tp:=MYR (1) .. ช่องทางทำกินบนแผ่นดินสยามฯ tg:= op:=โดย นวย น่าคิดฯ จาก MYR เล่ม 9 (กุมภาพันธ์ 2542) หน้า 1 - 2 {small}บังเอิญไปเจอเรื่องราวเก่าๆ ที่ผมเคยเขียนไว้ ลงในนิตยสารที่ทำเล่นกับเพื่อนๆ เมื่อ 5 ปีก่อน อ่านแล้วสนุกดี รู้สึกว่าไอ้หนุ่มคนนี้ความคิดมันไม่เลว เสียดายที่ตอนนี้แทบไม่ได้ใช้สมองสำหรับงานเขียนแบบนั้นอีก ตอนนี้เป็นโอกาสอันดีที่จะเอามาแบ่งกันอ่าน อ่านแล้วไม่ต้องคิดมากนะครับ ..{/small} ศักดิ์ชัย ลวดลายเจริญกุล (2536) เคยกล่าวไว้ว่า ** ไม่มีวัยรุ่นคนใดในเขตกรุงเทพฯ ที่ไม่เคยเสียเงินที่สยามสแควร์ ** ฟังแล้วอาจจะเหมือนไม่มีความหมายอะไร แต่จริงๆ แล้ว คณิต มโนภาตยพงษ์ (2541) ได้ให้ความเห็นไว้อย่างน่าสนใจดังนี้ ** ไม่ว่าเศรษฐกิจจะตกต่ำอย่างไร พวกเอากำไรกับวัยรุ่นก็ยังอยู่รอดได้ ** กล่าวคือแหล่งศูนย์รวมของบรรดาวัยรุ่นก็ยังคงขายดีเป็นเทน้ำเทท่า สินค้าอะไรก็ขายได้หมด ขอให้อยู่ในแหล่งแฟชั่นก็พอ ** สยามสแควร์ ** นับเป็นแหล่งวัยรุ่นที่ใหญ่ที่สุด และมีประวัติยาวนานเป็นทศวรรษมาแล้ว ข่าวว่าในปีหนึ่งๆ มีเงินหมุนเวียนเฉพาะในเขตนี้กว่าพันล้านบาท ...แน่นอน--ถ้าใครกล้าเสี่ยงกล้าลงทุน ก็รวยไป ... แล้วคุณล่ะ พร้อมจะเอากำไรจากวัยรุ่นแล้วหรือยัง ผมมีอาชีพสบายแต่ทำเงิน (ในสยามสแควร์) มาแนะนำคุณ คุณสมบัติของผู้ที่จะประกอบอาชีพต่างๆ เหล่านี้ในสยามสแควร์ จะต้อง... (1) ทันกระแสแฟชั่น กลยุทธ์การพูด/การค้าเป็นเยี่ยม (2) ใจกล้าหน้าด้าน ไม่หวั่นต่อคำครหานินทา (3) มีกลุ่มหน้าม้าเป็นของตนเอง พร้อมที่จะแผ่กระแสที่คุณเป็นคนครีเอทขึ้น (4) เงินลงทุนไม่ต้องมาก (5) ต้องกล้ารวย... ก่อนจะเข้าสู่อาชีพต่างๆ คุณต้องเข้าใจลักษณะของวัยรุ่นไทยก่อน ว่าเป็นอย่างไร เพื่อจะได้ดำเนินกลยุทธ์สำเร็จ ...คณิต มโนภาตยพงษ์ (2541) ได้กล่าวต่อไปอีกว่า ** ..วัยรุ่นไทยสมัยนี้นับว่าแปลกมาก คือทำตัวอย่างกับกิ้งก่า เปลี่ยนสีไปได้เรื่อยๆ ตามสิ่งแวดล้อม เค้าแต่งอย่างไรเราแต่งอย่างนั้น เค้าทำตัวแบบนี้เราก็ทำด้วย สรุปคือทั้งรูปร่างลักษณะ ท่าทาง คำพูด ความคิด เหมือนกันยังกะแฝด แต่คงเป็นแฝดล้านละมั้งครับ เดินกันขวักไขว่ทั้งสยามฯ... ** นั่นคือถ้าเราจะเข้าสู่กลุ่มวัยรุ่นได้ เราจะต้องสร้างกระแสก่อน แล้วมันจะทำตามๆ กันไปเอง เช่น ** ...ปีนี้แฟชั่นเสื้อรัดนม แขนสั้นติดรักแร้ เอวลอย สะดือโผล่ กำลังมาแรง.. ** หรือ ** ..ช่วงนี้ถ้าจะกินอาหาร ต้องแ-ก(กิน)ไก่ ... พวกเบอร์เกอร์เชยแล้ว...** ฯลฯ มีอีกพวกทำตัวไม่ตามใคร คุณจะเจาะเข้าสู่กลุ่มนี้อย่างไร ... ... ง่ายมาก เพียงโฆษณาว่าสินค้าของคุณนั้น ** เป็นอีกทางเลือกใหม่ ไม่ตามใคร คุณมีสิทธิ์เลือกด้วยตัวคุณเอง ** (ถึงแม้จะมีให้เลือกแค่ 2-3 อย่างก็ตาม) แค่นี้ก็แห่กันมาซื้อแล้วเห็นมั้ยครับ... ตอนนี้เรามาเริ่มรู้จักกับอาชีพทำเงินในสยามฯ กันเลยดีกว่า เดี๋ยวที่จะหมดซะก่อน... ** หากินกับกระแสแฟชั่น ** เช่น เปิดร้านขายเสื้อผ้า รองเท้า กระเป๋า นาฬิกา ส้มโอ น้อยหน่า พุทรา มังคุด ฯลฯ ขอแค่คุณมีเวลาติดตามรายการโทรทัศน์วัยรุ่นทุกสัปดาห์ คุณก็จะเป็นผู้นำในวงการนี้ทันที เสื้อผ้ารับมาจากสะพานพุทธ ตัวละ(อย่างแพง)ร้อยกว่าบาท พอมาอยู่ที่สยามฯ สามารถทำเงินให้คุณได้ถึงสามสี่ร้อยบาททีเดียว ส่วนข้อเสียก็มีอยู่ว่า คู่แข่งเยอะ แต่ถึงยังไงๆ กำไรก็งามอยู่แล้ว(เนอะ)... ** เปิดสถาบันกวดวิชา ** อาชีพนี้ไม่ได้เป็นกันได้ทุกคน ต้องอาศัยความรู้ ใช้พื้นที่ห้องเรียน และอาศัยแรงโหมโฆษณาหนักมาก แหล่งเป้าหมายก็คือ บรรดานักเรียนชั้นมัธยมปลาย ที่จะแข่งขันกันสอบเข้ามหาวิทยาลัย สำหรับผลตอบแทนที่จะได้สูงสุดถึงปีละหลายล้านบาททีเดียว ... ... แต่ถ้าคุณไม่มีความรู้พอที่จะสอนใครได้ เราก็มีอาชีพผลพวงมาจากอาชีพนี้ คือ ** รับจ้างเปิดสถาบันกวดวิชา ** หรือเรียกง่ายๆ ว่ารับจ้างเฝ้า และเปิด-ปิดประตูน่ะแหละ และอีกอาชีพหนึ่งที่น่าสนใจ คือ ** รับจ้างแจกใบปลิว ** ไม่ต้องมีคุณวุฒิ วัยวุฒิใดๆ ขอแค่มีมือที่ใช้ขยับได้ซักข้างหนึ่งก็พอ (สำหรับอาชีพนี้จะไปรุ่ง ควรมีถังขยะตั้งไว้ข้างๆ เพื่อบริการลูกค้าด้วย ... ระบบอัตโนมัติ-แจก-รับ-ทิ้ง-แจก-รับ-ทิ้ง-...) ** วณิพกจากรั้วมหาวิทยาลัย ** หรือนิคเนมว่า ขอทานมีการศึกษา ...สมัยนี้อาชีพขอทานมีรายได้วันละหลายร้อยบาทยังไม่สะใจ คุณเพียงแต่งชุดนักศึกษาแล้วพาเพื่อนๆ ไปกัน 7-8 คนทั้งหญิงทั้งชาย ยืนในที่คนพลุกพล่าน มีคนหนึ่งเล่นกีต้าร์ และที่เหลือสองสามคนช่วยกันร้อง คนหนึ่งถือกล่องรับบริจาค ติดหน้ากล่องว่าสมทบทุนการกุศลอะไรซักอย่างก็ได้ ถ้าเป็นกล่องแบบนี้มีหรือจะหยอดเหรียญบาทเหรียญห้า อย่างต่ำๆก็แบงค์สิบยี่สิบ ให้เพื่อนหญิงคนหนึ่งคอยพูดบรรยายเรียกลูกค้าว่าเราจะไปทำกุศลอะไรที่ไหน แต่ถ้าหากคุณกลัวจะได้น้อยเกินไป ให้ใช้วิธีล้อมเอา มีคนเดินมาปั๊บหัวท้ายตวัดเข้ายืนล้อมทันที บีบบังคับให้เค้าควักเงินออกมา รับรองว่าวันหนึ่งได้หลายร้อยบาทอยู่แล้ว ** ขายหมากฝรั่งหรือเมนทอส โดยอ้างว่าพิการ ** ผมเคยเห็นคนหนึ่งที่สยามฯที่ไม่รู้ว่าพิการตรงส่วนไหน ตาก็ไม่บอด แขนขาก็อยู่ครบ... อาชีพนี้มันมีกระบวนการครับ คุณเคยสงสัยมั้ยว่า คนตาบอดทำไมถึงสั่งทำป้ายพลาสติกแขวนคอซะสวยหรู แถมบอกราคาเสร็จ ไม่ต้องพูดอะไรซักคำเลย... ... หมากฝรั่ง 5 บาทขาย 10 บาท ถ้าเมนทอส 10 บาทก็ขาย 15 บาท กำไร 5 บาทต่อหนึ่งอัน วันหนึ่งขายได้ 50 อันก็ 250 บาท นั่งอย่างเดียวก็มีคนเอาเงินมาให้... ... โดยเฉพาะพวกหนุ่มที่ซื้อโชว์สาวว่ามีเมตตาเหลือเกิน *** เปิดร้านขายเทป ** อาชีพนี้เป็นอาชีพที่รายได้งาม และดูมีศักดิ์ศรี แต่จริงๆแล้วเอาเปรียบคนฟังคนซื้อมากเลย การขายเทปนั้นคุณแค่เอาเทปมาวางไว้ก็พอ ไม่ต้องร้องเรียกลูกค้าให้เจ็บคอ ไม่ต้องจ่ายค่าโฆษณาเพราะค่ายเทปมันโปรโมทแรงอยู่แล้ว (เงินค่าโฆษณาให้คนฟังเดินมาซื้อก็บวกอยู่ในค่าเทปน่ะแหละ ถึงบอกว่าค่ายเทปมันเอาเปรียบจริงๆ) ... บางแห่งเอากำไรน้อยๆ ม้วนละ 3-5 บาทก็อยู่ได้แล้ว บางร้านอยากรวยเร็วๆ คิดตามราคาปก ลดให้นิดหน่อย ขอม้วนละ 20 บาทอย่างเงี้ย ก็เลยเจ๊งเร็วไปด้วย ตลาดเทปมันเป็นตลาดแข่งขันสูงอยู่แล้วต้องเข้าใจ ** เดินและพูด ** หรือระบบไดเร็คเซลล์ของบริษัทโฆษณานั่นเอง ขายง่ายกว่างานขายประกันหน่อยเดียว ... งานนี้คุณต้องเดินในสยามฯทั้งวัน เพื่อหลอกให้บรรดาวัยรุ่นหลงเชื่อ และยอมจ่ายเงินหลายร้อยเพื่อเอกสิทธิ์พิเศษในการซื้ออาหาร ร้านที่พวกเขาไม่ได้อยากจะกินเลยแม้แต่น้อย งานจะสำเร็จได้นั้น คุณต้องกะล่อนมากๆ ลื่นไหลไปได้เรื่อยๆ และอย่าหวั่นเมื่อเจอลูกค้าเจ้าคารม อย่าลืมว่าอาชีพนี้ยังเป็นอาชีพใหม่ๆ สดๆ ยังไม่มีคู่แข่ง ถ้าสนใจก็เชิญที่บริษัทโฆษณาแห่งนู้น... สำหรับอาชีพอื่นๆ ไม่ขอแนะนำ เพราะลูกค้าลดลงฮวบฮาบในช่วงนี้ เช่น ร้านฟาสต์ฟู้ด ร้านเกม ร้านการ์ตูน โรงหนัง ร้านหนังสือ ฯลฯ ต้องรอเวลาที่เหมาะสมถึงจะไปรุ่ง ส่วนบางอาชีพก็ขอเตือนว่าไม่ควรกระทำเป็นอย่างยิ่งที่สยามฯ เช่น ขายบ๊ะจ่าง รับดูดส้วม ลบรอยสักปานแดงปานดำ ขายเครื่องแต่งบ้าน รับซ่อมแอร์ เช่าพระเครื่อง ฯลฯ เพราะดูจะสร้างกระแสนิยมกับวัยรุ่นยากไปนิด ขืนทำไปมีแต่จะเจ๊งเปล่าๆ ...เชื่อผมมั้ย -------------------------------------------- {small}เกี่ยวกับเรื่องนี้ : อ่านวันนี้ยังพอเข้าใจได้อยู่เลยแฮะ ถึงจะไม่ใช่เรื่องทันสมัยแล้วก็ตาม ที่เป็นแบบนี้คงเพราะตอนที่เขียนนั่น ผมพยายามหยิบเอารื่องใหม่ๆ บูมๆ มาเขียนทันที เทคนิคการเขียนเรื่องของผมในช่วงนั้นคือ พยายามจดบันทึกรวมเอาอะไรๆ ไว้มากๆ แล้วพอเห็นว่าได้ปริมาณเหมาะสมแล้ว ก็ลงมือเขียนได้ มันทำให้ผมรู้สึกเองว่าเนื้อหาแน่นกำลังดีด้วย ได้วิธีการนี้มาจากการเขียนเพลงของพี่จิก ประภาส แห่งวงเฉลียงครับ..{/small} us:=นวย.:am:. - 21/09/2002 00:35 ๏+๏-๏-๏-๏-๏- op:=ศักดิ์ชัย ลวดลายเจริญกุล (2536)... คนนี้ชื่อคุ้นๆนะ อิอิ.. :-) us:=teh - 27/09/2002 23:39 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏- op:=น่าคิดมั๊กมากเลยคับ us:=คิดดีทำดี - 27/05/2009 19:25 ๏+๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-๏-