tp:=ความกดดันบนสาย 38 tg:= op:=เมื่อวันจันทร์ผมไปสมัครงานมาครับ ไปสมัครเป็นครูที่ ร.ร.แห่งหนึ่งบนถนนจรัญสนิทวงศ์ และก็กลับมานั่งรอรถเมล์ที่อนุสาวรีย์ชัยฯ แดดค่อนข้างร้อนเพราะเป็นตอนเที่ยงกว่าๆ สองจิตสองใจว่าจะไปสมัครต่ออีกซัก ร.ร. ที่สุขุมวิทดีไหม หรือว่ากลับบ้านเลยดี.. ตัดสินใจไม่ได้ ก็เลยกะว่าเดี๋ยวขึ้นรถเมล์ก่อนแล้วคิดไปเรื่อยๆ ก็ได้เพราะรถเมล์สาย 38 ผ่านบ้านด้วยและเลยไปสุขุมวิทได้ด้วย เพื่อนโทรมาคุยพอดี รถเมล์ก็มาพอดี ผมก็เลยคุยไปด้วยพลางเดินขึ้นรถเมล์ไปหาที่นั่ง มีที่นั่งเดี่ยวว่างตรงข้ามประตูพอดี คือเดินขึ้นรถไปแล้วเจอเลย.. ผมก็นั่ง แล้วคุยเรื่อยเปื่อยมองออกนอกหน้าต่าง สักพักวางสาย ผมก็หันเข้ามา.. อ้าวเฮ่ย ลืมจ่ายค่าโดยสารว่ะ เหรียญห้ายังอยู่ในมือเลย แล้วกระเป๋าไปไหนหนอ.. ยิ่งไปกว่านั้น ข้างหน้าผม มีคุณป้าคนหนึ่งยืนโหนอยู่ ผมจะทำยังไงดี จะลุกให้นั่งดีไหม จะดูเว่อร์ไปไหมเพราะป้าก็ใช่ว่าจะแก่มาก (ขอเรียกว่าป้าเกือบแก่ ก็แล้วกัน) ข้างหน้าผมมีผู้ชายนั่งอยู่คนนึง หุ่นและวัยใกล้เคียงพิศาล อัครเศรณี ราวๆ นั้น (ขอเรียกว่าหนุ่มรุ่นใหญ่ นะครับ) ป้าโหนอยู่ข้างๆ เขา เขาก็เลยไม่เห็น ส่วนข้างหลังผมเป็นผู้หญิงสาว ฉะนั้นก็มีผมคนเดียวเท่านั้นแหละ ที่อยู่ในตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบกับการยืนโหนของป้าคนนี้ และต้องแคร์สายตาคนอื่นที่อาจมองว่าไอ้นี่จิตใจโหดร้าย.. คิดไปคิดมา อ๊ะ นี่ตูคิดนานไปแล้วนะ จะลุกตอนนี้ก็คงจะแปลกๆ เหมือนกับว่าเพิ่งรู้ตัวว่าต้องลุกหรือไงฟระ ... ผมเลยตัดสินใจไม่ลุกให้ป้าเกือบแก่นั่ง.. เรื่องราวบานปลายเริ่มจากตรงนี้นั่นเอง! คนที่ยืนโหนข้างๆ ผม ผมก็ไม่เห็นหน้าว่าเป็นใครยังไง เหลือบมองเห็นว่าใส่เสื้อแจ๊คเกตยีนส์ แต่ได้ยินเขายกโทรศัพท์ขึ้นคุย ก็พอจับสำเนียงออกว่าเป็นคนใต้ อายุพอสมควร (ขอเรียกว่าหนุ่มใต้) สรุปตัวละครตอนนี้ มีผมนั่งหลัง หนุ่มรุ่นใหญ่นั่งหน้า หนุ่มใต้โหนข้างผม ป้าเกือบแก่โหนข้างหนุ่มรุ่นใหญ่ นึกภาพตามนะครับ.. หนุ่งใต้คุยโทรศัพท์สักพักก็วางสายไป แล้วก็โหนต่ออย่างสงบ วันนั้นรถติดมาก ระยะทางจากอนุสาวรีย์ไปบ้านผมมันแค่ 4 ป้ายเองนะ แต่นั่งเท่าไรก็ไม่ถึงซะที รถไม่ขยับเลย แดดที่ร้อนเปรี้ยงๆ ยิ่งทำให้ในรถอบอ้าวชวนวิงเวียนเข้าไปใหญ่.. ไม่นานนักตัวละครใหม่ก็โผล่เข้ามา เขาคือชายหนุ่มอุ้มเด็ก.. เอาแล้วครับ เขามาเพื่อให้สายตาสังคมทำงานเรียกร้องความรับผิดชอบจากใครอีกแล้ว.. ภาพที่เห็นคือ แต่เดิมหนุ่มอุ้มเด็กนั่งอยู่ตรงที่นั่งหันข้าง (ยาวๆ ติดกับประตูนั่นแหละครับ) คงมีคนลุกให้นั่ง แต่ว่าอากาศมันอบอ้าว เด็กก็เกิดร้อน ไม่สบายตัว.. ชายอุ้มเด็กจึงลุกขึ้นมายืนโหนใต้พัดลม เพื่อให้เด็กได้รับลมใกล้ๆ เด็กมันก็ค่อยหายร้อนหน่อย.. พัดลมที่ว่านี่อยู่ตรงตำแหน่งป้าเกือบแก่นั่นเอง ชายอุ้มเด็กก็มายืนโหนอยู่หน้าป้าเกือบแก่.. ด้วยความรับผิดชอบต่อสังคมของหนุ่มรุ่นใหญ่ (ที่นั่งอยู่หน้าผม และใต้พัดลม!) ก็อาสาลุกให้ชายอุ้มเด็กได้นั่ง ชายอุ้มเด็กดันปฏิเสธแข็งขัน ว่านั่งแล้วมันร้อน ยืนโหนให้เด็กโดนพัดลมดีกว่า.. หนุ่มรุ่นใหญ่ไม่รู้จะทำไงดี เขาก็เลยปล่อยให้ชายอุ้มเด็กจัดการเอาเอง ส่วนตัวเขาแอบหลบไปนั่งแทนที่ชายอุ้มเด็กตรงข้างประตู.. เรื่องยิ่งวุ่นไปใหญ่ เพราะว่าชายอุ้มเด็กก็ยืนยันจะไม่นั่งลูกเดียว จึงบอกให้ป้าเกือบแก่นั่งแทน (ด้วยการพูดสนับสนุนของหนุ่มใต้ที่ยืนโหนอยู่ข้างผม) ป้าเกือบแก่รับคำโดยไม่รีรอ.. แล้วตอนนี้สถานการณ์เปลี่ยนไปกลายเป็นว่า ผมนั่งอยู่ที่เดิม หนุ่มใต้ยังโหนอยู่ข้างผม ส่วนที่นั่งหน้าผมกลายเป็นป้าเกือบแก่ และที่โหนอยู่ข้างๆ เป็นชายอุ้มเด็ก.. เอาล่ะครับ กลัวไม่สนุก.. กระเป๋าหญิงล่ำโหดซึ่งไปหลบอยู่ที่ไหนไม่รู้ ก็เกิดโผล่เข้ามาพอดี! กระเป๋าเดินมานั่งหันหลังลงตรงกระโปรงหน้า และด้วยสถานการณ์ตรงนั้น บวกกับความนึกคิดอันเฉียบแหลมของคนเป็นกระเป๋า ซึ่งเห็นภาพชายอุ้มเด็กยืนโหนอยู่ข้างหน้าผม ผู้ชายคนเดียวในขณะนั้นที่ได้นั่ง.. กระเป๋าลงมือจ้องหน้าผมทันที! ก็จะให้ตูทำยังไงเล่า ก็ชายอุ้มเด็กเขาไม่อยากนั่งน่ะ.. มีคนลุกให้ใต้พัดลมแล้วเขายังไม่นั่งเลย ผมจะลุกทำเบื๊อกอะไร.. แต่ว่าผมทำอะไรออกไปไม่ได้ตอนนั้น จะแสร้งทำเป็นลุกให้ชายอุ้มเด็กนั่งก็ไม่ได้ เพราะในเมื่อผมก็เห็นเหตุการณ์มาตลอดว่าเขาไม่อยากนั่ง ทำไปก็เป็นการตอแหลเปล่าๆ.. ครั้นจะบอกกระเป๋าว่าเลิกจ้องหน้าตูได้แล้ว เพราะเรื่องเป็นอย่างนี้ๆๆๆ ก็คงจะเกินไปหน่อย .. สุดท้าย ปล่อยให้กระเป๋าจ้องและคิดในใจว่าไอ้ใจโหดต่อไป ผมก็ทำหน้าไม่รู้ไม่ชี้ต่อไป ผมคนบริสุทธิ์นี่หน่า.. ตาหนุ่มใต้ซึ่งยืนโหนอยู่ ก็เกิดอาการเป็นคนดีใจหายขึ้นมา จู่ๆ ก็บอกชายอุ้มเด็กว่าคุณไปขอน้ำจากพี่เขา (หมายถึงกระเป๋ารถ) ให้เด็กกินหน่อยสิไป อากาศมันร้อน.. ทุกคนแถวนั้นได้ยิน ชายอุ้มเด็กลังเลครู่หนึ่งแล้วทำตาม กระเป๋าหยิบกระติกน้ำให้เด็กดูด แล้วชายอุ้มเด็กก็กลับมายืนโหนต่อไปที่เดิม ผมก็ยังนั่งดูท่าทีคนต่างๆ อยู่ กระเป๋าก็ยังจ้องหน้าผมต่อ.. โคตรกดดันเลยสถานการณ์ตรงนั้น! ทำไมไม่มาพูดไปเลยว่า คุณ ลุกให้ชายอุ้มเด็กนั่งหน่อยสิ หรือเดินเข้ามาด่าเลยก็ได้ ผมจะได้มีโอกาสอธิบายเหตุผลแก้ตัวบ้าง ไม่ใช่มาจ้องกดดันกันอย่างนี้.. สังเกตดีๆ หนุ่มรุ่นใหญ่ที่ไปนั่งแทนที่ชายอุ้มเด็ก ตรงที่นั่งหันข้างๆ ติดประตูนั้น ก็โดนคนขับจ้องหน้าอยู่ตลอดเหมือนกัน รถมันติดไม่ขยับ คนขับก็จ้องสะท้อนกระจกไปยังหนุ่มรุ่นใหญ่ .. แปลได้ว่า คนขับก็คงเพิ่งเห็นภาพบาดตาบาดใจ คือชายอุ้มเด็กยีนโหน และหนุ่มใต้ไปนั่งแย่งที่เขา.. เฮ้อ.. พอกันเลยพนักงานคู่นี้.. ทำอย่างอื่นเป็นไหมนอกจากจ้องหน้าน่ะ กล้าๆ หน่อย เดินเข้ามาบอกให้มันเคลียร์ๆ ไป.. ไม่นานหนุ่มรุ่นใหญ่ก็ลงรถไป ไม่รู้ว่าเพราะถึงที่หมาย หรือว่าทนโดนคนขับจ้องไม่ได้.. ก็เหลือแต่ผมซึ่งตกเป็นผู้ต้องหาอยู่คนเดียว ข้อหาไม่ยอมลุกให้ชายอุ้มเด็กนั่ง หน้าผมก็ป้าเกือบแก่ (รอดจากความรับผิดชอบ) หลังผมก็สาวๆ (รอดเหมือนกัน) แต่ยังไงผมไม่กลัวนะ คนอื่นเขารู้หมดว่าเรื่องจริงเป็นยังไง อย่างน้อยก็หนุ่มใต้คนนึงล่ะ.. แต่นึกดีๆ หนุ่มใต้ คงจะไม่แก้ตัวให้ผมหรอก เพราะหนุ่มใต้เป็นคนเดียวที่เห็นความเลวของผมที่แท้จริง คือไม่ยอมลุกให้ป้าเกือบแก่นั่ง.. และนอกจากนั้น.. ผมยังไม่ได้จ่ายตังค์เลย! เหรียญห้ายังอยู่ในมือเลย ก็กระเป๋ามัวแต่นั่งจ้องหน้าตูอยู่ได้ ไม่เดินเข้ามาล่ะวะจะได้จ่ายๆ ซะที.. เอ๊ะหรือว่า ที่จ้องหน้าเพราะรู้ว่าผมยังไม่ได้จ่ายด้วย.. อาจจะนึกว่าผมแกล้งฟอร์มคุยโทรศัพท์จะได้ไม่ต้องจ่ายมั้ง.. เอ้า คิดมากเกินไปหรือเปล่า.. เย่.. ดีใจ เพราะรถถึงป้ายแล้ว ไม่ไปสุขุมวิทมันแล้วโว้ย ใครจะไปทนถูกกดดันด้วยพนักงานบนรถเมล์ได้เล่า.. พอถึงแถวบ้าน ผมก็รีบลุกเพื่อจะลงทันที และไม่หันกลับมามองบริเวณที่นั่งตรงนั้นเลย แต่ก็ไม่วายได้ยินเสียงกระเป๋าลุกเดินมาพูดกับหนุ่มใต้ว่า ขอให้เด็กนั่งเถอะ เด็กมันร้อน ตรงนี้มีพัดลมด้วย! อ้าวเวร! พูดงี้ให้ได้ยินนี่มันดูถูกกันมากไปแล้วนะโว่ย.. ที่สำคัญ ที่นั่งตูน่ะไม่โดนพัดลมเลยซักแอะ.. จะมากล่าวหากันยังงี้ได้ไง เดี๋ยวคนบนรถเมล์เข้าใจผมผิดกันหมด.. นี่ถ้าไม่ติดว่าต้องรีบลงที่ป้ายนะ อาจมีปากเสียงได้งานนี้! เหตุการณ์ทั้งหมดนี้สอนให้รู้ว่า 1. หากคุณเห็นว่าใครคนหนึ่งเลวร้าย ใจโหดนั้น เรื่องจริงอาจไม่เป็นอย่างที่คุณเห็นก็ได้ อย่าเพิ่งปักใจ 2. ไม่ควรคุยโทรศัพท์ขณะขึ้นรถเมล์ เพราะจะทำให้ลืมจ่ายค่าโดยสาร และไม่ทันลุกให้คนแก่นั่ง 3. การใช้เวลาตัดสินใจอะไรบางอย่างนานเกินไป ไม่ดี.. เพราะจะทำให้ปฏิบัติไม่ทันเวลา.. 4. พนักงานรถร่วมบริการบางคน ใช้วิธีกดดันผู้โดยสารแทนที่จะกล้าเข้ามาพูดตรงๆ 5. สังคมโหดร้ายกับผู้ชาย เพราะสังคมชอบกล่าวหาว่าผู้ชายโหดร้าย ทั้งที่จริงๆ อาจไม่ใช่อย่างนั้น 6. พล็อตเรื่องสั้นหรือหนัง มีอยู่รอบตัวทุกวัน แค่นั่งรถเมล์กลับบ้านแค่นี้ยังเอามาเล่าได้เป็นตุเป็นตะ us:=นวย.:am:. - 23/04/2004 10:30 ๏+๏-๏- op:=แล้วตกลงพี่นวยได้จ่ายตังค์เค้าป่าวเนี๊ยะ?? ฮ่ะๆๆ =) us:=_OaT_ - 27/04/2004 00:56 ๏+๏-๏- op:=555 เป็นบ่อยค่ะ บรรยากาศแบบว่าเค้ามายืนตั้งนานแล้วแล้วเพิ่งเห็นเนี่ย(น่ากลัวจริงๆเลย) จะไม่ลุกก็รู้สึกตัวเองเลวๆ จะลุกก็แบบ...นะ นั่งอยู่ได้ตั้งนาน ทำไมเพิ่งนึกได้....เฮ้อ us:=Shau_Leuw_Hiang - 27/04/2004 19:55 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-