0444
ว่ากันเรื่องเพลง (3) : คุณภาพ mp3 น…
แสดงทั้งหมด

ว่ากันเรื่องเพลง (4) : วงการเพลงไทย หนึ่งตอบ: 8, อ่าน: 2108

เมื่อวานพูด (พิมพ์) เกี่ยวกับคนสะสม mp3 ก็เลยนึกขึ้นมาได้
อยากสรุปความเป็นมาเป็นไปของวงการเพลง (สตริง) ไทย เท่าที่ผมเกิดทัน..
สรุปเป็น 4 ยุค (หรือ 3 กันแน่?) ก็แล้วกันครับ

ป.ล. ทั้งหมดเป็นการเขียนตามความเข้าใจส่วนตัว กึ่งๆ นั่งเทียน
ถ้าต้องการเอาไปอ้างอิง ให้ตรวจสอบกับแหล่งข้อมูลอื่นที่น่าเชื่อถือนะครับ!

1. ยุคแผ่นเสียง หรือ "record"
(คนไทยใช้คำว่าแผ่นไวนิล เพราะทำจากพลาสติกไวนิล)
เป็นแผ่นสีดำๆ ใหญ่ๆ กว้างเท่าแขนเลยอ่ะครับ นึกภาพออกไหมครับ
เวลาเก็บจะเสียบลงในซองกระดาษแข็งสี่เหลี่ยมจัตุรัส ซึ่งทำหน้าที่เป็นปกอัลบั้มด้วย..
แผ่นเสียงแต่ละแผ่นจะบันทึกข้อมูลได้ทั้งสองด้าน คือจะพลิกด้านหลังมาฟังได้
(ไม่เหมือนกับแผ่น cd ที่ใช้งานได้ด้านเดียว)

ที่จริงความเร็วการหมุนของแผ่นเสียง มีอยู่ 2 แบบครับ.. คือสปีด 33 และ 45
หน่วยเป็น rpm (round per minute หรือว่ารอบต่อนาที นั่นเอง)
- แผ่นสปีด 45 เป็นแผ่นซิงเกิ้ล หรือเรียกว่า "แผ่น EP" (extended playing record)
มีขนาด 7 นิ้ว ความจุด้านละ 5 นาที
- แผ่นสปีด 33 จะเป็นอัลบั้มเต็ม หรือเรียกว่า "แผ่น LP" (long playing record)
มีขนาด 12 นิ้ว ความจุด้านละ 23 นาที
(เนื่องจากแผ่นเล็กมีสปีดที่ไวกว่า จึงให้คุณภาพเสียงคมชัดกว่าแผ่นใหญ่)

เวลาเล่นก็วางด้านที่จะเล่นหงายขึ้นบน แล้วเอาเข็มที่เป็นหัวอ่านวางเสียบลงไปกลางร่องเสียง
แล้วก็เปิดเครื่องให้แผ่นหมุนๆ ไปตามสปีด จะโดยการไขลานหรือใช้มอเตอร์ก็สุดแท้แต่งบ
จากนั้นเข็มก็ขูดกับตัวแผ่นซึ่งมีร่องขรุขระๆ แล้วเสียงก็จะปุ๊ดๆๆ ออกมาทางลำโพง
ซึ่งลำโพงนี้ถ้ารุ่นโบราณๆ หน่อยก็จะเป็นลำโพงโลหะเหมือนปากแตร เป็นระบบ mono
แต่ถ้ารุ่นใหม่ๆ ก็จะเป็นลำโพง stereo คล้ายๆ ในปัจจุบันแล้ว..

ยุคแรกของเพลงสตริงไทย "ที่เป็นภาษาไทย" เริ่มเมื่อปี พ.ศ.2512 โดยวงดิอิมพอสสิเบิลส์ ครับ..
ผลงานแรกๆ เป็นแผ่นสปีด 45 ซึ่งเป็นเพลงประกอบภาพยนตร์ไทยในยุคนั้น ประมาณ 30 เพลง
และหลังจากนั้นได้ทำอัลบั้มเต็มเป็นสปีด 33 ไว้ 2 ชุด ในปี 2515 และ 2516
ชื่อชุด "เป็นไปไม่ได้" และ "หมื่นไมล์ใจแค่เอื้อม"
ตามมาด้วยมินิอัลบั้ม (แหม่..เรียกซะวัยรุ่นเลย) อีก 1 ชุดคือ "ทัศนาจร" (ปี 2516)
โดยที่ในช่วงนั้นก็ยังคงมีเพลงประกอบภาพยนตร์ออกมาเรื่อยๆ อีกราว 20 เพลง จนถึงปี 2519

แผ่นเสียงเพลงไทยเลิกผลิตแล้วโดยสิ้นเชิงเมื่อราวๆ 10 ปีที่แล้ว
(ฟังแล้วอาจจะไม่น่าเชื่อ ว่ายุคพี่เจ ทาทา มอส ยังมีการออกเป็นแผ่นเสียงอยู่ แต่มันจริงครับ!)
แต่แผ่นเสียงของเมืองนอกยังคงมีการผลิตอยู่จนปัจจุบันนี้ แม้ว่าคนทั่วไปจะเลิกสนใจแล้ว
คือกลุ่มเป้าหมายเป็นพวกที่สะสมแผ่นเสียง และก็พวกดีเจ scratch แผ่น น่ะแหละครับ
ใช่!.. แผ่นเสียงแบบนี้แหละฮะ ที่เหล่าดีเจเขาเอามาถูๆ แพร่ดๆ ชะแบ๊บๆ กัน..
(หมายถึงดีเจมิกซ์เพลงสดๆ ในผับหรืองานปาร์ตี้นะครับ.. ไม่ใช่ดีเจเปิดทีละเพลงๆ ทางวิทยุ)

2. ยุคเทปคาสเซต หรือ "cassette tape"
(คนไทยเรียกว่าเทปเพลง เนื้อเทปทำจากโพลีเอสเตอร์ บรรจุอยู่ในตลับพลาสติกครับ
.. และได้สังเกตกันไหมครับ เทป 1 ม้วนแถมน๊อตยึดมาตั้ง 5 ตัวแน่ะ นับว่าใช้ต้นทุนหลายอยู่)
ความกว้างของเนื้อเทปคือ 1/8 นิ้ว, และเดินเร็ว 7/8 นิ้วต่อวินาที หรือ ips
(วัดสปีดด้วยความยาวครับ จะวัดด้วยรอบต่อวินาทีไม่ได้
เพราะต้นม้วนกับท้ายม้วนหมุนเร็วไม่เท่ากัน)
ส่วนขนาดตลับพลาสติกก็เท่ากับนามบัตรมาตรฐาน และใส่มาในกล่องที่มีปกครอบไว้สวยงามอีกที

คิดว่าน่าจะเกิดทันยุคเทปคาสเซตกันทุกคนอยู่แล้วนะครับ..
เลยไม่ต้องบอกว่าเทปคาสเซตก็เล่นได้ 2 ด้าน (side) เหมือนกับแผ่นเสียง (อ้าว..แล้วบอกทำไม..)
เรียกว่าด้าน A และด้าน B (คนไทยชอบเรียกว่าหน้า A กับหน้า B มากกว่า)
และมีความจุ (เพลงแบบ stereo) ได้สูงสุดด้านละ 30 นาที (สำหรับเนื้อเทปธรรมดา)
หรือ 45 นาที (เมื่อเปลี่ยนมาใช้เนื้อเทปอย่างบาง แต่เนื้อเทปแบบนี้ไม่ค่อยแข็งแรงครับ..)

เนื้อเทปจะถูกเจียดแบ่งความกว้างออกเป็น 4 ส่วน (หรือเรียกว่า 4 tracks)
แต่ละส่วนบรรจุข้อมูลที่ต่างกัน คือแชนเนลซ้าย-ขวา ของหน้า A และซ้าย-ขวา ของหน้า B
เครื่องเล่น (ไฟฟ้าเท่านั้นครับ ไม่มีแบบไขลานแล้ว) จะมีหัวอ่าน
ซึ่งจะอ่านแค่เพียง 2 tracks (ครึ่งความกว้างเนื้อเทป) เท่านั้นครับ..
คือถ้าอยากฟังเพลงหน้า A ก็เสียบเทปให้หน้า A หันออกมา (หรือหันขึ้นบน แล้วแต่รูปแบบเครื่อง)
และถ้าอยากฟังเพลงหน้า B ก็พลิกหน้าเทปให้หน้า B หันออกมาบ้าง..

เครื่องเล่นรุ่นจ๊าบๆ จะมีระบบเปลี่ยนหน้าให้เองด้วย
(แต่ไม่ใช่มาพลิกตลับเทปให้นะครับ อันนั้นต้องใช้หุ่นยนต์แล้ว!)
คือพอเล่นจบหน้าแรก มันจะหมุนเล่นแบบถอยหลังให้ แต่หัวอ่านจะอ่านอีก 2 tracks ที่อยู่อีกซีกนึง
นั่นก็คือการเล่นเพลงในหน้าหลังให้เราฟัง โดยไม่ต้องพลิกตลับเทปนั่นแหละครับ..
(แล้วพอเล่นถอยหลังจนหมดอีกหน้าแล้ว มันก็จะ stop ให้โดยอัตโนมัติ.. ทันสมัยจริงๆ ในยุคนั้น)

หมายเหตุ : ผมเคยเห็นอัลบั้มเพลงลูกทุ่งม้วนหนึ่ง คืนกำไรให้ลูกค้าแบบน่ายกย่องในไอเดีย..
คือเพลงอัลบั้มนั้นเป็นแบบ mono ครับ ในแต่ละด้านจึงไม่จำเป็นต้องใช้ถึง 2 tracks ก็ได้..
เขาก็เลยใส่ลำโพงซ้ายกับขวาเป็นคนละเพลงกัน แล้วเวลาเปิดฟังให้เปิดทีละลำโพงครับ!
กลายเป็นม้วนเดียวได้ 4 หน้า A, B, C, D ไปเลย.. โห จ๊าบ!..

ข้อดีของระบบเทปคาสเซตคือ สามารถบันทึกเสียงได้เองครับ
(และแน่นอน! เครื่องเล่นที่จ๊าบๆ จะสามารถกลับหน้าไปบันทึกต่อด้านหลังได้อัตโนมัติด้วย)
แต่ดันบันทึกเสียงซ้ำได้หลายๆ รอบนี่สิ (ระหว่างการอัด จะมีแม่เหล็กมาลบข้อมูลเก่าออกไปพร้อมๆ กัน)
คิดว่าหลายๆ คนคงเคยซวยกันมาแล้ว โดยการไปอัดเสียงทับลงในเทปเพลงที่ซื้อมาฟัง.. เวรกรรม!..
(วิธีแก้ไขคือ ซื้อเทปเพลงมาให้หักพลาสติกบนหัวทั้ง 2 ช่องทิ้งไปครับ
หักด้านซ้ายคือป้องกันไม่ให้อัดทับหน้านั้น หักด้านขวาป้องกันไม่ให้อัดทับอีกหน้านึง
แล้วถ้าอยากอัดทับขึ้นมาก็เอาสก๊อตเทปมาแปะ หรือเอาทิชชู่ปั้นเป็นก้อนเล็กๆ ยัดลงไปในรูก็ได้)

แต่ข้อเสียก็คือ เนื้อเทปสุดแสนจะบอบบาง เป็นรอยพับง่าย ยืดยานก็ง่าย เป็นรอยขูดก็ง่าย
ทำให้คุณภาพเสียงยิ่งแย่ลงๆ ทุกครั้งที่หยิบมาเปิดฟัง.. ตรงนี้แหละครับ ยุคถัดไปจึงมาแทนที่..

ป.ล. เทปคาสเซตม้วนแรกของไทยเกิดขึ้นในช่วงปี 251x และปัจจุบันยังมีการผลิตอยู่
แต่ก็เป็นเฉพาะค่ายใหญ่ๆ (เช่นแกรมมี่, อาร์เอส) ซึ่งผลิตเพื่อลูกค้าบางส่วนที่ยังไม่เปลี่ยนยุคน่ะครับ
ส่วนค่ายเล็กๆ พร้อมใจกันเลิกผลิตเทปคาสเซตตั้งแต่ปี 2545 เป็นต้นมา
(เนื่องจากต้นทุนซีดีถูกกว่า และคุณภาพดีกว่า ก็เลยผลิตออกมาขายเฉพาะรูปแบบซีดีเท่านั้น)

--- ค่อยมาต่อพรุ่งนี้ครับ ---
นวย 05/07/2006 21:58 
เพิ่งรู้แฮะว่าเราก็เกิดทันยุคแผ่นเสียงด้วย ??

ปล. แล้วที่ดีเจตามวิทยุ(เมื่อซัก 10 กว่าปีก่อน)ชอบพูดว่าแผ่นตัดๆเนี่ย มันคือแผ่นเสียงจริงๆ หรือ CD ที่ใส่มาแค่ 2-3 เพลงกันแน่คะ
Shauฯ 09/07/2006 12:37  [ 1 ] 
แผ่นตัดมีทั้งสองแบบอ่ะครับ ยุดแผ่นเสียงก็มีแผ่นตัด ยุดซีดีก็มีแผ่นตัด..
ซึ่งก็เป็นแผ่นที่ใส่มา 2-3 เพลง อย่างที่น้องชอว่ามาจริงๆ แหละ

แผ่นตัด (หรือเรียกว่าแผ่น singles ซึ่งยุคแผ่นเสียงใช้คำว่า EP)
จะเป็นเพลงที่ตั้งใจให้โปรโมทอ่ะ แบบว่าถ้าส่งแผ่นเต็มมา
เดี๋ยวดีเจจะไม่รู้ว่าจะเปิดเพลงไหนดี
ส่งแผ่นตัดก็เหมือนบังคับกลายๆ ว่าถ้าจะเอาเพลงเร็วก็เพลงนี้
ถ้าจะเอาเพลงช้าก็อีกเพลงนึง แค่เนี้ย..

การโปรโมทอัลบั้มนึงจะเริ่มจากแผ่นตัดก่อน
แล้วพอวางแผงจริงก็ค่อยส่งแผ่นเต็มไปสถานีวิทยุครับ
(หรือบางทีก็ส่งแผ่นตัดแผ่นที่ 2 ซึ่งเพลงไม่ซ้ำกับแผ่นแรก ตามไปแทน)

ทุกวันนี้แผ่นตัดก็ยังมีอยู่ แต่น้อยลงแล้วอ่ะครับ
เพราะส่งให้สถานีวิทยุเป็นแผ่นเต็มไปเลย ก็ประหยัดต้นทุนการผลิตดี..

ป.ล. รู้จักคำว่า radio edit ป่ะครับ
เพลงไหนที่มันย้าวยาว มักจะมีเวอร์ชั่น radio edit อยู่ในแผ่นตัดด้วยครับ
มันเป็นเพลงเดียวกัน แต่ถูกตัดบางท่อนออก ให้เหลือ 3-4 นาที
จุดมุ่งหมายเพื่อให้ใช้เปิดทางวิทยุเท่านั้นครับ
แบบว่าพวกเพลงยาวๆ กินเวลา ดีเจไม่ชอบ :]
นวย 12/07/2006 12:30  [ 2 ] 
อ่อ.. ตอบไม่ค่อยตรงคำถามแฮะ เอาใหม่ๆ..

แผ่นตัดในยุค 10 ปีที่แล้ว เป็นแผ่น CD แจกโปรโมทตามสถานีวิทยุครับ
แผ่นเสียงเล็กๆ จะเป็น EP ไม่ใช่ singles เพราะว่าออกแค่นั้นแล้วจบเลย
ถ้าออกแผ่นเล็กแปลว่าจะไม่ออกอัลบั้มเต็มครับ..
นวย 12/07/2006 12:32  [ 3 ] 
โอว...ช่างลึกซึ้งยิ่งนัก ประหนึ่งว่าเป็นดีเจซะเอง :)

เคยฝันอยากไปเป็นดีเจ/ผู้ช่วยดีเจเพื่อขโมยเพลงกลับบ้านมั้ยคะ  ....หนูละย๊ากอยากไปเป็นคนรับโทรศัพท์ที่ atime จะได้แอบเอาเพลง ตะกายดาว v.อาเต๋อ กลับบ้าน :P
Shauฯ 12/07/2006 14:53  [ 4 ] 
ถ้าวันไหนได้ตะกายดาวเวอร์ชั่นแรกแล้ว เอามาแบ่งมั่งนะ :]

แอบอยากได้ด้วย.. 555..
นวย 12/07/2006 20:18  [ 5 ] 
>> ข้อมูลเพิ่มเติม.. จากนิตยสาร DDT เล่ม 30 และ grandexfanclub.com ครับ

>> เทปคาสเซ็ตม้วนแรกของวงการเพลงไทย คืออัลบั้ม "ลูกทุ่งดิสโก้"
>> เป็นอัลบั้มเต็มชุดแรกของวงแกรนด์เอ็กซ์ ออกวางจำหน่ายวันที่ 1 สิงหาคม 2522
>> ..และยังเป็นอัลบั้มแรกของไทยที่มียอดขายเกิน 1 ล้านชุด (เทป+แผ่นเสียง) ด้วย

----------------------------------------------------

>> ส่วนหนึ่งจากข้อเขียนที่น่าสนใจ ของ "ดีเจ หมา"
>> http://www.pantown.com/board.php?id=3320&name=board2&topic=27&action=view

>> ผลงาน "ลูกทุ่งดิสโก้" เป็นผลงานที่น่าสนใจในแง่การประสานป็อปของสากล
>> เข้ากับเพลงไทย และน่าจะเป็นจุดที่วงดนตรีไทยให้ความสนใจ
>> ในการทำงานที่ยกระดับเป็นสากลมาขึ้น

>> ถ้าเทียบแนวทางกัน (กับดิอิมพอสสิเบิ้ลส์) แล้ว
>> "ลูกทุ่งดิสโก้" มีขอบเขตที่กว้างกว่าแน่นอนในการทำตลาด ขยายวง
>> เป็นไม้ขีดไฟอีกก้านที่ทำให้นักดนตรี ซึ่งทำมาหากินด้วยการเล่นประจำ
>> อย่างหักโหมและน่าเบื่อ มองเห็นทางอยู่รอด ในการออกมาผลิตเทปอย่างจริงจัง

>> ลองมานั่งไล่กันเล่นๆ ตลาดเทปที่เฟื่องฟูขึ้นมาจาก "ลูกทุ่งดิสโก้"
>> ทำให้เกิดผลงานเพลงไทยออกมามากมาย เลยไปถึงเพลงสากลที่ผลิดโดยคนไทย
>> ไม่เพียงรู้สึกคึกคักกับการเคลื่อนไหว แต่ยังได้มองเห็นประกายที่น่าสนใจ
>> จากผลงานหลายๆ ชุด ..อย่าง "เต๋อ 1" ของเรวัต พุทธินันทน์,
>> "บ้าหอบฟาง" ของอัสนี-วสันต์ โชติกุล, "แดนศิวิไลซ์" ของธเนศ วรากุลนิเคราะห์,
>> "ไปทะเล" ของปานศักดิ์ รังสิพราหมณกุล, "ชรัสและแฟลช" ของชรัส เฟื่องอารมย์,
>> "คำก้อน" ของโซดา, "เมดอินไทยแลนด์" ของคาราบาว, "อื่นๆ อีกมากมาย" ของเฉลียง,
>> "ห้วยแถลง" ของพงษ์เทพ กระโดนชำนาญ, "กัลปาวสาน" ของสุรสีห์ อิทธิกุล,
>> "ธรรมดา..มันเป็นเรื่องธรรมดา" ของเพชร โอสถานุเคราะห์,
>> และ "Action" ของบัตเตอร์ฟลาย เป็นต้น

นวย 29/08/2007 11:23  [ 6 ] 
ผิดแล้วหนู
kkk 22/01/2011 15:03  [ 7 ] 
ผิดจริงๆ ครับ มีที่ผิดหลายจุดเลย แต่ไม่ได้ย้อนมาแก้
นวย 23/01/2011 13:24  [ 8 ] 
สามารถใส่ html tag โดยใช้เครื่องหมาย { } แทน < >      
ความเห็น : 
จาก : : รหัส
(อีเมล/เว็บไซต์) : อัพโหลดรูป/ไฟล์
ถ้าไม่มีรหัสประจำตัว กรุณาใส่ "เลขหนึ่งสี่ตัว" ด้วยครับ