tp:=แอดมิสชั่นส์กันเลยทีเดียว tg:= op:={center}{b}- 1 -{/b}{/center} ดูรายการถึงลูกถึงคน ถกกันเรื่องสอบแอดมิสชั่นส์อีกแล้ว ติดตามดูต่อกันมาหลายวันและรู้สึกแปลกใจจริงๆ ที่เรื่องไม่ยอมจบซะที จะถกกันไปอีกนานไหมครับเนี่ย ... คือว่า ดูจนมันคุ้นหน้าเด็กกลุ่มนี้แล้วอ่ะ ใครช่วยเอาไปออกเทปเหมือนบ้านอคาเดมี่ได้เลย ..ลักษณะจะดังนะนี่ เด็กๆ กลุ่มนี้เป็นตัวแทนชองผู้ที่กำลังอยู่ "ใน" ระบบแอดมิสชั่นส์ใหม่เอี่ยมปีนี้ ซึ่งก็พยายามพร่ำบ่นเหลือเกินว่าระบบมันแย่ มันห่วย มันไม่พร้อมแล้วเอามาใช้ทำไม ส่วนอีกฝ่ายคือท่านผู้ใหญ่ที่มีอำนาจสั่งการ และแก้ไขทุกอย่าง "เหนือ" ระบบฯ ไม่ว่าจะเป็นฝ่าย สพฐ. หัวหน้าอยู่โยง, สกอ. หัวหน้าเก่า, และ สทศ. หัวหน้าใหม่ ที่คอยออกมาสู้หน้า ตอบปัญหาต่างๆ และรับปากว่าจะแก้ไขอย่างไรบ้าง ให้เด็กๆ ถูกใจ (ส. สุดท้ายจะโดนต่อว่าหนักหน่อย เพราะมีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงกับระบบใหม่นี้ แต่ ส. อันกลาง ในฐานะหัวหน้าเก่า พ้นความรับผิดชอบไปแล้ว ก็ยังตามมาเชียร์หัวหน้าใหม่อยู่ และคอยตอบอะไรที่แบบ ยั่วโมโหเด็กอ่ะ.. ผมว่าคนนี้ตัวชงเลยล่ะ เค้าจะดีกันคนนี้พูดทีเด็กเครียดเลย) คืนนี้ดีหน่อยที่เอาเด็กมาพูดล้วนๆ คืนเมื่อวานก็ให้ผู้ใหญ่มาล้วน ไอ้คืนก่อนนั้นที่ทดลองเอาเด็กกับผู้ใหญ่มาพร้อมๆ กันนี่โห.. ดูไม่จืด.. ปกติรายการถึงลูกถึงคนเป็นการถกกันระหว่างผู้ใหญ่ทั้งสองฝ่าย ก็วุ่นมากแล้วนะ มาประเด็นนี้ ฝ่ายนึงเด็ก ฝ่ายนึงผู้ใหญ่ ยิ่งดำเนินรายการยากขึ้นไปอีก แบบว่าจะถกกันอีท่าไหนเนี่ย.. ดูยังไงคนกลางอย่างผมก็ว่า ผู้ใหญ่คุมเกมได้ทุกที ยิ่งคืนนั้นที่อยู่พร้อมหน้ากันนะ เด็กโดนผู้ใหญ่ต้อนซะหงอยเลย จุดอ่อนเด็กคือควบคุมอารมณ์ไม่อยู่จริงๆ ..พูดๆ แล้วก็อารมณ์ขึ้นกันทั้งนั้น (ประมาณว่าถ้าวิ่งเข้าไปต่อยซักตุ้บได้ ก็คงทำไปแล้ว.. ติดว่าออกทีวีอยู่..) ผมก็เข้าใจนะ ว่าอยู่ในสถานการณ์แบบนั้นมันก็ต้องโมโหง่าย เป็นธรรมดา ฝั่งผู้ใหญ่นี่มาในมาดสุขุม พูดเนิบๆ ไม่ลุกลน และที่ผมชอบมากคือ จังหวะที่ตอกเด็กหงายไปหลายตลบ โดยเฉพาะพี่แว่นมีหนวด หน้าคล้ายๆ เดอะปั๋ง นั่งหันหลังให้กล้อง ไม่รู้เป็นใคร ได้ยินคลับคล้ายว่า เป็นเจ้าของเว็บเพื่อการศึกษาแห่งหนึ่ง ทุกช็อตที่เด็กชักจะงี่เง่ามากเกินไป แกคนนี้ก็จะพูดตอกกลับได้อย่างโดนใจเสมอ (แม้กระทั่งบางทีผู้ใหญ่งี่เง่า แกยังตอกผู้ใหญ่เข้าให้ด้วยเหมือนกัน นี่สิเรียกว่ามีจุดยืนจริง ..คือถกกันไปตามเนื้อผ้า ไม่ใช่เชียร์ใครแบบไม่ลืมหูลืมตา) ส่วนตัวให้คะแนนไปเต็มร้อยเลย สำหรับคุณพี่คนนี้.. ความรู้สึกที่เกิดขึ้นในใจผมเอง "ไม่เข้าข้างใครเลย" เหมือนกัน หมายความว่าไง? .. ก็ "ผิดทุกฝ่าย" น่ะสิครับ.. ผู้ใหญ่น่ะผิดชัวร์ๆ ที่ปากแข๊งแข็ง.. ระบบยังไม่เรียบร้อยแล้วไม่ยอมรับ พูดแต่ว่าพร้อมแล้วๆๆ เพียงแค่ปีแรกฉุกละหุกนิดหน่อยเท่านั้น..อ่ะดูท่านว่าเข้า ฝ่ายเด็กกลุ่มนี้เอง (รวมถึงพวกที่ส่ง SMS มาในทำนองเดียวกัน) ก็ผิดด้วยแหละ ผิดตรงที่ไม่รู้จักจับประเด็นหลักๆ มาพูด เอาประเด็นที่ผู้ใหญ่ผิดจริงๆ มาสิ เท่าที่ดูมาตลอด จะต้องมีเรื่องยิบย่อยไม่สำคัญอะไรมาพูดได้เรื่อยๆ แล้วความตั้งใจที่จะต่อว่าผู้ใหญ่ก็เลยเหลว จนความผิดนั้นวกมาเข้าตัวเองได้ทุกที ยกตัวอย่างเช่นเรื่องคะแนนเป็น 0 เงี้ย ไปว่าเขาว่าระบบทำไมห่วยจัง ผู้ใหญ่ชี้แจงกลับ ... เพราะคนๆ นั้นฝนรหัสวิชา หรือเลขประจำตัวประชาชนผิดเอง! เด็กคนนึงเถียงหน้าดำหน้าแดง บอกว่าครูในห้องจะ "ต้องช่วย" ตรวจเช็คด้วย.. ไม่รู้ว่าผมใจดำไปไหม แต่ความคิดผมกลับว่า ไม่ใช่เรื่อง! อย่างที่ SMS นึงว่าไว้แหละครับ ..โตจนจะเข้ามหาลัยแล้ว ถ้าเขียนเลขประจำตัวผิดได้ในเรื่องสำคัญๆ ขนาดนี้ ก็ไม่สมควรจะได้เรียนล่ะ.. ผมใช้คำว่างี่เง่า ในความหมายที่ว่า คุณเรียกร้องมากเกินไป ทุกคนต้องทำแบบนี้เหมือนกัน ทุกคนต้องหัดรับผิดชอบบ้าง ทำไมคุณจะทำไม่ได้? คุณต้องการคนเอาใจใส่ขนาดนั้นเลยเหรอ? (เปล่าหรอกครับพี่.. ผมก็ไม่ได้ฝนผิดหรอก ไหนๆ ก็ได้พูดแล้วเลยขอซะหน่อย) งั้นกรุณาเปลี่ยนเรื่องโดยด่วนเลยครับน้อง.. เอาที่มีความสำคัญกว่านี้เถอะได้โปรด! (โอเคครับพี่.. เรื่องสำคัญกว่านี้นะ.. จัดให้!) {center}{b}- 2 -{/b}{/center} แล้วผมก็ได้ฟังเรื่อง กากบาทไม่เต็มช่องมั่งล่ะ ใช้ลิควิดได้ไหมบ้างล่ะ เขียนเลข 0 1 2 3 ฯลฯ ก็ต้องให้ตรงตามแบบที่กำหนดบ้างล่ะ.. ทำไมเวลาประกาศคะแนนแล้วต้องให้ server ล่ม มั่งล่ะ (เค้าก็ล่มกันทุกปีแหละไอ้น้อง) อื้อหือ นี่นะสาระ.. สาระกันเหลือเกิ๊น.. เด็กๆ เข้าใจไหมเนี่ยว่า มันเป็นระเบียบที่ทุกคนต้องยอมรับน่ะ ไอ้ปัญหาจุกจิกพวกนี้ใครๆ ก็เจอ ถ้าคุณทนไม่ได้มากขนาดนั้นก็อย่าสอบเลย แต่ผมไม่ได้เถียงว่าผู้ใหญ่ถูกเสมอหรอกนะ.. เรื่องนี้ผู้ใหญ่ก็บ๊องส์พอกัน เพราะกระดาษคำตอบแบบฝนดินสอ 2B กลมๆ แบบเดิมก็ดีอยู่แล้ว ทำไมต้องเปลี่ยน? ข้อสอบปรนัยก็ให้เปลี่ยนมาใช้วิธี "กากบาทด้วยปากกา" (แบบเดียวกับเลือกตั้ง) ข้อสอบอัตนัยยิ่งไปกันใหญ่ ให้เขียนตัวเลขหรือข้อความด้วยลายมือกันเลย แล้วตอนตรวจก็เอาไปสแกนเข้าคอม จากนั้นใช้ OCR เป็นผู้ตรวจ.. (OCR = โปรแกรมตรวจจับว่าลายมือนี้เขียนว่าอะไร หรือกาที่ตัวเลือกไหน) ข้อดีมีอยู่อย่างเดียวที่เปลี่ยนมาใช้เนี่ย คือได้โชว์เทคโนโลยีใหม่ๆ นิดนึง คนสั่งเอาระบบนี้มาใช้จะรู้มั้ยนะว่า แบบเก่ามันดีอยู่แล้ว มันเร็วและเชื่อใจได้ ส่วนแบบใหม่เนี่ยมันแย่! ตรวจจับผิดมั่งถูกมั่ง เชื่อใจไม่ค่อยได้.. ถ้าข้อสอบเติมคำ (ที่ไม่ใช่ตัวเลข) จะให้คนจริงๆ มานั่งตรวจ -- แค่คนละ 4 แสนฉบับ! ..จะเปลี่ยนทำไม? แต่ว่าเด็กๆ เองน่ะก็เหลือเกิน.. แยกไม่ออกหรือไร ว่าตรงไหนเป็นข้อบังคับ ตรงไหนเป็นคำแนะนำ 1. เขาไม่ได้บังคับให้เขียนตัวเลขด้วยลายมือแบบที่ว่ามาซะหน่อย เขามีช่องให้เรากรอก 0 ถึง 9 เพื่อคอมจะได้รู้ว่า ลายมือเราเลขไหนเป็นแบบไหน ส่วนไอ้ที่ว่า เลข 1 ต้องยังงี้ เลข 4 ต้องแหลมๆ นะ อะไรพวกเนี้ย มันเป็นคำแนะนำ เพื่อที่คำตอบที่พวกคุณเขียนมาน่ะ จะได้ตรวจได้แม่นๆ หน่อย นี่หวังดีนะเนี่ย.. บางคนลายมือตัวเองเขียนหลายๆ เลขเหมือนกันเกินไป คอมก็จะงงและอ่านผิดกันได้ 2. เขาไม่ได้บังคับว่าให้ใช้ลิควิด หรือให้ใช้ยางลบแข็งๆ ลบรอยปากกาออก เห็นถกกันอยู่นั่นแล้ว ว่าจะลบกันไปกันมากระดาษจะขาดไหมอะไรไหม.. พูดทำไม คำตอบก็แค่ว่า จะลบยังไงก็ลบไปเหอะ ให้คอมมันเห็นเหมือนที่เราอยากให้เห็นก็พอ คือไอ้เรื่องไม่ให้ใช้ลิควิดลบน่ะ เป็นคำแนะนำ ไม่ใช่ข้อบังคับ คนที่พูดน่ะเค้าแค่ห่วงแทน กลัวว่าถ้าลิควิดจางเกินไปแล้วคอมจะนึกว่ากาที 2 ช่อง แต่ถ้าใครมั่นใจว่าดูโอเคก็ใช้ลิควิดมาเหอะ.. ก็ตรวจให้เหมือนกัน ไม่ใช่ไม่ตรวจ ปัญหาจุกจิกพวกนี้ผมว่าต้องแก้ที่การประชาสัมพันธ์มากกว่า ผู้ใหญ่ต้องออกใบปลิวเขียนรายละเอียดมาให้เสร็จสรรพ และจบในคราวเดียว เด็กก็ต้องไม่มั่วฟังข่าวลือ ทางนู้นทีทางนี้ที แล้วก็นั่งด่าว่าทำไมเปลี่ยนกฎบ่อย {center}{b}- 3 -{/b}{/center} ทีนี้มาถึงปัญหาใหญ่ที่ได้ฟังกันท้ายๆ ของคราวก่อนแล้วมาต่อกันในครั้งล่าสุดนี้ ปัญหาที่น่าจะหาข้อสรุปกันมากกว่าเรื่องเล็กน้อยทั้งหลายที่ผ่านไปแล้ว 1. การที่คะแนนที่ประกาศออกมามันมีบางอย่างแหม่งๆ อยู่ จะเชื่อถือได้หรือว่า เป็นคะแนนที่แท้จริง ไม่ได้มีการตรวจผิดหรือกรอกผิด 2. การใช้ GPA ในการวัดผลถึง 30% นั้นดีแล้วหรือ แน่ใจแล้วใช่ไหมว่า GPA จากแต่ละโรงเรียนเอามาเทียบกันได้.. ประเด็นแรก คะแนนที่ประกาศออกมามันแหม่งๆ ไม่น่าเชื่อถือ เริ่มต้นขอต่อว่าก่อนเลยได้ไหมครับ.. ทำไมต้องประกาศคะแนน (แต่ละวิชา) ออกมาเป็น t-score อะไรให้งงด้วย มีน้องโทรมาหาผมหลายคน ว่าดูคะแนนยังไง อะไรคือ t-score ผมก็งงดิ เกิดมาไม่เคยไดยินคำนี้มาก่อน ไม่ว่าจะส่วนไหนของวิชาสถิติ ก็เลยไปอ่านรายละเอียดในเว็บของทางการ.. ปั๊บก็ อ๋อ.. มันคือค่ามาตรฐาน (z-score) แต่ว่าถูกปรับให้งงเล่น คือปกติคะแนนที่ตรงกับค่าเฉลี่ย จะมีค่า z=0 เค้าก็ไปใช้คำว่า t-score = 50 ถ้าค่า z=1 (คือเกินค่าเฉลี่ยมา 1 SD) ก็จะได้ค่า t-score = 60 ถ้าค่า z=1.5 (คือเกินค่าเฉลี่ยมา 1.5 SD) ก็จะได้ค่า t-score = 65 ถ้าค่า z=-2 (คือต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอยู่ 2 SD) ก็จะได้ค่า t-score = 30.. อะไรแบบนี้ อ๋อ พอเข้าใจแล้ว.. ก็อธิบายให้น้องๆ ฟังไป ดีนะที่น้องเรียนสถิติมาบ้าง ไม่งั้นงงตึ้บกว่านี้หลายเท่า (แล้วน้องๆ ศิลป์ภาษาจะเข้าใจกันท่าไหนวะเนี่ย) น้องก็ถามต่อไปว่าแล้วจะเอา t-score ไปเทียบกับคะแนนย้อนหลังปีที่แล้วได้ไง ผมคิดอยู่แป๊บนึงก็บรรลุ ... ฉาด! (ตบเข่า) มันจะไปเทียบได้ไง.. ไม่ได้เลย! ก็เรารู้แต่ค่ามาตรฐาน คล้ายๆ กับว่ารู้ลำดับที่อ่ะ แต่เราไม่รู้ค่าเฉลี่ยกับ SD เลย แล้วมันจะไปคำนวณกลับมาเป็นคะแนนดิบ (ซึ่งแต่ละวิชาเต็ม 100) ได้ไงฟระ? และพอไม่รู้คะแนนดิบ ก็ไม่มีทางเทียบกับปีก่อนได้ว่าเราควรเลือกคณะไหนมั่ง ยกตัวอย่างง่ายๆ สมมติวิชาภาษาไทยมีคนสอบ 4 แสนคน เราสอบได้ที่ 1 แสน ถามว่ารู้มั้ยเราได้คะแนนดีหรือแย่ขนาดไหน ไอ้คนที่ได้มากกว่าเราเนี่ย คะแนนทิ้งห่างมากไหม ถ้ามากก็แย่ ถ้าไล่เลี่ยก็พอมีลุ้น สรุปว่าไม่มีทางจะรู้ได้เลย ... บอกน้องๆ ว่าทำใจเหอะ พี่ก็งงชีวิตไปด้วยแล้ว แต่ไม่นานหลังจากนั้นก็มีข่าวมาว่า เดี๋ยววันที่ 11 จะประกาศคะแนนดิบ ส่วน t-score นั่นไม่ได้ใช้อะไร รู้แล้วก็ทิ้งมันไปเหอะ.. นั่งรอต่ออีกสัปดาห์กันไป.. (ไม่วายเด็กๆ แขวะอีกว่า ขอให้ดูได้จริงเถิด เว็บอย่าล่มก็ละกัน) ที่ผมสงสัยคือ แล้วท่านๆ จะประกาศมาเป็น t-score ทำแป๊ะอะไรให้เด็กมันงงเล่น (เด็กๆ มันงงกันจริงจังเลยล่ะ ไม่ได้งงเล่นแล้วล่ะ) แล้วพอคะแนนดิบออกมานะ เด็กก็โวยกันถ้วนหน้าว่าทำไมคะแนนลดลง คือเด็กมันไม่เข้าใจอ่ะ.. ถ้า t-score เป็น 60 70 แต่ว่าค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 30 นะ คะแนนดิบคุณก็อาจจะแค่ 40 ไม่เกิน 50 อะไรแบบเนี้ย.. เด็กบางคนไม่รู้จริงๆ เล่นเอาร้องไห้กันเป็นทิวแถว ว่าโดนลดคะแนน ..เฮ้อ กลุ้ม ก็คะแนนเดิมนั่นแหละ แต่มากันคนละสกุล ประมาณเงินกีบแลกเป็นเงินบาทอ่ะน้อง อีกอย่างที่สุดจะงงคือ ถ้าคะแนนดิบยังไม่เสร็จอ่ะนะ แล้วจะคำนวณเป็น t-score มาประกาศก่อนได้ไง.. ไอ้เราก็ เรียนสถิติมาก็เยอะ แต่ในโลกยังมีอะไรลึกลับเกินกว่าที่เราจะเข้าใจถึงแฮะ เอ้ากลับมาในประเด็นละ.. ที่ว่าคะแนนมันแหม่งๆ อย่างเช่น ตอนประกาศ t-score บางคนที่ไม่ได้สอบกลับมีคะแนน คนที่ไปสอบกลับได้ 0 ก็มี.. หรือประกาศคะแนนดิบปั๊บ บางคนที่เคยมี t-score กลับได้คะแนนดิบเป็น 0 หรือยิ่งกว่านั้น คนที่ได้ t-score สูงกว่าเพื่อน กลับได้คะแนนดิบต่ำกว่าเพื่อน.. เอาเข้าไป! เมื่อคืนวาน ผู้ใหญ่ก็มาอธิบายชี้แจงแถลงไขไปแล้วเรียบร้อย ไม่ค่อยได้ฟังว่ายังไง แต่รู้สึกจะมีเรื่องนิดหน่อยว่า คณะแพทย์ 10 สถาบันจะรับแล้ว ไม่รอแล้ว คะแนนใครมีก็เอามายื่นก่อนเลย ประกาศรายชื่อผู้มีสิทธิ์เข้าเรียนเลยทันที แล้วถ้าคะแนนใครที่ตอนนี้มีปัญหา ไว้แก้ปัญหาเสร็จแล้วค่อยเอามายื่นทีหลังก็ได้ หากว่าคะแนนเกินคนต่ำสุดที่ผ่านเข้าไป ก็ยินดีจะเพิ่มที่นั่งให้ ได้เรียนกันทุกคน.. ฟังน้ำเย็นเข้าลูบหลังเด็กแบบนี้แล้วค่อยชื่นใจรับสงกรานต์หน่อย ส่วนความแหม่งของคะแนน ผมว่าก็คงต้องยอมรับกับคะแนนดิบที่เพิ่งประกาศมา ไอ้ t-score คราวแรกคืออะไรอย่าไปสนใจเลย จะมากจะน้อยก็ไม่ได้ใช้ยื่นอยู่ดี.. ถ้ายังไงอะไรผิดพลาดก็นึกซะว่าเป็นเวรเป็นกรรมของเราละกัน ก็ทำอะไรไม่ได้นี่ {center}{b}- 4 -{/b}{/center} ประเด็นที่สอง การใช้ GPA ถึง 30% ไม่ดี เพราะแต่ละโรงเรียนให้เกรดไม่เท่ากัน ใช่แล้ว เราทุกคนก็รู้ว่าแต่ละโรงเรียน คนสอนคนละคนกัน มันจะไปเทียบกันได้ไง ผู้ใหญ่เขาก็บอกแล้วว่าจะเอาคะแนน o-net ที่ทุกคนต้องสอบฉบับเดียวกัน ไปเป็นหลักในการหาตัวคูณ GPA ระดับ ร.ร. ให้.. สอบดีคูณเยอะ สอบห่วยคูณน้อย ฉะนั้นสบายใจได้.. หลักการฟังดูดี แต่! ปีนี้ยังทำไม่ทันว่ะ.. อ้าว อย่างงี้เด็กก็เรียกร้องต่อไม่รู้จักจบสิครับท่าน.. แล้วผู้ใหญ่กลับพลิกความคิดเป็นว่า ไม่จำเป็นต้องหาตัวคูณ GPA แล้ว ซะงั้น ฟังไปฟังมา (รวมถึงฟังปัญหาต่างๆ ที่เด็กๆ พยายามสุมๆๆ คิดขึ้นมา) ก็ชักคล้อยตาม คือการถ่วงเป็นราย ร.ร. มันไม่ยุติธรรมสำหรับเด็กเก่งที่หลุดไปอยู่ใน ร.ร.อ่อน แต่การจะถ่วงเป็นรายบุคคล เด็กๆ ก็ว่าไม่ดีอีก บางคนวันสอบดันตื่นเต้น ทำพลาด (เป็นไงครับ ฟังดูเด็กๆ เรียกร้องเกินไปรึยังครับ.. จะไม่ให้ใช้ GPA หรือให้ใช้น้อยที่สุด ก็หมายความว่าอยากให้วัดกันที่สอบล้วนๆ แต่พอคิดไปถึงว่า ถ้าตัวเองสอบ o-net แย่ ก็กลัวไปฉุด GPA ลงอีก แล้วมันไม่เหมือนการสอบล้วนรึไง? ทำไมสอบล้วนโอเค แต่ตัวคูณรายคนไม่โอเค?) ความคิดผมเลยก็คือ ไม่ต้องไปคิดเรื่องปรับตัวคูณ GPA ให้วุ่นวายหรอก มันจะเป็นการเอาใจพวกเด็ก (โรงเรียน) เลิศๆ มากไป.. เด็กกลุ่มที่คอยระแวงว่าโรงเรียนอื่นปล่อยเกรด ไม่มีคุณภาพเท่า ร.ร. พวกเขา (ตอบมาให้เต็มปากได้ไหมว่า ร.ร.พวกคุณ ไม่มีการโอนอ่อนช่วยเด็กเรื่องเกรดเลย) และระแวงว่า GPA 30% จะทำให้เขาสู้ชาวบ้านยากขึ้น.. ผมว่ากฎนี้ก็ดีในแง่เปิดโอกาสให้ทุกๆ คนเท่าๆ กัน ไม่ใช่ปรับ GPA ใครขึ้นลงตามใจ ถ้าคุณคิดว่าเกรด 4 ที่คุณได้มาอย่างยากลำบากนั้นมีคุณภาพจริง อีก 70% ที่เป็นการสอบก็ควรชนะฉลุย แล้วจะไปกลัวอะไร? หรือถ้าคุณคิดว่า ร.ร.อื่นได้เปรียบ และ ร.ร.คุณเสียเปรียบจริงๆ ล่ะก็ คุณจะมาเข้าเรียนที่นี่ทำไม?.. ลาออกไปอยู่ ร.ร. (ที่คิดว่า) ปล่อยเกรดสิ.. เอ้าตอบมาเถอะว่าอยู่ที่นี่มีส่วนดีมากกว่าส่วนเสีย ก็เท่านั้น.. จะเอาดีหมดคงไม่มีให้! ผมคิดว่าน่าจะหาเด็กปานกลางๆ ที่เกรดปริ่มๆ จะว่าดีก็ไม่เชิง-แย่ก็ไม่ใช่ มาพูดบ้าง เวลาแสดงความเห็นหรือเรียกร้องอะไร จะได้มีมุมมองใหม่ๆ (ที่ไม่น่าหมั่นไส้) หน่อย อีกอย่างคือ ทำไมต้องเอาแต่เด็กหน่อมแน้มๆ มาพูดด้วยฟระ ขนาดน้องผมนั่งดูด้วยกันยังต้องบอก ไอ้เด็กนี่พูดมี ร.เรือ ล.ลิง ชัดเกินไป.. ไม่รื่นหู! ยิ่งฟังเด็กพูดยิ่งรู้สึกไม่ชอบใจ อย่างที่หลายคนเปรยว่าเด็กชักจะก้าวร้าวเกินไป เข้าใจ (อาจจะผิดหรือถูก) ว่าเด็กกลุ่มที่มาพูดจนจำหน้าได้แล้วเนี่ย เป็นเด็กเรียนดี มาจากหลายๆ โรงเรียนในกรุงเทพฯ ที่มีชื่อเสียงเด่นดังในการสอบเข้ามหา'ลัย หมั่นไส้แต่พองาม ที่เด็กๆ ล้วนแล้วแต่พูดเอาแต่ผลประโยชน์ให้ตัวเองอ่ะ จะให้พูดกี่ครั้งก็ยังสื่อออกมาใจความเดิม โธ่ไอ้น้องเอ๊ย.. ดูหน้าก็รู้แล้วว่าพวกคุณน่ะติดชัวร์ ไม่ต้องไปกลัวใครแย่งที่ร้อก.. ฟังแล้วเสียอารมณ์ว่ะ ถึงจะพยายามปั้นคำพูดให้ดูเท่ขนาดไหน ใจความก็ไอ้เดิมๆ พูดมาตรงๆ เลยดีไหมน้อง ว่าขอผมเข้าได้เถอะ แล้วอย่างอื่นจะยังไงช่างมัน อย่างคนนึงที่พูดว่า สำหรับเด็กบางคน (อย่างตัวเขาเอง -- อันนี้ผมเสริม) นั้นการเอ็นท์ติดคณะที่ต้องการเป็นสิ่งสำคัญมากๆ พ่อแม่ตั้งความหวังไว้ ให้เรียนดีๆ จบมาทำอาชีพที่ใฝ่ฝัน และเลี้ยงดูพ่อแม่.. ถ้าหากให้เด็กอื่นที่ไม่เจ๋งจริง มาแย่งที่พวกเขาไป และเขาเอ็นท์ไม่ติด ใครจะมาเลี้ยงดูพ่อแม่? ขณะที่คนที่ติดเข้าไปอาจไม่ได้หวังจะเลี้ยงพ่อแม่ก็ได้.. เนื้อหาพวกนี้ฟังดูพิลึกๆ มั้ยครับ ทำไมคุณ และคนที่ไม่ได้ถูกปล่อย GPA จะต้องเป็นกลุ่มเดียวที่อยากเข้าคณะดีๆ และเป็นกลุ่มเดียวที่เป็นลูกกตัญญู ด้วยล่ะ ..คนอื่นก็มีสิทธิ์กลับตัวกลับใจได้ว้อย.. เด็กต่างจังหวัดคนนึง (ในห้องส่ง) พูดได้ดีมากๆ ใจความคือ กูไม่แย่งมึงหรอก.. ลองถามดูสิ มีเด็ก ตจว. มากมาย (ที่พวกมึงดูถูกเขา หาว่าเขาจะมาแย่งที่ด้วย GPA) ที่ไม่เคยคิดจะเอ็นท์มหาลัยกรุงเทพฯ แข่งกับพวกคุณ ยังมีมหาลัยภูมิภาคอีกตั้งเยอะ ใกล้บ้าน และไม่มีเด็กกรุงเทพฯ คนไหนอยากไปอยู่ มันเหมือนกับว่า มีเป้าหมายของใครของมันอยู่แล้ว อย่ามาดูหมิ่นกันไปหน่อยเลย.. ผมว่า ไอ้เด็กกรุงพวกนี้ควรจะมีน้ำใจนักกีฬาจริงๆ บ้าง (นอกเหนือจากที่พูดเป็น) ถ้าเจ๋งจริงก็ต้องสู้กันไปตามกฎ.. ถึงแม้ตัวเองจะไม่พอใจว่ากฎสุดจะไม่แฟร์ก็ตาม ข้อสรุปเรื่อง GPA มีหลายแบบที่น่าสนใจ 1. ให้ "แต่ละคณะ-แต่ละสถาบัน" คิดสูตรการถ่วงน้ำหนักเองเลย เพราะแต่ละคณะย่อมอยากได้เด็กดีๆ มีคุณภาพอยู่แล้ว คงจะได้กฎที่ (ฉัน) ยอมรับได้ และเด็กทุกคนควรยอมรับแต่โดยดี เพราะเป็นเงื่อนไขที่สั่งมาจากคณะในฝันโดยตรง 2. ลดจาก 30% ลง เป็นค่าที่แน่นอนซักค่านึง เอาเป็น 10% เหมือนระบบเก่าก็ไม่เลว.. ยังพอรับได้ ไม่หนักมาก แล้วยังได้ผลในแง่ว่าให้เด็กตั้งใจเรียนที่ ร.ร. แบบกำลังดี ไม่บ้าเกินไป ไม่ต้องเรียนพิเศษเยอะเกินไป (ถ้าเพิ่มเป็น 40 - 50% นี่เรียนพิเศษกันตับไหม้แน่) {center}{b}- 5 -{/b}{/center} ท้ายที่สุดแล้วยิ่งคิดก็ยิ่งเบื่อ มันไม่จบกันซะทีอ่ะ ยืดเยื้อเหมือนการชุมนุมไล่นายก แถมรายการคืนนี้ยังปิดท้ายด้วยหนุ่มหน้าจืดพูดน้ำเน่าอีกตะหาก (ไม่แน่ถ้าผมอยู่ในรุ่นนี้อาจจะพูดน้ำเน่ามากกว่าไอ้หนุ่มนี่ก็ได้) เลยเกิดปิ๊งขึ้นมาว่า แล้วจะเปลี่ยนระบบมาเป็นแอดมิสชั่นส์ทำหยังไรวะ ระบบเก่า (สอบสองครั้ง ใช้ GPA 10%) มันดีอยู่แล้วชัดๆ พยายามเค้นคิดถึงที่มาของการเปลี่ยนระบบสอบเข้ามหาลัย.. อ๋อ!! หรือว่าการเปลี่ยนและความวุ่นวายครั้งนี้ เพื่อแค่จะให้เด็กหรือใครหลายคนรู้ใจว่า "เป็นไงล่ะ อยากไม่เชื่อใจในระบบเอ็นท์กันดีนัก หาว่ากุ๊งกิ๊งโกงเอ็นทรานซ์เรอะ.. งั้นกูเปลี่ยนระบบใหม่หมดยวงซะเลย ... เป็นแบบนี้พอใจกันรึยังล่ะมรึง!" us:=นวย.:am:. - 14/04/2006 14:28 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏- op:=แป่ว..ไม่รู้เรื่องเลยอ่ะว่าเดี๋ยวนี้ระบบเป็นยังไงไปแร้ว.. นวยอธิบายแบบสั้นๆได้ใจตวามให้หน่อยสิ us:=PoPPaP - 02/03/2007 17:02 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-