tp:=19/1/46 .. ๑๐ สินค้าน่าจับตา .. ตอนหนึ่ง tg:= op:={small}{small}ผมเพิ่งเห็นคอลัมน์นี้จากหนังสือพิมพ์ คมชัดลึก ฉบับวันที่ 2 มกรา จับตา 10 สินค้าดาวเด่น ปี 46 .. งัดกลเม็ดพิชิตใจผู้บริโภค อ่านแล้วเห็นจริงเห็นจังตามไปกับคนเขียนด้วย แล้วก็อ่านสนุกดี ก็เลยอยากเอามาให้ได้อ่านกันเล่นๆ ครับ นานๆ อ่านข่าวเศรษฐกิจทีก็ดีแฮะ{/small}{/small} {b}ในปี 2545 ที่ผ่านมา{/b} การแข่งขันกันทำตลาดของหลายบริษัทต่างงัดกลยุทธ์การตลาดเข้ามาแข่งขันเพื่อแย่งชิงกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีอยู่อย่างจำกัด ความสำเร็จในการทำตลาด ส่วนหนึ่งวัดได้จากยอดขายและส่วนแบ่งการตลาดที่ได้ตั้งเป้าเติบโตไว้ตอนต้นปี ที่บางบริษัทไม่ประสบความสำเร็จในการกระตุ้นยอดขาย ขณะที่บางบริษัทกลับมียอดขายทะลุเป้า ประเมินกันว่า การแข่งขันในปี 2546 เรื่องของเงินทุน งบการตลาด ยังเป็นเครื่องมือสำคัญในการทำตลาด ทีมข่าวเศรษฐกิจ "คม ชัด ลึก" จะโฟกัสภาพการแข่งขัน 10 สินค้าเด่นที่มีความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองในปีมะแม {b} 1. เครื่องดื่มให้พลังงานแข่งข้ามปี{/b} ตลาดเครื่องดื่มให้พลังงานยังคงความร้อนแรงตั้งแต่ช่วงปลายปีที่ผ่านมา ตั้งแต่การเปิดตัวของ {b}คาราบาวแดง{/b} ที่ใช้งบโฆษณากว่า 100 ล้านบาท สร้างการรับรู้ให้แก่ผู้บริโภคได้รู้จักผลิตภัณฑ์ภายในระยะเวลา 2 เดือน {b}ทำให้ตลาดเครื่องดื่มให้พลังงานที่คาดว่าในปีหน้าจะมีมูลค่า 14,000 ล้านบาท ร้อนฉ่าขึ้นทันที{/b} ด้าน บริษัทโอสถสภา ที่มีเครื่องดื่มให้พลังงาน {b}เอ็ม-150{/b} ครองส่วนแบ่งตลาดมากที่สุดถึง 42% ได้เตรียมตัวรับมือไว้แล้ว โดยได้ปรับเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ ในทรงขวดแก้วและปรับฉลากของเอ็ม-150 ให้มีความทันสมัยมากขึ้น เพื่อรองรับการแข่งขันในปีหน้า ขณะที่คู่แข่งอย่างบริษัท {b}กระทิงแดง{/b} ก็ได้เตรียมกระทิงแดง เรด-บลูเอ็กตร้า พร้อมทุ่มงบโฆษณาก้อนโต และจัดกิจกรรมเข้าถึงกลุ่มผู้บริโภคเพื่อรักษาส่วนแบ่งการตลาดไว้เช่นกัน {b}และปีนี้จะมีน้องใหม่ในตลาดเครื่องดื่มให้พลังงาน แต่เป็นยักษ์ใหญ่ในตลาดน้ำดำที่จะขยายไลน์สินค้าลงมาเล่นในตลาดนี้ เรียกว่า ใครไม่แน่จริง ไม่สามารถอยู่ในตลาดเครื่องดื่มให้พลังงานได้แน่{/b} และสิ่งที่ตามมาสำหรับการแข่งขันที่รุนแรงข้ามปี ก็คือ การที่แต่ละค่ายเข็นแคมเปญโฆษณาเพื่อสร้างและดึงดูดกลุ่มเป้าหมาย จนร้อนถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาหรือ อย. ต้องออกมาปรามๆ ไว้บ้าง {b}อย.ตัดสินใจประกาศคุมเข้มภาพยนตร์โฆษณาของเครื่องดื่มให้พลังงาน เพื่อป้องกันการมอมเมาเยาวชน โดยการห้ามนำศิลปินนักร้อง ดารา และนักกีฬา มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ และในเนื้อหาโฆษณาทุกสื่อ ต้องบอกคำเตือนให้แก่ผู้บริโภคได้รู้ทราบทุกครั้งอย่างชัดเจน ทำให้คาดว่า ในปีหน้า การดำเนินกลยุทธ์มิวสิคมาร์เก็ตติ้ง ที่โด่งดังจากกลยุทธ์ของคาราบาวแดงจะถูกนำมาใช้ต่อไปหรือไม่{/b} {b}2. ปีทองเหล้าสาโท กระแช่ กรูปี{/b} ภายหลังจากการเปิดเสรีสุราของภาครัฐ ที่ให้อิสระชาวบ้านผลิตสุราแช่พื้นเมืองขึ้นเองได้ โดยไม่ผิดกฎหมาย ทำให้มีผู้ผลิตสุราแช่ ทั้งเหล้าสาโทและไวน์ผลไม้ กระแช่ กรูปี ออกมาจำหน่ายเป็นจำนวนมาก บางรายหันมาทำตราสินค้า เพื่อวางจำหน่ายได้ทั่วประเทศ เช่น สาโทอีสานสูตรโบราณ สาโทเรือนรัก กระแสความนิยมของผู้บริโภคก็ตอบรับต่อสุราพื้นบ้านดีมาก เนื่องจากราคาไม่แพงมากนักเมื่อเปรียบเทียบกับเบียร์ขาวที่วางจำหน่าย {b}แต่ปัญหาที่พบช่วงแรกในกลุ่มผู้ผลิต ก็คือ การขาดแคลนขวดที่จะนำมาใช้ เพราะโดนโก่งราคาขวดเปล่า ประกอบกับเงินทุนมีไม่มากนัก หนำซ้ำช่องทางการจัดจำหน่ายยังไม่ครอบคลุม ทำให้ระยะแรกธุรกิจสุราพื้นบ้านประสบปัญหาเป็นอย่างมาก{/b} จนกระทั่งบริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ ได้อาสาเข้ามาช่วยเหลือในด้านของการผลิตขวดและจัดจำหน่ายให้กับสาโทของสมาคมผู้ผลิตเหล้าสุราพื้นเมืองแห่งประเทศไทย เท่ากับเป็นการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายย่อยที่ทำประกอบอาชีพนี้ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังได้รับการช่วยเหลือจากทางภาครัฐ โดยได้คัดเลือกสุราแช่ที่ได้มาตรฐานเพื่อช่วยทำตลาด ยกระดับมาตรฐานสินค้าและประชาสัมพันธ์ให้เป็นที่รู้จักแก่คนทั่วโลก จึงเป็นสินค้าระดับภูมิปัญญาชาวบ้านที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง {b}3. โทรศัพท์มือถือเลิกตัดราคา{/b} ในปีที่ผ่านมา เป็นปีทองของผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือ เพราะตัวเลขการขยายตัวของลูกค้าที่เข้าสู่ระบบของผู้ให้บริการหลักทั้ง 3 ราย ได้แก่ เอไอเอส ดีแทค และน้องใหม่ ออเร้นจ์ มีจำนวนกว่า 10 ล้านเลขหมาย ซึ่งมาจากการปลดล็อกอีมี่และการมีผู้ให้บริการรายใหม่เข้าสู่ตลาดผู้ให้บริการมือถือ ไม่ว่าจะเป็นแบรนด์ออเร้นจ์ของค่ายทีเอ หรือแบรนด์ 1900 ของ ทศท คอร์ปอเรชั่น และฮัทช์ในระบบ CDMA 2000 1X และที่สำคัญ ผู้ให้บริการทั้ง 3 ราย ต่างงัดกลยุทธ์สงครามราคามาใช้ อัดโปรโมชั่นโทรฟรี ซื้อเครื่องเปล่าในราคาถูก เรียกลูกค้าเข้าระบบ {b}ทำให้ตัวเลขของลูกค้าที่ใช้บริการโทรศัพท์มือถือเพิ่มสูงขึ้น แต่รายได้ต่อหมายเลขต่อเดือนกลับลดลง{/b} ด้วยเหตุที่ลูกค้าหนีไปใช้บริการในเครือข่ายอื่น โดยไม่ยอมชำระค่าบริการ ก่อให้เกิดปัญหาหนี้เสียตามมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งล้วนแต่ส่งผลเสียต่อภาพรวมของบริษัทผู้ให้บริการโทรศัพท์มือถือทั้งสิ้น {b}ค่ายเอไอเอส ที่มีส่วนแบ่งการตลาดมากที่สุดในตลาดมือถือ ที่มีผู้ใช้บริการกว่า 11 ล้านเลขหมาย ได้ออกมาส่งสัญญาณการทำตลาดในปีนี้ว่า จะไม่เน้นการทำสงครามราคาอีกต่อไป{/b} สอดคล้องกับผู้ให้บริการมือถืออีก 2 ราย ได้แก่ ดีแทคและออเร้นจ์ ที่ผู้บริหารทั้ง 2 ฝ่าย ได้ออกมาบอกว่า กลยุทธ์การทำตลาดในปีนี้ จะไม่แข่งในเรื่องของโปรโมชั่นเพื่อดึงลูกค้าเช่นเดียวกัน {b}ภาพการแข่งขันของโทรศัพท์มือถือในปี 2546 จึงเปลี่ยนจากการเล่นราคามาเป็นการรักษาฐานลูกค้า โดยอาจมีโปรโมชั่นเพื่อชักจูงใจให้ใช้บริการในเครือข่ายเดิมต่อไป รวมถึงการหาบริการเสริมเพื่อตอบสนองการใช้งานของกลุ่มผู้ใช้งานแต่ละกลุ่ม{/b} และสำหรับกลุ่มลูกค้าใหม่ในปีนี้นั้น คาดว่าจะมีลูกค้าใหม่ที่เข้ามาใช้บริการอีกประมาณ 10 ล้านราย ซึ่งจะทำให้สัดส่วนผู้ใช้บริการโทรศัพท์มือถืออยู่ที่ 33-38% จากจำนวนประชากรของประเทศที่มีอยู่ 62 ล้านคน ซึ่งการทำตลาดของลูกค้าของลูกค้าในกลุ่มนี้ จะมีทางเลือกให้กับผู้บริโภคให้เลือกมากขึ้น ตามการใช้งานของลูกค้า เช่น การส่งเอสเอ็มเอสหรือเอ็มเอ็มเอส เป็นต้น {b}4. ธุรกิจโรงภาพยนตร์ขยายต่อเนื่อง{/b} การแข่งขันในธุรกิจโรงภาพยนตร์ในปีที่ผ่านมา ต่อเนื่องจนถึงปี 2546 ยังคงแข่งขันกันอย่างดุเดือด โดยปีนี้จะเป็นปีทองของธุรกิจโรงภาพยนตร์ เพราะมีภาพยนตร์ที่จะเข้าฉายในปีนี้กว่า 250 เรื่อง แบ่งเป็นภาพยนตร์ฮอลลีวู้ดที่เพิ่มขึ้น 10% ภาพยนตร์ไทยที่จะเข้าฉายเพิ่มขึ้นอีก 15% ไม่นับรวมภาพยนตร์จากเกาหลี ญี่ปุ่น และอินเดีย ที่กำลังได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น {b}ค่ายเมเจอร์{/b} ผู้นำตลาดโรงฉายภาพยนตร์ยังคงเดินหน้าขยายสาขาต่อเนื่อง ล่าสุด ได้เปิดสาขาที่ 12 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพระราม 2 สำหรับแผนงานปีนี้ เมเจอร์จะขยายเพิ่มอีก 2 สาขา โดยในปี 2548 จะเปิดโรงภาพยนตร์ที่ศูนย์การค้าสยามพารากอน จำนวน 15 โรง และโรงภาพยนตร์ไอแมกซ์อีก 1 โรง ขณะที่ {b}เอสเอฟ{/b} จะใช้แผนขยายสาขาเจาะทำเลกลางกรุง โดยในปีนี้จะขยายสาขาอย่างน้อย 4 แห่ง ใช้เงินประมาณ 2 พันล้านบาท ที่น่าสนใจคงไม่พ้นการผุดโรงภาพยนตร์ที่ห้างหรูเอ็มโพเรี่ยมจำนวน 5 โรงหรือกว่า 1,200 ที่นั่ง ส่วนอีก 3 แห่งกำลังอยู่ระหว่างการเลือกพื้นที่ ด้าน {b}ค่ายอีจีวี{/b} ในปี 2545 ได้ปรับโครงสร้างบริษัท โดยเข้าซื้อหุ้นจากบริษัท วิลเลจ โรดโชว์ นักลงทุนจากออสเตรเลีย ในสัดส่วน 50% ของทุนจดทะเบียน เพื่อให้เกิดความคล่องตัวในการบริหารงาน และกำหนดทิศทางดำเนินงานให้เป็นไปในทางเดียวกันได้ ส่วนปี 2546 อีจีวีจะเดินหน้านำบริษัทเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เพื่อระดมทุน นำเงินมาขยายสาขาเพิ่ม จากปัจจุบันที่มีอยู่ 10 สาขา รวม 84 โรงหรือกว่า 21,000 ที่นั่ง ภาพการแข่งขันในธุรกิจโรงภาพยนตร์ในปีแพะนี้ จึงเป็นอีกปีที่การขยายสาขาและการออกบัตรลดราคาตั๋วภาพยนตร์ หรือการร่วมจัดโปรโมชั่นกับสินค้าต่างๆ เพื่อกระตุ้นให้ลูกค้าเข้าใช้บริการให้มากขึ้น {b}5. ช่อง 9 ระเบิดสงครามทีวี{/b} การประกาศตัวเป็นสถานีข่าวโมเดิร์นไนน์ทีวีของช่อง 9 ของมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ ผู้อำนวยการองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) คนใหม่ ที่รวมทีมข่าวฝ่ายหนังสือข่าวและข่าววิทยุ กับทีมข่าวฝ่ายข่าวโทรทัศน์เป็นหนึ่งเดียวกัน คือ เป็นทีมข่าวสำนักข่าวไทย และเพิ่มทีมข่าวอีกประมาณ 50 คน ทั้งผู้สื่อข่าวและช่างภาพ ถือเป็นการประกาศสงครามข่าวของสถานีโทรทัศน์ช่อง 9 การเปลี่ยนเป็นสถานีข่าวครั้งนี้ ทำให้ไอทีวี ที่เป็นเบอร์ 1 ของสถานีข่าว ได้ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์โดยทุ่ม 100 ล้านบาท ลงทุนเทคโนโลยีและบุคลากร พร้อมเพิ่มซูเปอร์ เบรกกิ้ง นิวส์ รายงานด่วนใน 5 นาที นอกจากนี้ ยังเตรียมซื้อเฮลิคอปเตอร์เพื่อมารายงานข่าวสารให้ทันเหตุการณ์มากขึ้น ส่วนช่อง 3-5-7 เน้นความบันเทิงมากกว่ารายการข่าว ภาพการแข่งขันของสถานีข่าวจึงถูกโฟกัสไปที่ช่อง 9 และไอทีวี ที่ดูจะเป็นคู่แข่งที่สมน้ำสมเนื้อกัน {small}{small}ต่อพรุ่งนี้ครับ{/small}{/small} us:=นวย.:am:. - 22/01/2003 15:39 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-