tp:=ประโยค ประหลาด tg:= op:=ถ้าแบ่งคนในโลกนี้จากการเอ่ยคำขอโทษ ก็คงจะแบ่งได้ 3 กลุ่ม กลุ่มแรก ไม่เอ่ยเด็ดขาดไม่ว่าจะผิดจริงหรือไม่ผิด ไม่ว่าจะด้วยความกระอักกระอ่วนใจ หรือด้วยความหยิ่งในศักดิ์ศรีก็ตาม กลุ่มที่สอง เอ่ยเฉพาะกรณีที่ตัวเองผิดจริงๆ เอ่ยอย่างยอมรับความผิดพลาด แต่ถ้าไม่ผิดก็ไม่จำเป็นจะต้องเอ่ย กลุ่มสุดท้าย เอ่ยตลอดเวลา จนกระทั่งคิดว่ากลายเป็นคำวิเศษไปแล้ว คือเมื่อไรที่ทำอะไรก็ไม่ต้องคิดมาก เพราะถ้าเกิดผิดต่อคนอื่นขึ้นมาก็แค่เอ่ยคำๆ นี้ทิ้งๆ ไป แล้วถ้าเอ่ยไปแล้วผู้ฟังจะต้องยอมให้อภัยด้วย มิฉะนั้นผู้ฟังจะกลายเป็นฝ่ายผิดแทน! ซะงั้น! ผมมีความคิดว่าในบรรดาประโยคที่พูดไปแล้วไม่ได้อะไรขึ้นมา ประโยคนึงที่ได้ยินหลายครั้งก็คือ "ขอโทษกู (ผม) เดี๋ยวนี้" ประโยคนี้มักจะออกมาจากปากของคนประเภทที่สาม ที่ได้แบ่งกลุ่มไว้ข้างบน อย่างที่บอกล่ะครับ เขามีความเชื่อว่าถ้าเอ่ยขอโทษแล้วก็ถือว่าหายกัน ถ้าเขาคิดว่าใครผิดต่อเขา เขาก็จะบังคับให้ขอโทษ แล้วถ้าไม่ยอม เขาจะโกรธมาก แต่ถ้ายอมๆ พูดไป เขาก็จะสบายใจ สมใจเขา ผมว่าถึงอีกฝ่ายจะยอมพูดขอโทษ คำขอโทษนั้นก็ไม่ได้มาจากความสำนึกผิดจริงๆ หรอกครับ ถ้าทำบ่อยๆ เข้า จะกลายเป็นการชักชวนให้คนกลุ่มแรกหรือกลุ่มสอง กลายร่างเป็นคนกลุ่มสามไป เพราะฉะนั้นผมถึงบอกว่า ประโยค "ขอโทษกู (ผม) เดี๋ยวนี้" เป็นประโยคที่พูดไปแล้วไม่ได้อะไรขึ้นมาหรอกครับ.. ทำไมชอบพูดกันจัง ป.ล. ไม่ได้ไปทะเลาะกับใครมาหรอกครับ แต่พอดีนึกได้ว่ามีเพื่อนชอบพูด และก็ได้ยินในละครทีวีด้วย ต่อ ยอด ความ คิด.. มีหลายประโยคที่แปลกดีครับ 1. "ผมพูดโกหกเสมอ" -- ประโยคนี้ไม่มีใครพูดโดยหมายความตามนั้นได้ เพราะถ้าเขาเป็นคนที่พูดโกหกเสมอจริงๆ ก็จะกลายเป็นว่าประโยคนี้จริงไปซะ แต่ถ้าเขาเป็นคนพูดจริงเสมอ ก็จะกลายเป็นกำลังโกหกอยู่ 2. "ผมเป็นโรคจิต" -- ประโยคนี้ก็ไม่มีใครพูดโดยหมายความตามนั้นได้เช่นกัน ในวิชาสุขศึกษาบอกไว้ว่า โรคประสาทกับโรคจิตต่างกันนิดเดียว คือโรคประสาทนั้นผู้ป่วย (ห้ามใช้คำว่า "คนป่วย" นะ) จะรู้ตัวว่าตัวเองสติไม่ค่อยดี และสามารถตัดสินใจไปหาจิตแพทย์และเล่าอาการให้ฟังเพื่อบำบัดได้ แต่ถ้าโรคจิต ผู้ป่วยจะไม่รู้ตัวว่าตัวเองผิดปกติครับ.. ดังนั้นผมว่า ประโยค "ผมเป็นโรคจิต" นั้นก็ไม่มีใครพูดได้เช่นกัน (เพราะถ้าพูดออกมาด้วยความคิดเช่นนั้น จะลดระดับเป็นโรคประสาททันที) 3. "There are eight words in this sentence" ประโยคนี้เป็นเท็จใช่ไหมครับ เพราะไม่ได้มี 8 คำอย่างที่พูด แต่ถ้าเราเปลี่ยนเป็นนิเสธ ก็จะได้ประโยคนี้ "There are not eight words in this sentence" ก็ยังเป็นเท็จอีกซะงั้น! เพราะประโยคนี้ดันมี 8 คำพอดี.. นิเสธของเท็จได้ผลเป็นเท็จอ่ะ! 4. "ผมจะถูกต้มในหม้อ" -- ประโยคนี้ทำให้รอดตายซะงั้น! เคยฟังนิทานเรื่องนี้ไหมครับ หนุ่มคนหนึ่งพลัดหลงไปในป่า และถูกคนป่าจับตัวไปเป็นอาหาร แต่เพื่อความสะใจของบรรดาคนป่า ก็เลยบอกไอ้หนุ่มนั่นว่า ให้พูดประโยคอะไรออกมาก็ได้ เพียงประโยคเดียว ถ้าประโยคนั้นเป็นความจริง เขาจะตายโดยถูกย่างทั้งเป็น แต่ถ้าประโยคนั้นเป็นเท็จ เขาจะตายโดยถูกต้มในหม้อ.. คิดอยู่ครู่เดียวเท่านั้นล่ะครับ เขาก็พูดออกมาว่า "ผมจะถูกต้มในหม้อ" .. เท่มะ ประโยคนี้ รอดตายซะงั้น us:=นวย.:am:. - 22/07/2006 12:20 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-