tp:=5/6/50 .. คนช่างฝันในหมู่บ้าน tg:= op:=ฟังเทปกัมปะนีแล้วก็ติดใจ ไปขุดเทปเพลงเก่าๆ (แต่สภาพยังใหม่) มาฟังอีก หนึ่งในอัลบั้มเหล่านั้นก็คืออัลบั้มแรกของ เพชร โอสถานุเคราะห์ เป็นเพลงในแนวอิเล็กทรอนิกส์+ป๊อป (ใช้คีย์บอร์ดและซินธ์เป็นเครื่องหลัก) ฟังแล้วรู้สึกได้เลยว่า 20 ปีที่แล้วเป็นยังไง ปีนี้ก็ยังเป็นอย่างงั้นไม่เปลี่ยน ไอ้ความทันสมัยที่อยู่ในอัลบั้มแรก พอถึงอัลบั้มใหม่ฟังดูเป็นเพลงย้อนยุคไปซะงั้น นอกจากหลายเพลงที่ผมชอบแล้ว ก็มีอีกเพลงที่เพิ่งมาสะดุดหู นั่นคือ "คนช่างฝัน" สะดุดเพราะฟังแล้วเห็นภาพชัดเจนดี บรรยากาศของเพลงนี่ใช้ได้เลย บอกเล่าถึงความฝันของคนๆ นึง ที่อยากให้โลกเราอยู่กันอย่างสงบสุข ติดจะหดหู่นิดนึงเพราะเขาก็ย้ำว่า เรื่องดีๆ เหล่านี้ คงจะได้แต่ฝันไป.. (ลักษณะเนื้อหาก็คล้ายๆ เพลง imagine ของลุงจอห์น เลนนอน นั่นแหละครับ) ------------------------------------------------------------------------------- {b}เพลง{/b} {a href=http://kanuay.web1000.com/dream.zip}คนช่างฝัน{/a} {b}ศิลปิน{/b} เพชร โอสถานุเคราะห์ {b}อัลบั้ม{/b} ธรรมดา..มันเป็นเรื่องธรรมดา (2530) เนื้อร้องและทำนอง เพชร โอสถานุเคราะห์ | เรียบเรียง กฤษณ์ โชคทิพย์พัฒนา แดนในฝัน ไร้ความจริง แต่งามพริ้ง เพราะมายา คนช่างฝัน ไร้ปัญญา แต่สเน่หา คว้าดลใจ เขามีฝัน ทุกวัน ทุกคืน ทุกยามไม่มีจุดหมาย ช่างไร้ค่าเหลือ แต่เขาไม่มีพิษภัย ต่อใครในสังคม เขามีความสุขเหลือตรม คนช่างฝัน ฝันไปไกล ว่าโลกนี้ แสนศิวิไลซ์ มวลมนุษย์ ล้วนจริงใจ ไม่มีคนร้าย มีสายพิณบรรเลง ไม่มีสงคราม ทุกยาม ร่มเย็น ไม่มีใครอดใครหิว ขัดสนแสนเข็ญ มีความรักกันในใจ ทุกวันทุกคืน เขาคอยคร่ำครวญเสมอ ------------------------------------------------------------------------------- ที่สำคัญ เพลงคนช่างฝัน ทำให้นึกไปถึงอีกเพลงของคุณอา (หรือพี่) ท่านหนึ่งด้วย.. ใช่แล้วครับ.. อีกเพลงที่ว่านี้คงหนีไม่พ้นเพลงนี้ไปได้ "หมู่บ้านในนิทาน : เต๋อ" ได้อ่านในไดอะรี่น้องชอมานาน (หลายรอบ) เพิ่งได้ตั้งใจฟังเต็มๆ เมื่อไม่นานนี้เอง น่าจะเรียกว่าเป็นแนวโฟล์ค (คันทรี่) ซึ่งพี่เต๋อคงมีเพลงในลักษณะนี้เพียงเพลงเดียว ------------------------------------------------------------------------------- {b}เพลง{/b} {a href=http://kanuay.web1000.com/village.zip}หมู่บ้านในนิทาน{/a} {b}ศิลปิน{/b} เต๋อ เรวัต พุทธินันทน์ {b}อัลบั้ม{/b} เต๋อ-1 (2526) เนื้อร้อง นิติพงษ์ ห่อนาค, เรวัต พุทธินันทน์ | ทำนองและเรียบเรียง จาตุรนต์ เอมซ์บุตร ก่อนยังมีแดนห่างไกล ไกลนัก แต่มีคนพักอาศัย บางคนที่เคยไป ยังติดใจนักหนา มีชาวบ้านชาวนา กินอยู่มานมนาน มีทุ่งนาป่าเขียวสดงาม มีน้ำใสเย็นอยู่ในลำธาร ผู้คนเลยชื่นบาน ไม่มีใครร้าวราน หมู่บ้านในนิทาน สุขสันต์ตลอดมา ไม่มีแสงสีล่อใจ ไม่มีรถขวักไขว่ล้นถนน ไม่มีคนหลอกลวงคน มีแต่คนจริงใจ มีก็แบ่งกันไป มีอะไรก็เจือจาน คนกับคนไม่จนจิตใจ มากไปน้อยไปให้กันเป็นทาน ผู้คนเลยชื่นบาน ไม่มีใครร้าวราน หมู่บ้านในนิทาน สุขสันต์ตลอดมา อยู่กันไปตามประสา คนบ้านป่าไม่คิดอะไร มีงานก็ทำไป ไม่ละเมอเพ้อหา นอนก็แค่หลับตา พอตื่นมาก็ทำงาน เป็นที่กินที่โตที่ตาย ร่มเย็นหัวใจไม่มีใดปาน ผู้คนเลยชื่นบาน ไม่มีใครร้าวราน หมู่บ้านในนิทาน สุขสันต์ตลอดมา ไม่มีใครเสียใจ ไม่มีใครร้าวราน หมู่บ้านในนิทาน เล่ากันตลอดมา ------------------------------------------------------------------------------- ปิดท้ายด้วยประโยคจากเพลงของลุงจอห์น ก็ละกัน You may say I'm a dreamer But I'm not the only one I hope someday you'll join us And the world will live as ONE. us:=นวย.:am:. - 05/06/2007 01:50 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-