดยไม่รู้ตัว เพราะเวลาคุยกับแฟนก็มีเสียงเล็กเสียงน้อยเช่นกัน ** คู่ชีวิต / ความเป็นแม่ : สองเพลงที่แต่งให้กับชีวิตคู่หลังแต่งงาน บวกกับแนวเพลงของอัลบั้มนี้ ทำให้รู้เลยว่า ตอนนี้พี่ป้างแกแก่แล้วล่ะ.. ** จุดต่ำสุด : เพลงเร็วเนื้อหาให้กำลังใจดี ถ้าอยู่ในจุดต่ำสุดของชีวิตแล้วล่ะก็ จงลุกขึ้นสู้เถอะ.. ถ้าแพ้ก็เท่าเดิม ถ้าชนะก็กำไร ** ขบวนสุดท้าย : อันนี้ให้กำลังใจคนที่ยังไม่มีคู่ซักที ขบวนสุดท้ายไม่เคยมีหรอก ถ้าคืนนี้รถไฟไม่มา พรุ่งนี้ตอนรุ่งเช้าค่อยมารอใหม่ 07 ปล่อย (ost. Beautiful Boxer) / 4:15 พี่ป้างเคยทำเพลงประกอบหนังแล้วเรื่องนึงคือ Mission Impossible ภาค 2 ชื่อเพลง "สูง" อยู่ในอัลบั้มรวบรวม เป็นเพลงกึ่งร็อค-กึ่งอิเล็คทรอนิกส์ ส่วนเพลงนี้เป็นเพลงประกอบหนังไทยที่เกี่ยวกับ "น้องตุ้ม ปริญญา" ..อย่าไปฝืนหัวใจเลย ขนาดทำนบกั้นน้ำยังพังได้ มีอะไรในใจจงปล่อยออกมา 08 แมน (เลี่ยมทอง) / 4:47 09 คบไม่ได้ (เลี่ยมทอง) / 4:19 10 ผู้ชายไม่ได้เลว (กว่าหมา และมาจากท้องแม่) (เลี่ยมทอง) / 4:14 11 หนังสือรุ่น (เลี่ยมทอง) / 4:00 12 คุณเจ๋ง (เลี่ยมทอง) / 3:50 13 มากพอ (เลี่ยมทอง) / 4:24 ** แมน : เพลงเปิดตัวอัลบั้มใหม่ ที่บอกให้รู้ว่าพี่ป้างยังไหวอยู่ (ฮา) ใช้เทคนิคเดียวกับ "นับหนึ่งถึงสิบ" ค่อยๆ บิวท์จากร้องสบายๆ จนกลายเป็นตะโกน (เพลงนี้ร้องว่า "โคตรจะแมน" นะครับ ..ไม่ใช่ "ตุ๊ดจะแมน" แบบที่ได้ยินในทีวี) ** คบไม่ได้ : อันนี้เพลงช้าที่ใช้ขายประจำอัลบั้มนี้ ** ผู้ชายไม่ได้เลว (กว่าหมาฯ) : แค่ชื่อเพลงก็โดนแล้วอ่ะ ให้รู้ไปเลยชัดๆ ว่าแต่งเพลงนี้มาแก้ต่างชื่อหนังสือสุดโด่งดังของกาละแมร์ เขาว่า ธรรมชาติของผู้ชายก็แค่มองหญิงไปเรื่อย แต่ก็ไม่ได้ไปมีอะไรซักหน่อย ** หนังสือรุ่น : แขกรับเชิญในอัลบั้มนี้ก็คือพี่บอย ตรัย แต่งทำนองเพลงนี้ เมื่อรวมเข้ากับเนื้อร้องสุดประทับใจของพี่ป้างแล้ว ฟังกี่ทีก็ซึ้งไม่หาย นี่ถ้าใครเคยมีแฟนตอนเด็กๆ ด้วยล่ะก็ อาจจะซึ้งกับอดีตจนน้ำตาเล็ดกันได้ ** คุณเจ๋ง : เพลงนี้มันส์สุดในอัลบั้มนี้แล้ว ถือว่าทำได้ดีเทียบเท่าชุดแรกๆ เลย คุณเจ๋งนี่ไม่ใช่ชื่อคนนะ แต่หมายความว่า คุณน่ะเจ๋ง.. ทุกคนมีอะไรเจ๋งๆ อยู่ในตัว ที่ใครอื่นก็สู้เราไม่ได้ หามันให้เจอแล้วลุยโลด! ** มากพอ : เพลงช้าอันสุดเพราะ คอร์ดที่ใช้ในท่อนฮุคมันโดนใจดีครับ 14 กระดกลิ้น (ดอกเดียว) / 3:38 15 ฉันอยู่คนเดียวได้? (ดอกเดียว) / 4:25 16 ซ้ำ (ดอกเดียว) / 4:12 17 คนมันไม่ใช่ (ดอกเดียว) / 4:31 18 ดอกเดียว (ดอกเดียว) / 4:33 19 กำลังเดินทางอยู่ (ดอกเดียว) / 4:32 {b}ความยาวรวม{/b} 80:22 นาที ** กระดกลิ้น : นี่ก็เป็นเพลงเปิดตัวที่ทำให้เข้าใจแนวดนตรีของอัลบั้มนี้ (ว่ากลับไปเน้นอะคูสติกเบาสบาย เล่นกันถึงเครื่องสีและดับเบิ้ลเบสกันเลย) ** ฉันอยู่คนเดียวได้? : เพลงช้าไม่มีอะไรซับซ้อนเลย แต่ก็ถือว่าเมโลดี้สวยดี เป็นเรื่องของคนปากแข็งที่บอกว่าชอบทำงาน อยู่คนเดียวสบายๆ ไม่ต้องมีคู่ก็ได้ แต่พอดูหนังหรือเจอคนรักกันทีไร ก็แอบน้ำตาไหลทุกที.. ** ซ้ำ : เพลงเร็วจังหวะกระฉึกกระฉัก เล่นจังหวะกับคำว่า ซ้ำ ซ้ำ ซ้ำ ในท่อนฮุค มุขนี้ฟังแล้วนึกไปถึงเพลงชื่อเดียวกันนี้ ของเก่ง นิยุติ อดีตศิลปินร่วมค่าย Giraffe (หมายเหตุ ..แต่มุขที่ใช้กันบ่อยสุดจนเอียนแล้วก็คือ คำว่า "หยุด" แบบว่าพอร้องถึงคำนี้แล้ว ดนตรีต้องหยุด เงียบสนิทชั่วขณะนึงอ่ะ.. ได้ยินไล่มาตั้งแต่เพลงของโมโนโทน, เพลงจากอินดี้คาเฟ่, อ๊อฟ AF ร้องมาลีวัลย์) ** คนมันไม่ใช่ : เพลงนี้พี่ป้างร้องเสียงเล็กเสียงน้อยออกแนวตัดพ้อได้ดีจริงๆ ** ดอกเดียว : ชื่ออัลบั้มของพี่ป้างจะเป็นคำภาษาไทยเสมอ แม้แต่อัลบั้มของไฮดร้า แต่ว่า ก็เพิ่งมีเพลงนี้เพลงแรก ที่ถูกนำชื่อไปใช้เป็นชื่ออัลบั้มด้วย.. ..ใจความหลักก็คือ เก็บดอกไม้ริมทางมาฝากเธอ คัดมาอย่างดีที่สุดเพียงดอกเดียว ถ้าของมันงามจริงๆ ดอกเดียวเท่านี้ก็งามได้ ไม่จำเป็นต้องให้กันมากๆ ช่อใหญ่ๆ ก็เหมือนดนตรีในอัลบั้มนี้ ที่ไม่ต้องเล่นกันโครมครามๆ ใช้เครื่องดนตรีน้อยๆ แต่ละเมียดละไมในรายละเอียด จนกระทั่งจั่วไว้ปกหลังว่าเป็นแผ่น Audiophile ** กำลังเดินทางอยู่ : เมื่อพี่ป้างแต่งเพลงในทางดนตรีของบอดี้สแลม (แต่เรียบเรียงดนตรี แต่งเนื้อร้อง และร้อง ในสไตล์ของตัวเอง) ก็จะออกมาเป็นเพลงๆ นี้นี่เองแหละครับ เนื้อหาลอยๆ ฝันๆ ดีเหมือนกัน.. ------------------------------------------------------- {b}คัดให้เหลือแผ่นเดียว{/b} เนื่องจากสองแผ่นยังคัดยาก จำใจตัดเพลงที่ชอบไปตั้งหลายเพลง (โดยคงเพลงที่มีทำนองและดนตรีจ๊าบๆ ฟังไม่น่าเบื่อ เอาไว้) การคัดต่อให้เหลือแผ่นเดียว เลยขอใช้หลักการว่า "เอาเพลงที่ดังๆ ทิ้งไป.. เน้นเพลงที่นำเสนอแง่มุมแปลกๆ ดีกว่า" เพื่อให้เห็นว่า พี่ป้างมีมุมมองในการเขียนเนื้อได้ไม่รู้จบจริงๆ ..ดังนั้นเพลงที่คัดมาต่อไปนี้ก็ถือว่า ดีทั้งทำนอง ดนตรี และเนื้อร้อง! 01 ประตู (ไข้ป้าง) / 3:19 02 ปีหน้า (ไข้ป้าง) / 3:41 03 คุยกับตัวเอง (ไข้ป้าง) / 3:32 04 ไม่ใช่นางฟ้า (ฉลองครบรอบ 30 ปี) / 4:45 05 กม.30 (ฉลองครบรอบ 30 ปี) / 4:44 06 หลังบ้าน (ฉลองครบรอบ 30 ปี) / 3:36 07 เพราะอะไร (ขุนช้างขอบคุณ) / 2:51 08 ช้าเหลือเกิน (ขายหน้า) / 4:19 09 ความสุขโดยตรง (ขายหน้า) / 4:59 10 จุดต่ำสุด (หัวโบราณ) / 4:00 11 ความเป็นแม่ (หัวโบราณ) / 3:57 12 ขบวนสุดท้าย (หัวโบราณ) / 3:55 13 ปล่อย (ost. Beautiful Boxer) / 4:15 14 ผู้ชายไม่ได้เลว (กว่าหมา และมาจากท้องแม่) (เลี่ยมทอง) / 4:14 15 หนังสือรุ่น (เลี่ยมทอง) / 4:00 16 คุณเจ๋ง (เลี่ยมทอง) / 3:50 17 ฉันอยู่คนเดียวได้? (ดอกเดียว) / 4:25 18 คนมันไม่ใช่ (ดอกเดียว) / 4:31 19 ดอกเดียว (ดอกเดียว) / 4:33 {b}ความยาวรวม{/b} 77:26 นาที ------------------------------------------------------- us:=นวย.:am:. - 13/06/2007 14:23 ๏+๏-๏- op:=โอ๊ว... มีเพลงให้ 'หลังบ้าน' ของเราด้วยแฮะ ...อ้าว ไม่ใช่หรอกหรอ ^ ^' ว่าแต่ 2 เพลงลึกลับของไฮดราที่โผล่มาทีหลังนี่คือเพลงอะไรหรอคะ ? เดา.... ของรักของหวง กะ เครื่องบินตามหมา ? แต่หนูชอบเครื่องบินตามหมานะคะ โดยเฉพาะถ้าเอามาเปิดต่อจาก คนไม่มีวาสนา ฮาดี ::smile3:: us:=Shauฯ - 14/06/2007 00:53 ๏+๏-๏- op:=โอ้..ไม่ถูกนะคร้าบ.. 2 เพลงนั้นคือ ใกล้บ้า และเรื่องงมงาย จ่ะ.. (เดาว่าน่าจะเป็นเพลงที่ทำไว้พร้อมกันแต่ถูกคัดออก) ป.ล. ที่พี่นวยเคยตั้งชื่อเว็บไดอะรี่ (และฉบับรวมเล่ม) ว่า หลังบ้านนวย ก็หยิบมาจากเพลงหลังบ้านของพี่ป้างนี่ล่ะเออ.. ::smile2:: us:=นวย.:am:. - 14/06/2007 09:36 ๏+๏- op:=ส่วนเพลง ของรักของหวง เป็นเพลงโปรโมทเชียวนะเออ (เพลงโปรโมทก็มี ดึกแล้ว, ของรักของหวง, นายแม้น, ไว้ใจ, ไกลเท่าเดิม, น.ส.หุ่นยนต์.. เอ๊ะ.. ทำไมไล่ไปไล่มา เหมือนโปรโมททั้งชุดเลยอ่ะ แต่ยืนยันว่าเคยได้ยินเพลงเหล่านี้เปิดทางวิทยุในช่วงนั้นจริงๆ นะ สงสัยส่งแผ่นเต็มไปเป็นแผ่นโปรโมทแน่ๆ เลย.. ของเค้าดีจริงทุกเพลงครับพี่น้อง ::smile3::) หงิ่ว.. วงเล็บยาวจัง.. us:=นวย.:am:. - 14/06/2007 09:41 ๏+๏-๏- op:=ว้าย... เป็นสองเพลงที่จะตอบ แต่ตัดออกในนาทีสุดท้ายด้วย -"- ทำไมโปรโมทเยอะจังอะคะ ??? อ๋อ แต่ที่น่าสงสัยกว่าก็คือว่า ตอนนั้นเราไปอยู่ไหนมาหว่า ไม่เคยได้ยินซักเพลงเลย เพิ่งมาเริ่มได้ยินดึกแล้ว กะไกลเท่าเดิมตอนอยู่มัธยมนี่ล่ะค่ะ อ๋อ...นึกออกแล้ว หนูเพิ่งเริ่มฟังเพลงประมาณปี 37-38 นี่นา :S แต่ทำไมไอ้ที่สรรหามาฟังตอนนี้มันเป็นนักร้องก่อนปี 38 ทั้งนั้นเลย เต๋อ เฉลียง ไฮดรา ไมโคร นูโว อินคา สุรสีห์ กัมปะนี โอ้ว.... นี่มันเจาะเวลาหาอดีตชัดๆ ! us:=ชอฯ - 14/06/2007 11:52 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-