0394
โหมโรงด้วยคน
แสดงทั้งหมด

เตรียมเอ็นท์ยังไงไม่ให้หลุด (ตอน 1)ตอบ: 1, อ่าน: 2960

คำชี้แจงต่อไปนี้ไม่จำเป็นต้องอ่าน และไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตาม หาก
(1) ทราบดีแล้วว่าควรปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อเตรียมสอบเอ็นทรานซ์
หรือ (2) ไม่หวังจะได้คะแนนสอบเอ็นทรานซ์ดีๆ สอบไปงั้นๆ .. คือได้ก็ดี ไม่ได้ก็ไม่เป็นไร
หรือ (3) หวังจะเอ็นทรานซ์ใหม่ไปเรื่อยๆ เก็บคะแนนเทอมละวิชาพอ..
... พูดแบบนี้เพราะคนเขียนอย่างเราไปบังคับอะไรไม่ได้ นอกจากเตือนเปล่าๆ นี่แหละ (อย่างไรซะชีวิตเราก็ไม่ต้องไปเอ็นทรานซ์ด้วยแล้ว ไม่กลัวแล้ว..) คือเจอมาเยอะเลยเอามาเล่าให้ฟัง ไม่อยากให้มีใครผิดพลาดแบบเดิมๆ ซ้ำอีกก็เท่านั้น..

มาว่ากันโลด

ปัจจัยหลักๆ ที่มีผลต่อการจะทำข้อสอบได้ไม่ได้ มันมีอยู่แค่ 3 อย่างเอง สำคัญด้วยกันทุกอย่าง ขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไม่ได้ คือ (1) วิธีการคิด มุมมอง วิธีเรียนรู้ (2) ความเอาใจใส่ ขยัน ทบทวน (3) เวลาที่มี และสติ

คนที่มีความคิดดี ไอเดียดี รู้จักประยุกต์อยู่แล้ว เรียกง่ายๆ ว่าเกิดมาฉลาด แบบนี้เพิ่มความขยันทบทวนหน่อยก็ไปรุ่ง ไม่ต้องใช้เวลาเยอะ (เรียกว่ามีพรสวรรค์) แต่ถ้ารู้ตัวว่าเกิดมาไอเดียยังไม่บรรเจิด ความคิดยังไม่ค่อยแล่นปู๊ดป๊าด ก็ต้องขยันฝึกมากหน่อย เชื่อว่าไม่นานความคิดและไอเดียต่างๆ จะผุดมาเอง อันนี้คือใช้พรแสวง .. สองอย่างแรกนี้ ต่างคนต่างแบบ แต่ยังไงจุดหมายก็เหมือนกัน ผลที่ได้ก็เท่ากัน (แค่เหนื่อยต่างกันหน่อย) ขอแค่อย่าเป็นแบบเกิดมาไม่ฉลาดแล้วไม่ยอมฝึกละกัน !!

ส่วนเรื่องเวลาและสติ หมายความว่า คนเรามีสติรู้ตัวว่าจะต้องเริ่มทบทวนวิชาเพื่อเตรียมสอบเอาก็ตอนเหลือเวลาไม่เท่ากัน บางคนรู้ตัวเอาเดือนสุดท้ายแบบนี้ก็ช่วยอะไรไม่ได้มาก เราเคยสอนพิเศษคนที่เพิ่งมารู้ตัวเอาสองสัปดาห์สุดท้าย แน่นอนว่าสอนแบบเร่งรีบไม่เป็นผลดี สุดท้ายออกมาก็เละตามที่คาดไว้ ขนาดบางคนใช้เวลาสอนสี่เดือนเต็ม ยังทำข้อสอบไม่ได้เลย เสียดายค่าเรียนเปล่าๆ แต่บางคนสอนแค่เดือนเดียวก็ไปโลดแล้ว ลองคิดดูสิว่าต่างกันเพราะอะไร..

คือแบบนี้ครับ เวลาที่จำเป็นต้องใช้เนี่ย แต่ละคนมากน้อยไม่เท่ากัน อยู่ที่ว่าผ่านขั้นไหนมาแล้ว โดยที่ทุกคนต้องผ่านอย่างน้อย 2 ขั้นแรก จากสามขั้นต่อไปนี้ ...
(1) ขั้นที่ 1 ทำความเข้าใจเนื้อหาใหม่หมด ไม่ให้เหลือความสับสน ทำโจทย์พื้นฐานจนคุ้นเคย
(2) ขั้นที่ 2 ทบทวนด้วยตัวเอง และฝึกทำโจทย์ประยุกต์ให้มาก เพื่อให้เห็นแนวข้อสอบหลายแบบที่สุด เพื่อให้เกิดไอเดีย และเพื่อให้รู้ว่าตัวเองมีข้อบกพร่องตรงไหนบ้าง เช่น ลืมสูตร คิดเลขผิด สะเพร่า หรือบางทีก็ถูกโจทย์หลอกบ้าง.. ขั้นที่ 1 กับ 2 นี่ควรใช้เวลามากที่สุดเท่าที่มี..
(3) ขั้นที่ 3 ถ้ายังเหลือเวลา ควรฝึกทำข้อสอบแบบจับเวลา เพื่อฝึกความเร็ว ความแม่นยำ และฝึกจิตใจให้คุ้นกับสภาวะกดดันตอนสอบแข่งกับเวลา..

ที่สำคัญคือ คนสอนพิเศษช่วยได้แค่ขั้นที่ 1 เท่านั้นแหละ บางคนต้องเรียนรู้ใหม่หมด ขณะที่บางคนเรียนที่โรงเรียนมาแล้วเข้าใจอย่างดี แค่ทวนนิดหน่อยก็เริ่มขั้นที่ 2 ได้เลย.. ที่สำคัญคือทุกคนเรียนแล้วห้ามทิ้ง ไม่ใช่ว่าเรียนเนื้อหาใหม่หมดถึงบทที่สามก็ลืมบทที่หนึ่ง แบบนี้ฟันธงไปเลยว่ามีเวลาอีกกี่ปีก็ไม่ทัน.. พอถึงขั้นที่ 2 นี่ ต้องพึ่งหนังสือคู่มือต่างๆ ที่หาได้ง่ายแสนง่ายตามร้านทั่วไป ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง แล้วถ้าตรงไหนไม่เข้าใจจริงๆ ก็ให้ถามเอาจากคนสอน รับรองเห็นผล.. ไม่ว่าจะอัจฉริยะมาจากไหนทุกคนก็ต้องผ่านขั้นที่ 2 ที่ใช้เวลาอยู่กับตัวเอง ไปทั้งนั้น..

เป็นไปไม่ได้เลย ที่จะเรียนๆๆ ฟังจากคนสอนเท่านั้น แล้วเดินเข้าห้องสอบเลย โดยไม่เคยลองทำโจทย์เองที่บ้าน แล้วดันได้คะแนนดีๆ.. เป็นไปไม่ได้เลย!

ทีนี้มาลองดูลักษณะของคนที่มีความพร้อมไม่เท่ากัน เผื่อจะเข้าใจมากขึ้น..
สมมติตอนทำสอบเอ็นทรานซ์มีโจทย์อยู่ข้อหนึ่ง อ่านโจทย์แล้วคิดก่อนนะครับ..

โจทย์
ถ้า u และ v เป็นเวกเตอร์ที่มีสมบัติว่า ขนาด u เป็น 5, v = 3i + 4j และ 2 u.v = 15  แล้ว ขนาดของมุมระหว่าง u กับ v เท่ากับข้อใดต่อไปนี้
1. 30 องศา
2. 45 องศา
3. 60 องศา
4. 90 องศา

ลองดูว่าตัวเองอยู่ขั้นไหน..

คนที่ผ่านขั้นที่ 3 เห็นแล้วจะทำได้ทันที อ๋อ ก็เอายูดอตวีมาคิดเป็นขนาดยู ขนาดวี คอสธีตา แล้วใส่ขนาดยูเป็น 5, ขนาดวีเป็น 5, ก็ได้คอสธีตาแล้ว.. ได้เป็นรู้ท 3 ส่วน 2, ก็ตอบ 30 องศา.. เผลอๆ แทบไม่ต้องทด คิดเสร็จข้อนี้ในเวลาไม่ถึงนาที ด้วยความคุ้นเคยและแน่นมาก ทุกอย่างพร้อมเต็มที่แล้ว แบบนี้นะเอ็นท์ติดคณะที่ต้องการชัวร์..

คนที่ผ่านขั้นที่ 2 อ่านโจทย์แล้วต้องคิดนิดนึง ลองทำดูดีกว่าว่าจะเริ่มจากตรงไหนดี ก็ต้องเริ่มจากดอตสินะเพราะอันอื่นมันทำอะไรไม่ได้ ลองกระจายดูดีกว่า.. ปั๊บๆๆ ก็จะเห็นทางไป ก็ทำต่อจนจบข้อได้ ใช้เวลาสักสองสามนาที อันนี้เนื้อหาแน่นแล้วแต่ยังแข่งกับเวลาไม่ดีนัก.. คือทำได้ทุกข้อถ้าให้เวลามากๆ เพราะแค่สองชั่วโมงทำไม่ทัน.. แบบนี้ถึงยังไงก็รับรองว่าเอ็นท์ติดคณะที่ต้องการเหมือนกันถ้าไม่หวังไว้สูงเกินไปนัก.. คนส่วนมากที่เอ็นท์ติดคณะดีๆ ก็ผ่านขั้นนี้ทั้งนั้น ไม่เชื่อไปถามดูได้..

คนที่ผ่านแค่ขั้นที่ 1 อ่านโจทย์เสร็จแล้วคิด เอ๊ะ คุ้นๆ.. รู้ว่าเรื่องเวกเตอร์นั่นแหละ ก็เคยเรียนผ่านมาแล้ววันนั้นไง แต่เฮ้ย ทำไม่ได้ว่ะ เอาไงดี ไม่ค่อยรู้เรื่องว่ะบทนี้ เตรียมมาไม่พร้อมเลย.. ลองเริ่มทำดูก็หลงทาง หาทางไปไม่ได้ โอยข้ามข้อดีกว่า.. อันนี้เรียกว่าตอนที่เรียนก็เรียนไปงั้นๆ เรียนจบแค่พออุ่นใจ ไม่ยอมทบทวนเอง คือตอนเรียนก็เข้าใจดีแต่ถ้าไม่ทวนนี่รับประกันได้เลยว่าเป็นใครก็ลืม.. เล่นฝากชีวิตไว้กับคนติวแบบนี้ไม่ได้ประโยชน์ เสียตังค์เปล่า.. เพื่อนเราคนนึงพูดเปรียบเทียบว่า เหมือนไม่ยอมหาอาหารกินเองบ้าง ชอบนั่งรอให้คนสอนเอาอาหารมาป้อนใส่ปากให้ เผลอๆ ต้องเคี้ยวโชว์อีก แบบนี้ล่ะที่เรียนบทที่สามก็ลืมบทแรกแล้ว ... ถ้าชีวิตไม่กระตือรือร้นขนาดนี้ เอ็นท์ติดคณะอะไรก็ไม่รู้แน่ๆ.. รับรองผิดหวังร้อยทั้งร้อย ไม่ได้พูดให้เสียใจแต่ที่ผ่านมาเป็นแบบนี้จริงๆ..

คนที่ไม่ผ่านเลยซักขั้น ก็จะแบบโอย อ่านแล้วสุดจะงง เขาพูดอะไรกันหว่า.. มั่วข้อ 3. ดีกว่า ใช้เซ้นส์ครับใช้เซ้นส์.. คนแบบนี้ปล่อยเขาไปเถอะ กู่ไม่กลับแล้วมั้ง..

ก็หวังว่าเวลาที่เหลือเทอมนี้ คนที่จะเอ็นท์ ถ้ามาอ่านเจอแล้วจะปรับตัวเปลี่ยนใจทันเน้อ..
เรื่องเตรียมตัวเอ็นท์ยังมีต่ออีกยาว เอาแค่นี้ก่อน ไปละครับ..
นวย 08/04/2004 00:41 
สอบเอ็นท์ไม่ได้ก็จะซ้ำชั้นหรอคะ แงแง
กลัว 20/08/2011 12:31  [ 1 ] 
สามารถใส่ html tag โดยใช้เครื่องหมาย { } แทน < >      
ความเห็น : 
จาก : : รหัส
(อีเมล/เว็บไซต์) : อัพโหลดรูป/ไฟล์
ถ้าไม่มีรหัสประจำตัว กรุณาใส่ "เลขหนึ่งสี่ตัว" ด้วยครับ