tp:=14/12/45 .. แล้วเราเองตอบได้ไหม tg:= op:=ช่วงที่ทำงานนิทรรศการวิชาการวิศวกรรม หรือจุฬาฯวิชาการอยู่นั้น ผมบังเอิญเห็นภาพน่าสยองอย่างใกล้ชิด 2 ครั้ง ผมเจอคนมือขาด.. รอบแรกเป็นคนขายอุปกรณ์พวกท่อน้ำ น็อตตะปู ที่สามย่าน เขาข้อมือขาด แต่เอามือที่เสียแล้วน่ะมาผูกติดไว้ที่เดิม เขาทำงานเหมือนคนปกติทุกอย่าง หยิบจับของ เอาของห่อกระดาษ และรัดหนังยาง มองเผินๆ ก็แค่เห็นว่ามือทำไมซีดๆ แต่ถ้าดูดีๆ.. มือนั้นขยับไม่ได้.. เพื่อนผมไปซื้อของโดยผมไปยืนรอ เห็นแล้วทุลักทุเล น่ากลัวพิลึก รอบสองเกิดในงานจุฬาฯ วิชาการ ที่คณะผม ที่บูธผมเองเลย ระหว่างยืนอธิบายอยู่นั้น มีชายผิวคล้ำๆ ใบหน้าปรุๆ มายืนฟัง หลังแว่นตานั้นมีผ้าปิดตาข้างหนึ่งด้วย... เขาให้ความสนใจงานที่แสดงในบูธของผมมาก แม้คนจะไปกันหมดแล้ว เขาก็ยังยืนอยู่ตรงหน้าบูธ เวลาซักถามผม เขาเอาหน้าเข้ามาใกล้ๆ สายตาของผมกับใบหน้าของเขาห่างกันไม่กี่ ซ.ม. ..แทบจะปรับโฟกัสไม่ได้ แต่ผมเป็นอะไรไม่รู้ เวลาคุยกับใครต้องมองตาโดยอัตโนมัติ ทำให้ผมไม่สามารถหลบไปมองที่อื่นได้ทัน.. หน้ามันๆ คล้ำๆ มีรูทั่วใบหน้า และรอยไหม้ดำเป็นจุดๆ อยู่ทั่วไป แค่นี้น่ากลัวแล้ว แต่พอเขายกไม้ยกมือประกอบการพูด ถึงได้เห็นว่า มือที่เอามาแกว่งไปแกว่งมาใกล้ๆ หน้าผมนั้นน่ะ มันมือปลอม สีเทาๆ ขุ่นๆ.. สังเกตดีๆ ข้างหนึ่งมือปลอม แต่อีกข้างปลอมทั้งแขนเลย เห็นแล้วผมอ่อนระโหยโรยแรง แขยงจนแทบจะยืนไม่อยู่.. ไม่รู้ความรู้สึกตอนนั้นมันยังไงกันแน่ อาจเพราะไม่เคยเห็นคนแบบนี้ใกล้ๆ มาก่อน และช่วงนั้นร่างกายเพลียด้วย นอนน้อยกินน้อยหลายวันติดๆ ผมตกใจกลัวครับ ใช่ ผมกลัว.. ไม่น่าเชื่อว่าใจผมเองจะมีปฏิกิริยาได้ขนาดนี้ แปลกใจตัวเองอยู่เหมือนกัน นึกไปถึงเรื่องหนึ่งที่อาจารย์เคยเล่าให้ฟังในห้องเรียน อาจารย์ท่านนี้บอกว่า ถ้าได้เงินมาจากการพนันหรือการเสี่ยงโชค จะรีบใช้ให้หมด จะไม่เก็บเงินนั้นไว้ ..เป็นความเชื่อส่วนตัว วันหนึ่งอาจารย์เกิดถูกลอตเตอรี่รางวัลไหนไม่รู้ ได้เงินมา ระหว่างนั่งในร้านอาหารก็เจอขอทานที่เป็นไทกอ ซึ่งพบประจำ อาจารย์ตัดสินใจเอาเงินที่เหลือหลายร้อยบาทให้ขอทานไป แต่ถามคำถามขอทาน 1 ข้อ ว่า คุณมีชีวิตอยู่ไปเพื่ออะไร ทำไมไม่ฆ่าตัวตายเสีย จะได้ไม่ต้องลำบากทุกวันๆ ขอทานบอกว่า... ผมจะไม่ตอบ จนกว่าคุณจะบอกผมมาก่อนว่า คุณล่ะ มีชีวิตอยู่เพื่ออะไร ผมจดคำพูดของอาจารย์ไว้ในบันทึก เมื่อปีกว่ามาแล้ว เผื่อว่าอีกหน่อยจะเข้าใจความลึกซึ้งของคำพูดเหล่านี้มากขึ้น ... อาจารย์คงอึ้งที่โดนย้อนถาม ที่จริงคนเราก็ไม่มีใครรู้ตัวสักเท่าไหร่หรอก ว่าอยู่ไปทำไมกัน ไม่มีใครเคยนึกถึง หรือใส่ใจ.. แต่กลับไปตั้งคำถามคนที่ด้อยกว่า ว่าทำไมไม่ตายไปเสียเลยจะได้ไม่ลำบาก ขอทานคนนี้อาจจะเข้าใจชีวิตจริงๆ.. หรือยิ่งไปกว่านั้น อาจจะมีคำตอบให้กับชีวิตแล้วก็ได้ คนที่ลำบากย่อมผ่านการขบคิดอะไรมาหนักว่าพวกเรานัก เราอาจไม่ทันคิดว่า เขาตระหนักดีถึงจุดหมายในชีวิต และเราอาจไม่ทันคิดว่า เราเองล่ะมีชีวิตทำไม ... การไม่ลำบากไม่ใช่สาเหตุที่เราดำรงชีวิตต่อหรอก และคนที่ลำบากก็ไม่ได้แปลว่า ไม่ควรมีชีวิตต่อ ไม่ใช่ไปสงสารเขาว่า โถ ทำไมถึงทนลำบากมีชีวิตอยู่ เพราะพวกเขาเหล่านั้น เข้าใจความเป็นชีวิตมากกว่าพวกเราเสียอีก ... วันนี้ผมรู้ลึกซึ้งทั้งหมดแล้ว เงินหลักร้อยที่อาจารย์ให้กับขอทานไทกอคนนี้ เทียบกับสิ่งที่ขอทานให้ข้อคิดอาจารย์แล้ว ยังนับว่าน้อยไปด้วยซ้ำ.. us:=นวย.:am:. - 14/12/2002 13:37 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-