tp:=16/1/45 .. รัก(ทะ)ลวงตา tg:= op:=รัก(ทะ)ลวงตา เป็นชื่อละครเวทีที่ผมเพิ่งไปดูมา จัดแสดงโดยภาควิชาศิลปการละคร คณะอักษร จุฬาฯ ลองอ่านเรื่องย่อดูนะครับ {small}{small}ต่อพงศ์กับปรียสุดา นักแสดงหนุ่มหล่อสาวสวย คู่ขวัญในละครและคู่แต่งงานในชีวิตจริง กำลังซ้อมละครเรื่องใหม่ซึ่งกำกับการแสดงโดยศุภสวัสดิ์ ผู้กำกับฯไทยมาดเท่ที่ไปโด่งดังในสิงคโปร์ เขามีลีลาการกำกับฯที่ไม่เหมือนใคร และมักจะตกเป็นข่าวชู้สาวกับนางเอกละครของเขามาทุกเรื่อง ทุกวันซ้อมก่อนพักเที่ยงศุภสวัสดิ์จะให้ต่อพงศ์ออกไปพักก่อน แล้วซ้อมบทเดี่ยวกับปรียสุดา โดยไม่ให้ต่อพงศ์อยู่ในห้องซ้อมด้วย ต่อพงศ์ระแวงมากขึ้นทุกทีว่าชีวิตจริงของเขาจะไปตรงกับละครที่เขาซ้อมอยู่ ซึ่งผู้กำกับฯเป็นชู้กับนักแสดง ต่อพงศ์เครียดมากจนต้องนำเรื่องนี้ไปปรึกษาหมอตรงจิต จิตแพทย์ชื่อดังผู้เชี่ยวชาญปัญหาชีวิตแต่งงานและมีประสบการณ์แสดงละครมาบ้าง ด้วยความเป็นนักแสดงของต่อพงศ์ จินตนาการของเขาก็บรรเจิดเพริศแพร้ว จนหมอตรงจิตต้องขอให้เขาเล่า "เรื่องที่เกิดขึ้นจริงๆ" ไม่ใช่ "เรื่องที่อยากให้เกิด" แต่เมื่อต่อพงศ์คิดได้ว่าเรื่องทั้งหมดเขาอาจจะเป็นคนคิดมากไปเอง หมอตรงจิตกลับเตือนว่าเรื่องที่เขาระแวงอาจเป็นความจริงก็ได้ ขณะเดียวกันนั้น มามี่นางเอกเก่าและภรรยาของศุภสวัสดิ์ ก็ปลอมตัวเป็นนักสืบมาตามดูพฤติกรรมโฉดของสามี {center}{img src=data/pic/private.jpg}{/center} เมื่อเส้นแบ่งระหว่างความจริงกับจินตนาการเป็นเส้นบางเฉียบ เราเห็นเพียงบางส่วนของบางสิ่ง มิหนำซ้ำสิ่งที่เราเห็นก็มักไม่ใช่สิ่งที่เป็นจริงๆเสียอีก เมื่อละครไม่ได้เขียนจากเรื่องจริงในชีวิต แต่ชีวิตดำเนินไปตามบทละคร เรื่องราวของต่อพงศ์จะลงเอยอย่างไร แล้วใครจะเป็นผู้เขียนตอนจบของเรื่องนี้..{/small}{/small} ละครเรื่องนี้แปลจากละครเวทีเรื่อง Private Eyes ของ Steven Dietz ซึ่งเป็นละครที่ได้รับการจัดแสดงมากที่สุด 1 ใน 10 อันดับแรก ในอเมริกา รัก(ทะ)ลวงตา เขียนบทและกำกับโดยอาจารย์ภาควิชาศิลปการละคร แสดงโดยนิสิตปี 3 ภาควิชาศิลปการละคร และที่ผมชอบการแสดงของเขาที่สุดคือผู้กำกับศุภสวัสดิ์ เขาเป็นอาจารย์คณะสัตวแพทย์ครับ ผมตัดสินใจดูละครเรื่องนี้ก็เพราะได้อ่านเรื่องย่อนี่แหละครับ นานๆ จะมีะครที่เนื้อเรื่องซับซ้อนแบบที่ผมชอบสักเรื่อง ต้องดูให้ได้.. ละครเรื่องนี้แค่เปิดเรื่องมาไม่กี่นาทีแรกก็ทำให้คนดูงงแล้วว่า ไอ้ที่นั่งๆ ดูอยู่ สุดท้ายกลายเป็นการซ้อมละคร (ในเรื่อง) คืออยู่ดีๆ ผู้กำกับก็ออกมาสั่งคัต ละครเรื่องนี้มีช่วงหักมุมให้คนดูอึ้ง และหัวเราะตัวเองว่าโดนหลอกอีกแล้ว หลายต่อหลายครั้ง อะไรเป็นเรื่องจริง อะไรเป็นแค่บทละครที่ซ้อมอยู่ อะไรเป็นเรื่องจริง อะไรเป็นแค่เรื่องที่ต่อพงศ์เล่าให้หมอฟัง อะไรเป็นเรื่องจริงบ้างที่เราได้ดู จนบัดนี้ผมยัง งงๆ ในสูจิบัตรเขียนไว้ว่า {small}{small}Private Eyes เป็นละครแห่งกลลวง เพราะเราไม่สามารถแน่ใจได้เลยว่า อะไรเกิดขึ้นจริง และอะไรเกิดขึ้นในละคร เรื่องราวที่เกี่ยวกัรักสี่เส้า ชีวิตแต่งงาน การคบชู้ การหลอกชู้รัก การตามล่าตามล้างชู้รักของนักแสดงกับผู้กำกับการแสดง และของตัวละคร (ในบทซ้อม) พัวพันและแทรกซ้อนกันอยู่ในบทละครประเภท ละครซ้อนละคร ซ้อนละคร ซ้อนละคร Dietz ใช้ภาพมายาของการละครเป็นสัญลักษณ์แทนเส้นแบ่งอันบอบบาง ระหว่างความจริงและมายาที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อหลอกคนอื่น แล้วย้อนมาหลอกตัวเอง ผู้ชมจึงเป็นเหมือนนักสืบ เล่นกับความสับสนในการจับตาดูว่าใครหลอกใคร ทั้งในโลกแห่งการละคร โลกแห่งความรัก และโลกแห่งความหลอกลวง ที่เกิดขึ้นในชีวิตของนักแสดง หรือในชีวิตของตัวละคร..{/small}{/small} ผมยอมรับเลยว่านั่งดูแล้วโดนหลอกหลายรอบมากๆ ดูๆ ไป อ้าวนี่เป็นเรื่องในบทเหรอเนี่ย ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นจริง ดูๆ ไป อ้าวนี่เป็นเรื่องเล่าจากจินตนาการ ไม่ใช่เรื่องที่เกิดขึ้นจริง อยากให้ทุกคนลองไปดู พอจบแล้วจะรู้ว่าเรื่องที่เกิดขึ้นจริงมันแค่ไหน สนุกดีครับ ละครเวทีต่างจากละครทีวี และหนังโรง ตรงที่ว่ามันเล่นสดๆ คนดูอยู่ใกล้ๆ มันสามารถหลอกลวงคนดูได้ ขณะที่หนังและละครทีวีทำไม่ได้ ละครเวทีส่วนมากกลับไม่เห็นจุดนี้ แต่ก็แสดงเรื่องราวไปเรื่อยเปื่อย เล่นสดต่อหน้าคนดูแต่ไม่เล่นกับคนดูสักแอะ แบบนั้นถ่ายวีดิโอเอาไว้ให้ดูก็ได้ ผมชอบคนเขียนบทเรื่องนี้ เพราะเขาหยิบการหลอกคนดูมาใช้เป็นจุดขายได้ดี หลอกคนดูตลอดทั้งเรื่อง ทำให้คนดูสนุกกับการจับตา ว่าตอนไหนจริงตอนไหนลวง แน่นอนครับ ดูแล้วได้แง่คิดด้วยว่า ชีวิตของเรามันก็มีทั้งจริงทั้งลวง ดูๆ ไป ละครพยายามแทรกให้คิด ว่าความรักในชีวิตเรา ตอนไหนจริง ตอนไหนลวง ? ที่น่าสนใจไปกว่านั้น ต่อ-ต่อพงศ์ แอม-ปรียสุดา พี่หวัด-ศุภสวัสดิ์ และคนอื่นๆ ชื่อที่ใช้กันในละครล้วนเป็นชื่อจริงครับ ผมย้อนคิดถึงลีลาการแสดงของทุกคนแล้ว ผมนึกเลยไปว่า แล้วถ้าทั้งหมดนี้มัน.. อาจจะ.. มีอะไรนอกเหนือไปจากละคร มันเป็นไปได้ไหม ? เอ้า ยุ่งล่ะซี่.. {small}{small}โครงเรื่อง 5 (อย่างที่บอก ว่าเสนอเรื่องการหลอกลวง ด้วยการหลอกคนดู ถือว่าเด็ดขาดมาก) บทละครภาษาไทย 3.5 (บทพูดบางตอนเชือดเฉือนด้วยภาษาที่แปลยาก ทำให้คนดูคิดตามไม่ทัน) การแสดง 3 (ชอบการแสดงของพี่หวัดคนเดียว พระเอกกับนางเอกยังพูดจาไม่ธรรมชาติ) เวที ฉาก และอุปกรณ์ 4 (ใช้โต๊ะเพียง 3 ตัว ประตู 1 อัน ไม่มีการเปลี่ยนฉาก ใช้ของที่มีอยู่ได้คุ้มค่า) สถานที่ 3 (เวทีอยู่กลางห้อง ถือว่าแปลกดี แต่ห้องนั้นแอร์หนาวมาก) แสง เสียง 4 (แสงเข้ากันได้กับการจัดฉากที่ใช้ของน้อย ใช้ไฟจับตามมุมต่างๆ เพื่อดึงสายตาคนดู){/small}{/small} us:=นวย.:am:. - 17/01/2003 10:35 ๏+๏-๏- op:=PRIVATE EYES is a comedy of suspicion in which nothing is ever quite what it seems. Matthew's wife, Lisa, is having an affair with Adrian, a British theatre director. Or perhaps the affair is part of the play being rehearsed. Or perhaps Matthew has imagined all of it simply to have something to report to Frank, his therapist. And, finally, there is Cory--the mysterious woman who seems to shadow the others--who brings the story to its surprising conclusion. Or does she? The audience itself plays the role of detective in this hilarious "relationship thriller" about love, lust and the power of deception. ข้อมูลจากเจ้าของลิขสิทธิ์ http://www.dramatists.com ละครเวทีเรื่องนี้ยังเล่นถึงวันอาทิตย์ครับ us:=นวย.:am:. - 17/01/2003 13:10 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏- op:=เฮ้ยๆๆๆ.. พิมพ์ปี พ.ศ. ผิดแฮะ us:=นวย.:am:. - 04/02/2003 22:22 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-