tp:=รวมข้อความจากเล่ม 17 tg:= op:=8 พ.ย. 46 มาว่ากันถึงหนังเรื่อง แฟนฉัน ดูแล้วใช้ได้มากๆ เพราะเป็นเรื่องประสบการณ์ประทับใจและสะเทือนใจใกล้ๆ ตัว ทุกคนดุแล้วน่าจะอินไปกับบรรยากาศได้ไม่ยาก เอาเรื่องความสัมพันธ์ของคนมาสร้างเป็นช็อตเรียกน้ำตา ไม่ว่าจะเป็น ระหว่างผู้ใหญ่ด้วยกัน แม่กับลูก เพื่อนต่างเพศ และเพื่อนเพศเดียวกัน มีครบทุกแบบ บวกกับฉากตลกที่ดูเป็นธรรมชาติมากๆ และภาพทุกอย่างออกมาย้อนยุคได้เกือบไม่ผิดเพี้ยน จึงเป็นหนังความสัมพันธ์ + นอสตัลเจีย ที่ดี.. จับผิดเรื่องหนังสือ รูป และภาพในทีวี นิดหน่อย ที่เอาของที่หลงเหลือในยุคนี้ไปใช้ถ่ายทำ จึงดูเก๊าเก่า หนังสือก็เหลืองอ๋อย ภาพในทีวีก็เป็นวีดีโอที่ไม่ชัดแล้ว ตรงนี้แหละที่ไม่สมจริง... เพราะถ้าเป็นเหตุการณ์จริง ของพวกนั้นยังต้องใหม่เอี่ยมสิ พวกละครหรือหนังย้อนยุคมักจะพลาดเรื่องนี้ 14 พ.ย. 46 นั่งกินข้าวที่อักษรอยู่คนเดียว ข้าวเหนียวไก่พร้อมหนังไก่ และปอเปี๊ยะสดอีกจาน นั่งทอดหุ่ย มองคนไปเรื่อยเปื่อย.. วันเกิด เหงาดี เดินดูหนังสือในศูนย์หนังสือจุฬาฯ อยู่คนเดียว วันเกิด อยู่คนเดียว ตอนค่ำ ณ ร้านตักสุรา บอย วี เก่ง นั่งดื่มไปครึ่งแบนแล้ว อารมณ์เนิบๆ คืนนี้ก็เพลินๆ ไม่หักโหม รู้สึกอร่อยขึ้น หัวข้อสนทนาวันนี้คือเรื่องที่ว่า อะไรจะเกิดก่อนกัน ระหว่าง บอยเลิกบุหรี่ได้, เราเปิดร้านอาหารกับกล้า, หรือว่า เก่งได้รางวัลโนเบล ... โห สบประมาทกันขนาดนี้ต้องลุยแล้ว! 28 พ.ย. 46 สองทุ่มเศษ ไปช่วยงานโรงเรียนต่อจากเมื่อวาน ก็ปรากฏว่า เอาคนมาเยอะๆ ไม่ได้ทำงานอะไรเลย นอกจากคุยเรื่องจะจัดพิธีรับน้องตอนสี่โมงเย็นด้วย และเรื่องจะจัดยังไงดี มากคนก็มากความ แถมยังคุยไม่ค่อยได้สาระด้วย เป็นที่ประชุมที่ยืดเยื้อ ...จนเราเสียอารมณ์ 1. ความเชื่อมั่นในเพื่อน 2. การคิดถึงใจ (แคร์ความรู้สึก) คนอื่น ที่ประชุมนี้ไม่มีอยู่เลย มีพวกเรานี่แหละที่เป็นห่วง แต่พูดไปแล้วคนอื่นก็เฉยๆ นี่ถ้าไม่ได้คำสั่งยกโต๊ะเก้าอี้ ก็คงไม่มีอะไรทำกัน ได้แต่นั่งคุย และเราก็ทำตลกๆๆ ตลกไปตลกมา โดนคำสั่งให้มาพรุ่งนี้ตั้งแต่บ่ายสอง เครียดเลย.. กลายเป็นต้องยกเลิกสอนอีกแล้ว และรู้ว่า ถึงเราจะมาบ่ายสองเป๊ะ ก็ไม่ทำงานอะไรกันหรอก 29 พ.ย. 46 งานคืนนี้เราถูกมอบหมายหน้าที่ แบ๊คสเตจ (แปลว่าไร?) ตลอดทั้งงานนี้ออกมาเป็นที่พอใจของเรานะ มีดารา (มาเป็นพิธีกร) เยอะมาก นักร้องนักดนตรีก็มาก ศิษย์เก่าล้วนๆ ... รวมถึงท่านผู้ใหญ่อย่าง อ.ธัชชัย อดีตหัวหน้าภาคไฟฯ, อดีตคณบดีวิศวะ, อธิการบดีจุฬาฯ ใครจะรู้ว่าเป็นศิษย์เก่ารุ่นแรกสุดของ ร.ร. ด้วย.. ปรากฏว่านักแสดงที่มีคนกรี๊ดมากที่สุด มากกว่าพี่โป้โยคี ก็คือแก๊งดาราเด็กจากหนัง แฟนฉัน.. ซึ่งมากัน 6 คน ตัวเล็กมากเลยนะ ตัวจริงอ่ะ ดูแล้วไม่รู้จะสงสารหรืออะไรดี คนก็กรูกันจะเข้าประชิดตัว สาวๆ ก็กรี๊ด รุมถ่ายรูป เราเจอตัวจริงเข้าไปก็ เออ..มันก็เด็กธรรมดาๆ นี่หว่า ป.3 - ป.4 เอง.. 30 พ.ย. 46 เพื่อนใช้คำว่า ถูกเขาหลอกใช้และหลอกแดก อยากแก้แค้นที่มาหลอกเอาของที่ประเคนให้ด้วยพิศวาส เพื่อนว่า ให้ของทีไรทำดีด้วยผิดปกติทุกที ..ก็แล้วมึงไปให้ของเขาทำอะไรเยอะๆ แพงๆ ล่ะ โอเค เขาผิดที่ไม่ได้ชอบเรา แต่รับของตลอด แต่ว่าเพื่อนก็ผิดที่หลงเกินเหตุ คิดว่าการให้ของขนาดนั้น จะทำให้คนมาชอบมารักได้ ไม่เกี่ยวกันเลยด้วยซ้ำ! ดีแล้วล่ะ ฟูมฟายขนาดนี้ คิดได้ว่าไม่ยุ่งต่อก็ดีแล้ว ถ้ารู้ว่ากลับไปหลง ไปทำจีบอีกล่ะ ตูจะไปยืนด่าถึงที่เลย ให้มันหายบ้าซักที เดี๋ยวก็จีบเดี๊ยวก็แค้น เมื่อไรมันจะโตในเรื่องความรักซะทีหนอ.. ((เมื่อคืนนี้วิชวิสุทธิ์พูดไว้ดี คนเราพอผ่านช่วงความรักที่ผิดหวัง มันจะเหมือนจุดเปลี่ยนแปลงชีวิตครั้งยิ่งใหญ่ ทำให้เราโตขึ้นอีกเยอะ และทุกคนต้องผ่านจุดนั้น จึงจะโต..)) คำแก้ตัวของเพื่อนเราคือ ผิดไหม ที่อยากจะให้สิ่งที่ดีที่สุดกับเขา เมื่อเขาต้องการ.. ... โธ่ ดิ้นรนหาความรักเรื่อยไป แต่รักษาไว้ไม่ได้ เพราะมัวเอาเงินเข้าแลก ไม่ใช้ใจเข้าแลก! วันหลังถ้ามันถามว่า กูจะไว้ใจผู้หญิงที่ไหนได้อีก ทุกคนไม่มีใครจริงใจเลย.. เราจะตอบว่า ใช่! ไม่ต้องไว้ใจใครเลย ที่พูดน่ะถูกหมด และจงอยู่คนเดียวต่อไปเถอะ.. ตอบอย่างงี้อาจจะเลิกบ้าเสียที มีความสุขกับการฟูมฟายนักเรอะไง 9 ธ.ค. 46 ไอเดียที่ดี แหวกแนว ไม่มีใครทำมาก่อนคือ จะไปสมัครสอนคู่กันกับกล้า.. สอนคู่จริงๆ เลย จะได้แก้ปัญหา... (1) เล่นมุขแล้วไม่ขำ ไม่มีคนรับมุขให้ (2) คุมห้องใหญ่ไม่อยู่ ไม่มีคนช่วย (3) เกิดอาการกลัว อาการเหงา 19 ธ.ค. 46 มันว่ามันใช้เหตุผลทุกอย่าง โดยเฉพาะเรื่องความรัก เราก็สงสัยจะรักด้วยเหตุผลได้ยังไง มันว่า เหตุผลมาก่อน ความรู้สึกมาทีหลัง จึงจะถูก.. เพราะความรู้สึกเปลี่ยนแปลงง่าย ไม่มั่นคง เราเถียงว่า ความรู้สึกสิมาก่อน ความรู้สึกบังคับไม่ได้ แต่มันกลับบอกว่า สำหรับมัน ไม่ใช่.. อยากเถียงใจจะขาดว่า แล้วเป็นไงผลสุดท้าย ไปรอดไหมไอ้การใช้เหตุผลนำ แล้วลงมือสร้างความรู้สึกด้วยตัวเองน่ะ มาหาว่าอย่างตูที่เอาความรู้สึกนำหน้านั้นหลอกตัวเอง คิดๆ ยังไงคนที่หลอกตัวเองก็คือมันน่ะแหละ ก็ความรู้สึกมันบังคับให้เกิดตามต้องการได้ด้วยเหรอวะ คนทุกคนใช้ความรู้สึกมาก่อน แม้แต่มึงเอง เล่นเอาความรู้สึกมาเป็นเหตุผล.. เช่นบอกว่า เหตุผลของกูคือเขาเหมาะสมกับกู ไอ้ความเหมาะหรือไม่เหมาะน่ะ เค้าเรียกความรู้สึกโว่ย! บอกว่า คนเราดูหน้าตา เพราะเหตุผลว่าคนเราชอบสิ่งสวยงาม แบนี้เหรอวะเหตุผล อ้างถึงความรู้สึกชัดๆ.. ไอ้ความเหมาะ ความสวย น่ะเอาอะไรวัด? ตราบใดที่คนเรายังมีการคิด นั่นก็คือความรู้สึกนึกคิดน่ะแหละ แค่จะเปิดปากพูดเหตุผลออกมา ก็ต้องเกิดจากความรู้สึก รู้สึกว่าน่าจะพูดเหตุผลนะ.. อะไรยังงี้.. คิดแบบเป็นกลาง ความรู้สึกกับเหตุผลก็คงเป็นของคู่กัน โดยบอกไม่ได้ว่าใครมาก่อนกัน หลังๆ มันเริ่มเปรอะ ไปถึงพุทธศาสนา ถึงไอน์สไตน์ เราไม่ชอบที่เดินตามตูดไอน์สไตน์เลยว่ะ สุดท้ายถ้ายังไม่รู้จักใช้เหตุผล อย่างมีเหตุผล ซะบ้าง มันจะตายไปโดยไม่ได้เข้าใกล้แม้แต่ ขนตูดไอน์สไตน์.. 22 ธ.ค. 46 มีความคิดที่จะแปลหนังสือขายเหมือนกัน เป็นงานที่น่าลอง เพราะดูท่าทางไม่ต้องพิจารณาอะไรมาก ดูกันที่ตัวงานเน้นๆ และเราคิดว่าเราทำได้ พื้นฐานภาษาและการวิเคราะห์เราก็มี.. พอดีเมื่อวานอ่านสัมภาษณ์ วัลลี ชื่นยง คนแปล ลอร์ดออฟเดอะริง และวันนี้ทีวีก็ออกข่าวการเปิดตัว แฮรรี่พอตเตอร์ เล่มใหม่ แปลโดยเจ้าเก่า สุมาลี ... สองเรื่องนี้เป็นตัวอย่างของการแปลที่ประสบความสำเร็จ (ทางยอดขาย) มากที่สุดในยุคนี้.. (แม้ว่าเราเองยังไม่เคยอ่านซักเรื่องซักเล่มก็ตาม) เพียงแต่มาคิดว่าเราเองจะแปลงานด้านไหนดี 24 ธ.ค. 46 (1) เราก็ทำดีกับน้องยุมากกว่าคนอื่นนิดเดียว แล้วเธอจะต่างจากคนอื่นยังไง ตอบว่า พิเศษตรงที่เธอก็ดีกับเราตอบมากกว่าคนอื่น (2) ตั้งแต่คบกันมาไม่เคยคิดเลยว่าเพราะเหตุผลอะไร ทุกครั้งที่คิดก็จะหยุดคิดไปเอง (โดยไม่ได้คำตอบ) ความสุขมันทำให้อุ่นใจ และความอุ่นใจตอบแทนเหตุผลทุกอย่างได้แล้ว (3) โชคดีที่ไม่ต้องคอยเอาใจ ปรนนิบัติพัดวี ตัวติดกัน อยู่ไกลส่งใจผ่านโทรศัพท์อะไรกันตลอดขนาดนั้น ทำให้ต่างคนก็มีที่ว่างรอบตัว ให้ได้หายใจคนเดียว (สะดวกๆ) บ้าง คิดถึงกันก็มา มาหายใจร่วมกัน แล้วก็แยกกันไปทำอะไรของตัวเองต่อ แบบนี้แทนที่จะทำให้ห่างเหิน กลับไม่รู้สึกแบบนั้นเลย.. (4) ให้นิยามความรักที่มี อาจไม่ถึงกับตายแทนกันได้ แต่ก็มากพอควร เริ่มมีความรู้สึกเป็นห่วงเป็นใยขึ้นมา เรียกว่ารักกันและคบกันแบบเพื่อนดีกว่า แต่มากขึ้นไปเป็น เพื่อนใจ ไง.. คำนี้ความหมายดีแฮะ โดนมาก! 30 ธ.ค. 46 ชงโทรมารายงานว่า ปิ๋ม เพื่อนภาคอ่ะ ตอนนี้กำลังจะลาออกจากงาน มาทำกวดวิชาเต็มตัว ที่เปิดมาตั้งแต่เปิดเทอมกำลังไปได้สวย ทุนห้าหมื่นเป็นค่าเช่าและตกแต่งต่างๆ เริ่มจากศูนย์เลยด้วย เพราะปิ๋มไม่เคยสอนที่ใดๆ มาก่อน (สอมคณิตศาสตร์เหมือนกัน) ได้ฟังเรื่องแล้วก็ใจชื้นว่า เออเราก็ต้องทำได้บ้างสิ! ว่าแล้วก็นัดชงไปเดินหาสถานที่กันพรุ่งนี้ ลืมไปว่าเป็นวันหยุดสิ้นปี.. พอดีตื่นเต้นว่ามีโอกาสเปิดได้.. เป็นไปได้.. มีตัวอย่าง.. 5 ม.ค. 47 ตระหนักเอาช่วงปีใหม่นี้เองว่า ธุรกิจมือถือ 3 เจ้าเนี่ย มันยิ่งใหญ่สุดแล้วในเมืองไทย ถึงขนาดจัดงานเค้าท์ดาวน์แข่งกัน ออเร้นจ์ที่สีลม, ดีแทคพระรามแปด, เอไอเอสเวิร์ลเทรด ไม่เห็นธุรกิจอื่นจะจัดงานเทศกาลอะไรเลย นอกจาก 3 เจ้านี้ที่ผลัดกันเป็นสปอนเซอร์งานต่างๆ ตลอดปี (และชนกันในงานนี้ปลายปี) ..ทำไมเราจบมาด้านนี้แต่ไม่ทำงานบริษัทเหล่านี้! 9 ม.ค. 47 ความรู้สึกแรก หลังจากกล้ามาบ่นให้ฟังว่า คอดจะลาออกใน 1 เดือน และมาเปิดสอนด้วยกัน เพราะงานไม่มีไรทำ น่าเบื่อ นั่งนับลมหายใจ และหัวหน้าก็รู้ว่าไม่ค่อยมีอะไรทำ ก็เริ่มเพ่งเล็ง ... ก็คือ อืม คิดเหมือนกับเราเมื่อช่วงทำออฟฟิศ 5 วันแหละ เราไม่ใช่คนที่จะทำงานในสายนั้น เราจึงขอเปลี่ยนไง! กล้าจะมาทำ ชงจะมาทำ เราก็ยินดีอยู่แล้ว บอกแล้วว่าถ้าใครพร้อม เราก็จะทำด้วยก่อน ถ้าชงอยากรอพ่อโอเค เราก็อาจชิงเปิดไปก่อนนั้นก็ได้ หรือณพพัณณ์อาจเปิดร้านอาหารกับเราก่อน แต่คิดว่า สอนพิเศษดีกว่านะ - ถนัดกว่า มีประสบการณ์ บริหารง่าย - ใช้ทุนน้อยกว่า มีเพื่อนลงหุ้นมากคนกว่า - มีเวลาว่างไปทำอย่างอื่นต่อได้ มากกว่า 15 ม.ค. 47 ณพพัณณ์ลาออกเพราะจะเรียนต่อเมืองนอกกลางปีนี้ และไม่อยากเปิดกวดวิชา เพราะไม่รู้จะช่วยทำอะไร แต่คุยไปคุยมา เราสนใจห้องให้เช่าที่สถาบัน Kumon (สาขาจรัญสนิทวงศ์) ซึ่งเป็นที่สอนเลขสำหรับเด็กๆ ที่ณพพัณณ์รู้จักกับเจ้าของสาขานั้น (ผู้หญิง) 16 ม.ค. 47 เดินดูหนังสือเลข ม.ปลาย กับชง แล้วชงบอกอยากได้ตำราฝรั่งระดับ ม.ปลาย เหมือนกัน ถ้าหายาก ชงอาจจะหาโหลด E-Book เอาจากในเน็ต.. เราเลยกลับมาค้นๆ ในเน็ตบ้าง ไม่เจอลิงก์โหลดฟรีเลย แต่ได้ไอเดียใหม่ ว่าหนังสือเลข (ชีทรวมเล่ม) ที่เราทำนั้น ไม่จำเป็นต้องพิมพ์โรงพิมพ์ก็ได้นี่ ทำเป็น E-Book (PDF) แบบที่เป็นอยู่นี่ก็ขายในเว็บได้ ประหยัดต้นทุนกว่าด้วย.. ! 29 ม.ค. 47 จะหมดเดือนแล้ว สถานการณ์โรคไข้หวัดนกยังคงเป็นที่ตื่นกลัวของประชาชน ไม่มีใครกินไก่ สัตว์ปีก และโดยเฉพาะไข่ เพราะว่ากันว่าเชื้อโรคอยู่ที่เปลือกไข่.. ร้านข้าวมันไก่นี่ปิดกันเป็นแถว ที่ ร.ร.เตรียมฯ ถึงกับเปลี่ยนเป็นข้าวหมกหมู ข้าวมันหมู คนเราถึงคราวเคราะห์ก็ต้องปรับกลยุทธ์การขายกันต่อไป ไม่งั้นเจ๊งแน่ๆ.. เราก็ไม่ได้กินไก่และไข่มานาน ชักอยากกินขึ้นมาแล้วว่ะ กินในร้านเชสเตอร์กริลล์คงไม่อันตราย ก็ใช้ไก่ CP นี่เนาะ .. เออ แล้วแบบนี้ร้านขายไก่โดยเฉพาะ อย่าง KFC หรือเชสเตอร์กริลล์ คงซบเซาอ่ะเด่ะ เปลี่ยนเป็นหมูคงไม่ได้ 31 ม.ค. 47 บันทึกเล่มนี้กำลังจะหมดแล้ว ชักเกิดข้อสงสัยในใจว่า เราเขียนบันทึกส่วนตัวไปเพื่ออะไร เขียนแล้วไม่มีใครมีสิทธิ์ได้อ่านนอกจากตัวเราเอง แล้วถ้าเขียนไปเรื่อยๆ จนแก่เนี่ย ก็ใช่ว่าจะได้กลับมาอ่าน บางหน้าอาจไม่ได้ย้อนกลับมาอ่านเลยด้วยซ้ำ ตลอดชีวิต ถ้าตอนแก่เขียนไปจนถึงร้อยเล่มเงี้ย จะอ่านไงไหว.. พูดถึงเรื่องเก็บด้วยแหละ จะเก็บขึ้นชั้น เรียงเป็นตับ ก็ไร้ประโยชน์ เพราะคนอื่นห้ามอ่าน! ... นึกเลยไปถึงว่า ถ้าเราตายไปแล้ว บันทึกพวกนี้คงไม่มีค่ากับใครเท่าไร ขายใครก็คงไม่เอา (จะเอาไปทำไมให้รกบ้าน) ลูกเราจะทำยังไงกับบันทึกพวกนี้หว่า.. สงสัยเผาทิ้ง จบ.. บันทึกที่อุตส่าห์ใช้เวลาหลายเปอร์เซ็นต์ในชีวิตมานั่งเขียน ..หรือว่าเราจะทำให้ตัวเองมีชื่อเสียงดี บันทึกจะได้มีค่าไง อืม อันนี้ดูเป็นการกระทำที่ไม่ค่อยสมเหตุสมผล แต่ถ้าทำได้มันก็ดี! อย่างน้อยเขียนบันทึก ทำให้ (1) ไม่ปล่อยความทรงจำมีค่าบางอย่างให้ผ่านไปเปล่าๆ เดี๋ยวแก่ก็จะลืม.. ความรู้สึกที่เขียนภายในแต่ละวันได้อารมณ์กว่า (2) ฝึกตัวเองให้รู้จักคิด วิเคราะห์ กรอง เรียบเรียงเรื่อง และอารมณ์ความรู้สึก ออกมาเป็นตัวหนังสือต่อๆ กันอย่างไม่สับสน (3) ทำให้เป็นคนดีขึ้นเพราะไม่กล้าทำชั่ว ไม่อยากจดบันทึกว่าทำอะไรไม่ดีลงไปในวันที่ผ่านมา.. (4) ใช้เวลาที่เหลือเล็กๆ น้อยๆ ของแต่ละวัน ให้เป็นงานชิ้นนึงขึ้นมาได้.. ไม่ได้เปลืองเวลามากนะ us:=นวย.:am:. - 09/05/2005 11:47 ๏+๏-๏-๏-๏-๏- op:=ทำให้รายละเอียดของเรื่องหลายๆเรื่องยังถูกเก็บไว้ ทำให้ได้กลับมานั่งอ่านแล้วยิ้มๆในเวลาที่ไม่มีอะไรทำ หรือมีแต่ไม่ยอมไปทำ :) us:=Shau_Leuw_Hiang - 19/05/2005 20:51 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-