ลำดับเพลงพระราชนิพนธ์ตอบ: 9, อ่าน: 21984
ข้อมูลจากหนังสือประมวลเพลงพระราชนิพนธ์ ชุด "ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์"
(จัดทำโดยโรงเรียนจิตรลดา ในวโรกาสฉลองสิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี, 9 มิถุนายน 2539)
ในวงเล็บคือปี พ.ศ. ที่ทรงประพันธ์ทำนอง หรือออกบรรเลงครั้งแรก
(หรือปี พ.ศ. ที่ผู้ประพันธ์คำร้อง ได้ประพันธ์คำร้องเพิ่มเติมอีกแบบ)
ซึ่งคำร้องสองภาษา อาจได้รับการประพันธ์ขึ้นคนละปี พ.ศ. ก็ได้
ลำดับที่ ๑ / แสงเทียน (เมษายน 2489) / Candlelight Blues (2496)
ลำดับที่ ๒ / ยามเย็น (เมษายน 2489) / Love at Sundown (2489)
ลำดับที่ ๓ / สายฝน (พฤษภาคม 2489) / Falling Rain (2489)
ลำดับที่ ๔ / ใกล้รุ่ง (พฤษภาคม 2489) / Near Dawn (2489)
ลำดับที่ ๕ / H.M. Blues (2489) / ชะตาชีวิต (2489)
ลำดับที่ ๖ / Never Mind The Hungry Men's Blues (2489) / ดวงใจกับความรัก (2489)
ลำดับที่ ๗ / อาทิตย์อับแสง (2491) / Blue Day (2491)
ลำดับที่ ๘ / เทวาพาคู่ฝัน (2491) / Dream of Love Dream of You (2491)
ลำดับที่ ๙ / มหาจุฬาลงกรณ์ (2492) - เพลงประจำสถาบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ลำดับที่ ๑๐ / คำหวาน (2493) / Sweet Words (2493)
ลำดับที่ ๑๑ / แก้วตาขวัญใจ (2493) / Lovelight in My Heart (2493)
ลำดับที่ ๑๒ / เมื่อโสมส่อง (2494) / I Never Dream (2494)
ลำดับที่ ๑๓ / ยิ้มสู้ (2495) / Smiles (2495)
ลำดับที่ ๑๔ / พรปีใหม่ (2495)
ลำดับที่ ๑๕ / Love Over Again (2495) / รักคืนเรือน (2495)
ลำดับที่ ๑๖ / มาร์ชธงไชยเฉลิมพล (The Colours March) (2495)
ลำดับที่ ๑๗ / ยามค่ำ (2496) / Twilight (2496)
ลำดับที่ ๑๘ / มาร์ชราชวัลลภ (Royal Guards March) (2496)
ลำดับที่ ๑๙ / ลมหนาว (2497) / Love in Spring (2497)
ลำดับที่ ๒๐ / ศุกร์สัญลักษณ์ (2497) / Friday Night Rag (2497)
ลำดับที่ ๒๑ / Oh I Say (2498)
ลำดับที่ ๒๒ / Can't You Ever See (2498)
ลำดับที่ ๒๓ / Lay Kram Goes Dixie (2498)
ลำดับที่ ๒๔ / ค่ำแล้ว (2498) / Lullaby (2498)
ลำดับที่ ๒๕ / สายลม (2500) / I Think of You (2500)
ลำดับที่ ๒๖ / ไกลกังวล (2500) / When (2506) / เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย (2514)
ลำดับที่ ๒๗ / แสงเดือน (2501) / Magic Beams (2501)
ลำดับที่ ๒๘ / Somewhere Somehow (2502) / ฝัน (2502) / เพลินภูพิงค์ (2509)
ลำดับที่ ๒๙ / มาร์ชราชนาวิกโยธิน (Royal Marines March) (2502)
ลำดับที่ ๓๐-๓๒ / Kinari Suite (Nature Waltz + The Hunter + Kinari Waltz) (มโนห์รา) (2502)
ลำดับที่ ๓๓ / Kinari Suite (A Love Story) (2502) / ภิรมย์รัก (2502)
ลำดับที่ ๓๔ / Alexandra (2502) / แผ่นดินของเรา (2516)
ลำดับที่ ๓๕ / พระมหามงคล (2502) - เพลงประจำวงดนตรีสุนทราภรณ์
ลำดับที่ ๓๖ / ยูงทอง (2506) - เพลงประจำสถาบัน มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
* ลำดับที่ ๓๗ / Still on My Mind (2508) / ในดวงใจนิรันดร์ (2508)
* ลำดับที่ ๓๘ / Old Fashioned Melody (2508) / เพลงเตือนใจ (2510)
* ลำดับที่ ๓๙ / No Moon (2508) / ไร้จันทร์ (2508) / ไร้เดือน (2512)
* ลำดับที่ ๔๐ / Dream Island (2508) / เกาะในฝัน (2508)
* ลำดับที่ ๔๑ / Echo (2509) / แว่ว (2509)
ลำดับที่ ๔๒ / เกษตรศาสตร์ (2509) - เพลงประจำสถาบัน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ลำดับที่ ๔๓ / ความฝันอันสูงสุด (2514)
ลำดับที่ ๔๔ / เราสู้ (2516)
ลำดับที่ ๔๕ / เรา-เหล่าราบ 21 (We-Infantry Regiment 21) (2519)
ลำดับที่ ๔๖ / รัก (2537)
ลำดับที่ ๔๗ / เมนูไข่ (2538)
* หมายเหตุ * บทเพลงในลำดับที่ ๓๗ ถึง ๔๑ เป็น 5 เพลงในจำนวนทั้งหมด
ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระราชนิพนธ์คำร้อง (ภาษาอังกฤษ) ด้วยพระองค์เอง
ส่วนบทเพลงอื่นๆ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ท่านผู้ใหญ่หลายท่านประพันธ์คำร้อง
(หรือเป็นคำร้องที่ประพันธ์ไว้ก่อนแล้วจึงขอพระราชทานพระราชนิพนธ์ทำนอง)
อาทิ พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าจักรพันธ์เพ็ญศิริ
(แสงเทียน, ยามเย็น, สายฝน, ดวงใจกับความรัก, อาทิตย์อับแสง, เทวาพาคู่ฝัน, คำหวาน,
แก้วตาขวัญใจ, ยิ้มสู้, พรปีใหม่, รักคืนเรือน, ยามค่ำ, สายลม, แสงเดือน, ฯลฯ)
ศ.ดร.ประเสริฐ ณ นคร
(ใกล้รุ่ง, ชะตาชีวิต, ในดวงใจนิรันดร์, แว่ว, เกษตรศาสตร์, ฯลฯ)
ท่านผู้หญิงสมโรจน์ สวัสดิกุล ณ อยุธยา
(มหาจุฬาลงกรณ์, เมื่อโสมส่อง, ลมหนาว, ค่ำแล้ว)
ท่านผู้หญิงมณีรัตน์ บุนนาค (บางเพลงประพันธ์ร่วมกับ ม.ล.ประพันธ์ สนิทวงศ์)
(เพลินภูพิงค์, เกิดเป็นไทยตายเพื่อไทย, แผ่นดินของเรา,
เพลงเตือนใจ, ไร้เดือน, เกาะในฝัน, ความฝันอันสูงสุด)
ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช (ศุกร์สัญลักษณ์, Oh I Say)
(และนอกจากนี้ยังมีอีกหลายท่าน)
นวย
ตอนนี้ 10 ปีผ่านมาจากอัลบั้มชุดที่กล่าวไปข้างบน
ก็มีอัลบั้มเพลงพระราชนิพนธ์ออกมาแบบรวมศิลปินหลายค่าย
เป็นชุดที่สอง.. งานนี้เจ้าของความคิดคือพี่ปุ้ม พงษ์พรหม
(แห่ง Butterfly Records และมีเอี่ยวๆ กับ Craftsman Records ของพี่โอม ชาตรี)
จึงมีข้อมูลและเกร็ดเพิ่มเติมเกี่ยวกับบทเพลงต่างๆ
ที่เว็บนี้ครับ..
http://www.hmblues.net
เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อวันพุธเอง.. ส่วนอัลบั้มวางแผงวันที่ 20 กว่าๆ นะครับ..
(มี 2 เซต.. แบบบรรเลงครบถ้วน 48 เพลง ใน 4 แผ่น ราคา 300 กว่าบาท
และแบบนักร้องสตริงหลายค่ายมาร่วมร้อง 26 เพลง ใน 2 แผ่น ราคา 200 กว่าบาท
งานนี้น่าสนใจจริงๆ นะ เพราะเป็นครั้งแรกที่จะได้รับฟัง
บทเพลงเหล่านี้ในหลากหลายแนวเพลงอย่างแท้จริง!)
นวย
เพิ่มเติมอีกนิดหน่อย.. ตั้งแต่จำความได้
มีบทเพลงพระราชนิพนธ์ที่ได้นักร้องหลายๆ คนมาร้องอยู่ดังนี้ครับ
(1) ค่ายคีตา มี 1 แผ่น.. 9 เพลง (ควรเรียกว่า 1 ม้วนมากกว่า)
ตั้งแต่ยุคที่เฉลียงยังไม่เลิกนู่นแน่ะ จำได้ว่าพี่เจี๊ยบร้องชะตาชีวิต..
(2) ค่ายเมโทร ถ้าจำไม่ผิดมี 4 แผ่น (สนนราคาไม่ถึง 500 บาท)
ปัจจุบันยังขายอยู่ตามแผงเทปและร้านหนังสือทั่วไป
(แต่เปลี่ยนแพคเกจเป็นสีเหลืองอ๋อยมาเลย หายคลาสสิคไปเยอะ)
ขับร้องโดยสุเทพ วงศ์กำแหง / สวลี ผกาพันธุ์.. ฯลฯ ประมาณนี้
(3) โรงเรียนจิตรลดา ชื่อชุด "ธ สถิตในดวงใจนิรันดร์" มี 4 แผ่น..
เป็นคนไทยหลายค่ายร่วมใจกัน 2 แผ่น 36 เพลง
(อาทิ แกรมมี่=เบิร์ด สุรสีห์ ศรัณย่า ปั่น นันทิดา วิยะดา ผุสชา มาริสา มณีนุช ฯลฯ
-- ดนตรีโดย วิชัย อึ้งอัมพร
อาร์เอส=แหม่มพัชริดา ทัช -- ดนตรีโดยธนิต เชิญพิพัฒนสกุล
อื่นๆ=พี่เกี๊ยง สมา กุ้งกิตติคุณ ปุ้มอรวรรณ ชรัส ระวิวรรณ นนทิยา ฯลฯ
-- ดนตรีโดยปราจีน ทรงเผ่า
และเพลงประสานเสียง ซึ่งทำดนตรีโดย อ.ดนู ฮันตระกูล)
บวกกับเพลงจากฝรั่งแจ๊สเก่งๆ อีก 2 แผ่น ร้องเป็นภาษาอังกฤษบ้าง บรรเลงบ้าง
พร้อมเพลงมาร์ชโดยวงดุริยางค์ ร.ร.วัดสุทธิฯ ซึ่งเล่นดีมากๆ อีก 4 เพลง..
(ปัจจุบันยังมีขายอยู่ในศูนย์หนังสือจุฬาฯ แต่ว่าราคาถือว่าแพงนะ ประมาณพันห้า)
(4) ค่ายอาร์เอส ขนนักร้องมาหมดค่าย.. 2 แผ่น ทั้งรุ่นใหญ่และวัยรุ่นทั้งหลาย
อาทิ ฟอร์ด ธรรพ์ณธร แหม่มพัชริดา เรื่อยไปจนถึงโดม แนนซี่ นู่นเลย..
(หลายเพลงเอาแบคกิ้งแทร็คมาจากชุดของ ร.ร.จิตรลดา แต่เปลี่ยนนักร้อง)
ชุดนี้คงหาซื้อทั่วไปไม่ได้แล้วมั้ง เพราะซีดีค่ายใหญ่ๆ มักจะวางไวเก็บไว..
ก็จะเห็นว่าค่ายแกรมมี่ยังไม่เคยทำแฮะ..
งานของค่าย Butterfly ที่จะออกคราวนี้ เหมือนจะเป็นแกรมมี่กลายๆ
เพราะศิษย์เก่าแกรมมี่เยอะ.. เช่น นูโว อำพล มิสเตอร์ทีม ปีเตอร์ จั๊ก ฯลฯ
นวย
ขอแก้ไขหน่อยครับ.. จากเดิม ข้อมูลในปี 2539 ซึ่งมีอยู่ว่า
ลำดับที่ ๔๖ / รัก (2537)
ลำดับที่ ๔๗ / เมนูไข่ (2538)
ตอนนี้ข้อมูลในปี 2549 (จากปกอัลบั้ม H.M.Blues Heritage) แก้ไขเป็น
ลำดับที่ ๔๖ / Blues for Uthit (บลูส์ฟอร์อุทิตต์) (2522)
ลำดับที่ ๔๗ / รัก (2537)
ลำดับที่ ๔๘ / เมนูไข่ (2538)
ดังนั้นบทเพลงพระราชนิพนธ์ในปัจจุบัน มีทั้งหมด 48 เพลงครับ :]
นวย
ดีมากเลยเว็บนี้
ข้อมูลล่าสุดจากแฟนเพจพี่ดี้ "นิติพงษ์ ห่อนาค" (24 ธันวาคม 2559)
มีการสลับลำดับเพลงในช่วงต้นๆ และข้อมูล พ.ศ. ต่างจากในกระทู้นี้หลายเพลง
ที่น่าสนใจคือนับ "ราชวัลลภ" แยกเป็นอีกเพลง (แทรกอยู่ในลำดับที่ 7)
ถือว่าไม่เหมือน "มาร์ชราชวัลลภ" (ลำดับที่ 18 เดิม หรือร่นไปเป็น 19)
ทำให้มีรายชื่อทั้งหมด 49 เพลง
ข้อมูลที่เปลี่ยนแปลง มีดังนี้
ลำดับที่ ๕ / ชะตาชีวิต (2490)
ลำดับที่ ๖ / ดวงใจกับความรัก (2490)
ลำดับที่ ๗ / ราชวัลลภ (2491)
ลำดับที่ ๘ / อาทิตย์อับแสง (2492)
ลำดับที่ ๙ / เทวาพาคู่ฝัน (2492)
ลำดับที่ ๑๐ / คำหวาน (2492)
ลำดับที่ ๑๑ / มหาจุฬาลงกรณ์ (2492)
ลำดับที่ ๑๒ / แก้วตาขวัญใจ (2492)
ลำดับที่ ๑๓ / พรปีใหม่ (2495)
ลำดับที่ ๑๔ / รักคืนเรือน (2495)
ลำดับที่ ๑๕ / ยามค่ำ (2495)
ลำดับที่ ๑๖ / ยิ้มสู้ (2495)
ลำดับที่ ๑๗ / มาร์ชธงไชยเฉลิมพล (2495)
ลำดับที่ ๑๗ / มาร์ชราชวัลลภ (2495)
ลำดับที่ ๑๙ / เมื่อโสมส่อง (2497)
ลำดับที่ ๒๐ / ลมหนาว (2497)
ต่อจากนี้เป็นการร่นลำดับอย่างเดียว จนถึง
ลำดับที่ ๓๑ / Kinari Suite I (ภิรมย์รัก) (2502)
ลำดับที่ ๓๒-๓๔ / Kinari Suite II-III-IV (2502)
ลำดับที่ ๓๗ / ธรรมศาสตร์ (2505)
ลำดับที่ ๔๒ / แว่ว (2508)
และ ลำดับที่ ๔๕ / เราสู้ (2519)*
*สอดคล้องกับบทความในหนังสือ "ประวัติศาสตร์ที่เพิ่งสร้าง" (สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล)
ที่บอกว่า "เราสู้" น่าจะถือกำเนิดเมื่อปี 2519 โดยมีเค้าโครงจากพระราชดำรัส 4 ธันวาคม 2518
นวย
ดีใจ!! The Standard มาก๊อปข้อมูลไปใช้ด้วยคร้าบ 555
เรื่องเครดิตการเรียบเรียงไม่ว่ากัน ใจดี แต่น่าจะแก้ไขแหล่งที่มาของข้อมูลให้ชัดเจนขึ้น
เพราะการก๊อปไปแต่หัวกระทู้ เกรงว่าคนอ่านจะเข้าใจผิดว่าลิสต์ที่แก้ไขแล้วนี้
นำมาจากหนังสือ ธ สถิตฯ เพียงเล่มเดียว ซึ่งไม่ใช่แล้วครับผม
https://thestandard.co/kingrama9-musical-compositions-and-jazz-1
(อยู่ในกรอบสีเทาๆ ที่บอกว่า FYI นะครับ)
นวย
ไหนๆ ก็มาแล้ว ถือโอกาสแปะอีกข้อมูลที่ยังไม่ได้นำมาโพสเลยครับ
ช่วงที่มีการนำมโนราห์บัลเลต์มาแสดงในงานออกพระเมรุ เมื่อปีที่แล้ว (2560)
มีรายงานข่าวเกี่ยวกับประวัติการแสดงชุดนี้อย่างกว้างขวาง
1. ข้อมูลจากแฟนเพจ/เว็บไซต์ Chocolad.co ที่จ่ายตังค์บูสโพสให้ผมเห็นพอดี
ในเว็บระบุว่าเป็นข้อมูลจากสารคดี ในดวงใจนิรันดร์ จัดทำโดยธนาคารกสิกรไทย
เพลงพระราชนิพนธ์ประกอบการแสดงชุด มโนห์ราบัลเลต์
ใช้ชื่อชุดว่า Kinari Suite มีทั้งหมด 5 เพลง
Nature Waltz (เริงวนารมย์)
The Hunter (พรานไพร)
Kinari Waltz (กินรี)
A Love Story (ภิรมย์รัก)
Blue Day (อาทิตย์อับแสง)
เป็นครั้งแรกที่ผมทราบชื่อไทยของเพลงบรรเลงในชุดสวีทครับ
แต่โดยส่วนตัวเข้าใจว่า Blue Day ไม่นับรวมในชุดนะครับ
2. ข้อมูลเดิมที่ผมมีคือ ทรงพระราชนิพนธ์ Kinari Suite (4 เพลง) ในปี 2502
แต่ข่าวใหม่ที่รวบรวมจากหลายสำนัก ระบุว่าทรงพระราชนิพนธ์เพลงในปี 2504
โดยจัดแสดงรอบแรกเมื่อปี 2505 และอีกครั้งในปี 2535
นี่เป็นอีกข้อมูลที่ต้องตรวจสอบ และแก้ไขลิสต์ครับ
นวย
ไม่เกี่ยวกับกระทู้ - อีกแล้ว
แต่แค่ดีใจที่ได้กลับมาเมนต์อะไรในนี้อีกครั้งค่ะ
มันมีฟีล #กลับมายืนที่เดิม อยู่อะ 555
ป.ล. แต่ที่จำไม่ได้คือ แกไม่มีรหัสส่วนตัวเว้ย Shauฯ ...แกจงใส่ 1111 ซะดีๆ 555
Shauฯ
พี่นวยก็จำรหัสตัวเองไม่ได้เหมือนกัน ลองอยู่หลายรอบคนับ 555
ถ้าไม่นับคอมเม้นต์ที่ 5 ที่เอาข้อมูลจากพี่ดี้มาแปะเมื่อปีที่แล้ว ก็เว้นยาว 6 ปีแน่ะ
ว่าแต่ว่า tag ชื่อยังไงนะเว็บนี้ อ้อ! ทำไม่ได้! ไม่มี notification
นวย