tp:=2/7/46 .. แปลกใจในศิลปะกะเด็กวิทย์ tg:= op:=บังเอิญพลิกๆ ดูหนังสือคู่มือเที่ยวไทย Unseen in Thailand (พิมพ์สี่สีทั้งเล่ม) ที่จำหน่ายในราคาเพียง 25 บาท โดยการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยครับ (เล่มนี้รูปก็สวยใช้ได้ แม้จะพิมพ์รูปใหญ่ไม่ค่อยละเอียด) อ่านเจอเทศกาลโปโลช้าง เดือนกันยายน ที่ประจวบคีรีขันธ์ นอกจากช้างจะเล่นกีฬาให้ดูแล้ว ยังมีการแสดงวาดภาพสีโดยช้างด้วย ก็เลยนึกเรื่องหนึ่งขึ้นมาได้ วันนี้เขียนเรื่องนี้ละกันครับ.. เรื่อง..อะไรเป็นศิลปะ.. เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ผมได้โอกาสไปนั่งเรียนในคาบสุนทรียศาสตร์ ซึ่งเล่าเรื่องเกี่ยวกับการวิเคราะห์ความสวยงาม ตามหลักปรัชญา ไม่ได้สอนว่าอย่างไรสวยอย่างไรไม่สวย แต่สอนให้รู้ว่าบนโลกมีความเห็นฝ่ายใดบ้าง บอกให้เราลองฟังทุกความคิด คำถามแรกในวิชานี้ที่เปิดโอกาสให้ออกความเห็นกัน ก็คือคำถามยอดฮิต อะไรเป็นศิลปะ และอะไรไม่ใช่ศิลปะ เพื่อให้เห็นภาพมากขึ้น อาจารย์เอารูปถ่ายมาให้ดูหลายภาพ ทั้งงานที่วาดเลียนแบบธรรมชาติ ซึ่งถือว่าเป็นศิลปะแบบแรกของมนุษย์ ถัดมาเป็นงานที่เริ่มวาดบูดๆ เบี้ยวๆ กลายเป็นภาพเขียนนามธรรม (abstract) อย่างเช่นงานของแวน โกะห์.. นักเรียนทุกคนยังบอกว่า ใช่ นั่นยังเป็นศิลปะอยู่ ต่อมาเป็นรูปปั้นเลียนแบบธรรมชาติ เช่นรูปปั้นคนนั่งแบกโลก นี่ก็ศิลปะครับอาจารย์ ทุกคนยอมรับเป็นเสียงเดียวกัน แล้วรูปนี้ล่ะ.. รูปถัดมาเป็นรูปประติมากรรมโถฉี่ ที่อยู่ในพิพิธภัณฑ์แห่งหนึ่ง เอาโถฉี่ของผู้ชายที่แสนจะธรรมดามาวางบนพื้นราบ ให้มองเห็นในอีกมุมหนึ่ง แล้วก็ติดชื่อว่าเป็นงานศิลปะที่ทำโดยนายอะไรก็ว่าไป ทีนี้คนหลายคนบอกว่าเฮ้ย หมอนี่มั่วแล้ว สิ่งที่เขาทำไม่ใช่ศิลปะ ..แต่บางคนก็ยังบอกว่าเป็นศิลปะอยู่ อาจารย์บอกว่า งานประติมากรรมของตาคนนี้ยังมีแปลกๆ อีกเยอะ เช่นเอาคราด (ที่ใช้กวาดใบไม้ในสนามหญ้า) มาแขวนกะตะปูที่ข้างฝา แค่นี้ก็เอามาโชว์ลงชื่อว่าเป็นงานศิลปะแล้ว ไม่ได้มีการแต่งเติมใดๆ เลย แต่ตัวอาจารย์เองไม่ยอมบอกความเห็นส่วนตัว อาจารย์พยายามให้ทุกคนลงความเห็นเอง โดยไม่ชี้นำไปในทางใด ทีนี้รูปต่อมามี 3 ภาพ เป็นภาพที่ใช้สีสันสดใสหลายสีป้ายลงบนกระดาษ เป็นภาพที่ดูไม่รู้เรื่องแต่สีตัดกันสวยมาก และการจัดตำแหน่งก็สวยดี อาจารย์ถามว่า ภาพเหล่านี้เป็นศิลปะหรือไม่ นักเรียนว่ายังไงบ้าง นักเรียน 200 กว่าคนล้วนเห็นตรงกันว่า ทั้ง 3 ภาพเป็นศิลปะครับ/ค่ะ.. แล้วพออาจารย์เฉลยว่า ภาพแรกวาดโดยคนแหละค่ะ แต่ภาพที่สองวาดโดยช้าง และภาพที่สามวาดโดยลิงชิมแปนซี นะจ๊ะ ทีนี้ในห้องเริ่มมีเสียงพึมพำอย่างกว้างขวาง ความเห็นเริ่มแตกกัน อาจารย์สุ่มเรียกนักเรียนจากแต่ละคณะ ออกมาอธิบายความเห็นของตนเอง ..แปลกดีนะครับ ลองมาดูความเห็นคนต่างๆ กัน 1. ตัวแทนจากนิเทศศาสตร์ บอกว่าภาพที่วาดโดยสัตว์นั้นไม่ใช่ศิลปะ.. เพราะศิลปะต้องสร้างจากมนุษย์เท่านั้น อันนี้ผมว่าเป็นความคิดที่แคบไปหน่อย แปลกใจเป็นครั้งแรก ที่เด็กศิลป์มีทัศนคติแบบนั้น 2. ตัวแทนสายศิลป์อีกคนบอกว่าไม่ใช่ศิลปะเช่นกัน เหตุผลคือ ศิลปะเป็นสิ่งถ่ายทอดอารมณ์คนสร้างงาน สื่อกับผู้ชมได้ ช้างและลิงวาดภาพโดยไม่ได้เอาอารมณ์ใส่ลงไป และไม่คิดจะสื่ออะไรกับผู้ชม ฉะนั้นไม่น่าจะเป็นศิลปะ.. เอ้อ ความคิดคนนี้ค่อยน่าคิดหน่อย แต่ยังไม่ตรงความคิดผมนัก.. 3. ตัวแทนจากวิทยาศาสตร์ และวิศวกรรมศาสตร์ (แต่ไม่ใช่ผมนะ) คนหนึ่งบอกว่า เป็นศิลปะแน่ๆ เพราะตอนแรกที่เรายังไม่รู้ว่าใครวาด เรายังชื่นชมกับมันอยู่เลย ฉะนั้นทำไมมันจึงเป็นศิลปะไม่ได้ล่ะ.. ใช่ๆ คนนี้พูดดี มีเหตุผล.. แปลกใจอีกที ว่าขนาดวิเคราะห์เรื่องศิลปะ ยังต้องใช้เหตุผลเข้าช่วยเลย.. 4. รุ่นน้องวิศวะอีกคนหนึ่งสนับสนุนความคิดนี้ บอกว่าเป็นศิลปะหรือไม่นั้นไม่ได้อยู่ที่ใครสร้าง ..แต่อยู่ที่คนดูต่างหาก ถ้าดูแล้วรู้สึกชอบ รู้สึกถึงอารมณ์ที่อยู่ในนั้น ก็แปลว่านั่นคืองานศิลปะ แม้ว่าคนวาดจะไม่ได้สื่ออารมณ์เดียวกับที่เราได้รับก็ตาม หรือแม้ว่าช้างจะเป็นผู้วาด และอารมณ์ที่ได้นั้นเราเป็นคนรู้สึกขึ้นมาเองก็เถอะ (เช่นฟังเพลงแล้วเศร้าฟูมฟายจัด ทั้งที่คนแต่งและคนร้องไม่ได้รู้สึกอะไรเลย) .. แปลกใจที่สุดครับ ว่างานนี้เด็กสายวิทย์ทำไมทำได้ดีกว่าสายศิลป์ !! ก่อนทุกคนจะหายงง อาจารย์รีบโชว์รูปถัดไปทันที เป็นรูปถ่ายธรรมชาติป่าไม้ที่สวยมาก อีกรูปเป็นรอยเท้าสัตว์ที่เหยียบลึกเป็นหลุมในพื้นโคลน ลองนึกภาพตามว่ามีน้ำขังนิดๆ กำลังสวยนะครับ อาจารย์ถามต่อ ว่าภาพถ่ายสองภาพนี้ล่ะ น่าจะเป็นศิลปะหรือเปล่า .. ฝ่ายแรกยังบอกว่า ธรรมชาตินั้น ในตัวมันเองไม่ใช่ศิลปะ ป่าไม้ไม่ใช่ศิลปะ รอยเท้าไม่ใช่ศิลปะเพราะสัตว์เป็นคนสร้าง (อ้าวแล้วถ้าเป็นรอยเท้าคนล่ะครับถือว่าเป็นศิลปะมั้ย ? หรือว่าต้องตั้งใจเหยียบให้ได้อารมณ์ก่อน ถึงจะเป็นศิลปะ) บางคนก็บอกว่า รูปถ่ายนี้เป็นศิลปะ เพราะมนุษย์เป็นคนถ่าย เป็นคนเลือกมุมที่ต้องการ แล้วเก็บภาพมาสื่อกับผู้ชม.. (อันนี้เริ่มน่าฟังขึ้นมาหน่อย น่าคิดๆ) เด็กวิทย์ยังคงยืนยันว่า เป็นก็ได้ ไม่เป็นก็ได้ แล้วแต่คนดู ถ้าคนดูบอกว่าเป็น ก็เป็น แต่ถ้าคนดูบอกว่าไม่เห็นมันจะสื่ออารมณ์อะไรเลย อันนั้นก็ไม่เป็น.. เอ้อดีนะครับ ทำไมเด็กวิทย์มีความยืดหยุ่น และเปิดกว้างเรื่องศิลปะกว่าเด็กศิลป์ล่ะ วันนั้นผมนึกอย่างเป็นกลาง ว่าคำตอบของทุกคนไม่มีใครถูกหรือผิด และความคิดของเด็กวิทย์และศิลป์ส่วนมาก อาจไม่ตรงกับตัวแทนที่ออกมาพูด (เพียงแต่ผมเองมีความเชื่อเหมือนกับเด็กวิทย์สองคนหลังที่ว่ามา ก็เท่านั้นเอง ผมก็เลยรู้สึกว่าเด็กวิทย์นี่พูดดีเข้าท่าแฮะ..) ที่จริงน้องๆ วิศวะที่นั่งเรียนใกล้ๆ ผม ทุกคนก็คิดแบบเดียวกับผมนะ งั้นถ้าเราลองมองอีกอย่างนึง สมมติว่าเด็กศิลป์ทุกคนไปคิดแบบนั้นเข้าจริงๆ คือยึดว่าศิลปะต้องมีนิยาม ต้องสื่ออารมณ์ ต้องสร้างจากมนุษย์ หรืออะไรอีกก็แล้วแต่... แบบนั้นจะดีหรือครับ.. คิดแล้วก็อดหวั่นใจไม่ได้.. ... ไม่แน่ คิดแบบนั้นอาจจะถูกก็ได้มั้ง ?? เอ๊ะหรือมันมี pure art กับ commercial art อยู่ และผมยังไม่รู้.. ?? วิชาเกี่ยวกับปรัชญามันจะสนุกก็ตรงนี้ล่ะครับ ตรงที่ได้รู้ว่าคนอื่นมีความเห็นยังไงบ้าง และได้ลองตรวจสอบว่าความเห็นของเราเองจริงๆ เป็นยังไง ไม่ต้องสรุปว่าใครดีกว่าใคร แค่รับฟังไว้กว้างๆ ก็สนุกดี.. ป.ล. ตอนนี้ผมรู้แล้วล่ะครับว่าหลักวิชาการเขาจะวัดยังไง ว่าอันไหนเป็นศิลปะอันไหนไม่เป็นศิลปะ เนื่องจากศิลปะไม่มีนิยาม ดังนั้นเขาจึงวัดจากการเทียบครับ เอางานใหม่ไปเทียบกับงานเก่า ที่ได้ชื่อว่าเป็นศิลปะแล้ว ถ้างานทั้งสองมีความคล้ายคลึงกันมากถึงระดับหนึ่ง ก็ให้นับว่างานใหม่นั้นเป็นศิลปะด้วย โดยที่ให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้ (เช่นสมาคมศิลปะต่างๆ) เป็นคนตัดสินใจ อ้าว.. ตัดจบแบบง่ายๆ อย่างงี้เลยเหรอ.. อุตส่าห์เถียงกันตั้งนาน :] us:=นวย.:am:. - 02/07/2003 22:55 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏- op:=งั้นใครนิยามงานแรกว่าเป็นศิลปะคะ ??? 555 ฟังดูบ้านิยามบ้าหลักการสมเป็นเด็กวิทย์ดีมั้ย :P us:=Shau_Leuw_Hiang - 04/07/2003 11:54 ๏+๏-๏- op:=งานศิลป์..มองด้วยใจคับ คนไม่มีหัวใจ..โลกนี้ทั้งใบ ยังไงก็ไม่มีศิลป์เจ้าค่ะ us:=* ยุ่ ง เ ห ยิ ง - 04/07/2003 12:32 ๏+๏-๏-๏-๏-๏- op:=ศิลปินอย่าดูถูกศิลปะ กองขยะดูให้ดีก็มีศิลป์..... us:={a href=mailto:nanae@chula.com}nanae{/a} - 07/07/2003 02:44 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏- op:=นี่รูปที่ช้างวาดครับ {center}{img src=data/pic/elpdraw.jpg}{/center} Mamie, an African elephant Knoxville Zoological Garden, USA 2002 และนี่รูปภาพที่มีชื่อเสียงของแวนโก๊ะห์ ซึ่งอาจารย์เอามาพูดถึงครับ ชื่อภาพ La chambre de Van Gogh a Arles (Van Gogh's Room in Arles) {center}{img src=data/pic/goghdraw.jpg}{/center} Vincent Van Gogh Van Gogh Museum, Amsterdam. Oct. 1888 72.0 X 90.0 cm, Oil on Canvas ขออภัยที่ผมให้ข้อมูลผิดด้วย คือแวนโก๊ะห์ไม่ใช่ศิลปินแนวภาพนามธรรม แต่เป็นแนวภาพเหมือนจริงครับ us:=นวย.:am:. - 23/07/2003 14:06 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-